Radical Technology or incremental Innovation


การสร้างนวัตกรรมทำได้หลายลักษณะ

(ดร. ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร )

1) แบบค่อยเป็นค่อยไป (incremental)

 องค์กรต้องให้ความสำคัญกับข้อมูลที่ป้อนกลับมาจากการทำตลาดและต้องตอบสนองความต้องการใหม่ๆของลูกค้าให้ไว การมีอะไรใหม่ๆเพียงเล็กๆน้อยๆแต่มีบ่อยๆเช่นทุกๆ 3 เดือนจึงเป็นเรื่องจำเป็น การจะทำเช่นนั้นได้ ต้องกระจายอำนาจให้หน่วยธุรกิจ เอื้ออำนาจให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับตลาดทั้งที่เป็นรายบุคคลและทีมงาน ไม่เฉพาะในเรื่องการสร้างสรรค์แนวความคิดแต่ควรมากพอที่จะทำให้เกิดความสำเร็จในทางการตลาด หน้าที่หลักของผู้บริหารระดับสูงควรอยู่ที่การประเมินความเสี่ยงว่าอะไรควรส่งเสริมและให้แนวทางที่ชัดเจนในเรื่องการทดสอบและทดลอง วิธีหนึ่งที่เป็นไปได้คือตั้งงบประมาณเพื่อการนวัตกรรมไว้ เช่น 5% และกระจายให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารทุกคน

2) แบบแต่งเติม (complementary)

 เป็นการเน้นการทดสอบไปที่เป้าหมายเฉพาะแทนการพัฒนาแบบปูพรม เช่น ถ้าจะนึกถึงยาแก้โรคเบาหวาน ก็ต้องนึกถึง Novartis เพราะเขาเจาะงานวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการ

3) แบบฉีกแนว (breakthrough)

 จะต่างจากสองแบบที่กล่าวมาก่อนนี้ นวัตกรรมแบบนี้ต้องมีนโยบายเป็นคำสั่งที่ชัดเจนจากบนลงล่าง มีการควบคุมที่ใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่าสมาชิกในทีมงานพร้อมที่ก้าวไปพร้อมๆกัน เหตุเพราะนวัตกรรมแบบนี้มีความเสี่ยงสูง ภาพการสร้างสรรค์จึงต้องชัดเจน หากพลาดก็มีโอกาสกินทุนจนถอยไปหลายก้าวได้ง่ายๆ โครงสร้างองค์กรต้องเน้นโครงสร้างแบบเนื้องาน (functional) ไม่ใช่โครงสร้างแบบแตกเป็นแผนกๆ (divisional) ตัวอย่างเช่น Intel สร้างนวัตกรรม microprocessorขึ้นในวงการคอมพิวเตอร์

4) แบบแตกหน่อ (adjacent)

 การสร้างนวัตกรรมแบบนี้ ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับการพัฒนาความรู้ความชำนาญในส่วนที่เป็นความสามารถหลักขององค์กรอย่างทั่วถึงกัน เป็นการสร้างสินค้าหรือบริการใหม่ที่แตกหน่อออกไปจากสินค้าหรือบริการเดิม เช่นการที่บริษัทUPS เปิดบริการจัดส่งชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นอีกธุรกิจหนึ่งแตกหน่อออกไปจากการรับส่งไปรษณีย์และพัสดุภัณฑ์ ผู้บริหารต้องสร้างสมดุลย์ที่เหมาะสมในช่วงรอยต่อระหว่างการควบคุมกับการเอื้ออำนาจการดำเนินงาน ผู้บริหารควรหมุนเวียนพนักงานที่เป็นตัวหลักในหน่วยธุรกิจพร้อมๆกับการสร้างวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้แบบไม่เป็นทางการ ความรอบรู้คล่องตัวและข้อมูลที่ไหลส่งถึงกันแบบต่อเนื่องเป็นหัวใจความสำเร็จของนวัตกรรมประเภทนี้

Perter  Drucker จำแจกรูปแบบนวัตกรรมไว้ดังนี้

1.  Breakthrough Innovation (Radical Innovation) – Changes the fundamentals of the business, creating a new industry and new avenues for extensive wealth creation.

2.  Incremental Innovation–Doing more of the same things you have been doing with somewhat better results.

สรุป 

1.   Incremental Innovation คือ  นวัตกรรม มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง คือค่อยๆ เปลี่ยนแปลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเป็นการปรับปรุงระบบหรือกระบวนการทำงานต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น

-  วินโดวส์ 98 ไป วินโดวส์ 2000 ไป วินโดวส์ 20013  เป็นต้น

-  รถยนต์ รุ่นต่าง ๆที่มีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกจากรุ่มเดิม  เช่น  กระจกธรรมดาเป็นกระจกไฟฟ้า 

-  การเพิ่มหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ 

-  การเพิ่มความละเอียดของกล้องถ่ายรูป

2.  Breakthrough Innovation  คือ  คือการเปลี่ยนแนวจากสิ่งที่มีอยู่เดิม

-  เช่นบริษัท  apple ที่เคยผลิตและขายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์แต่เปลี่ยน  มาขายโทรศัพท์

i- phone,i- pad, i-pot

3.  Radical Technology บางตำรา เรียกว่า Quantum Technology คือ นวัตกรรม ที่เปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีไปอย่างสิ้นเชิง เช่น เทคโนโลยีกล้องถ่ายรูป จากฟิล์ม ไปสู่ กล้องดิจิตอล เป็นต้น

-  การออกแบบรถรุ่นใหม่ๆ มีการเปลี่ยนแปลงวัสดุใหม่หมดทั้งคัน เปลี่ยนจากใช้เหล็กเป็นใช้วัสดุอื่นที่ดีกว่า หรือการเปลี่ยนระบบเครื่องยนต์โดยสิ้นเชิง

-  Floppy Disk มาเป็น USB Disk




<p></p>

คำสำคัญ (Tags): #รูปแบบนวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 540227เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2013 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2013 22:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท