ระบบการรักษาความปลอดภัย ตอนที่ 4


ระบบการรักษาความปลอดภัย ตอนที่ 4

สวัสดีครับ วันนี้ผมจะมาพูดถึงถ้าถังก๊าซเกิดระเบิดลุกไหม้ควรจะปฎิบัติอย่างไร และการใช้ก๊าซในรถยนต์ ครับ เรามาเริ่มจากถ้าถังก๊าซเกิดระเบิดลุกไหม้ควรจะปฎิบัติอย่างไร เราควรจะปฎิบัติดังนี้ครับ

1. ปิดท่อส่งก๊าซ หรือทำให้อัตราส่วนของก๊าซที่ผสมกับอากาศลดต่ำกว่าร้อยละ 1.6

2. ทำให้อัตราส่วนระหว่างไอของก๊าซกับอากาศหมดไป หรือไม่ได้อัตราส่วนในการเผาไหม้

3. ใช้น้ำสาดไปแรงๆ การที่น้ำดับไฟที่เกิดจากการเผาไหม้ของก๊าซได้ดังนั้นเพราะ

     - การสาดแรงๆ ทำให้อัตราส่วนระหว่างก๊าซกับอากาศหมดไป

     - น้ำเป็นตัวลดอุณหภูมิทำให้ไม่มีความร้อนถึงขั้นติดไฟ

4. ถ้ามีเครื่องดับเพลิงก็ควรใช้เครื่องดับเพลิง ชนิดผงเคมีแห้ง

5. อย่าเข้าใกล้ถังก๊าซที่ตกอยู่ท่ามกลางกองเพลิงและแดดร้อน

6. เมื่อจำเป็นต้องเข้าไปดับเพลิง หรือเข้าใกล้ถังให้อยู่ในที่กำบังที่แข็งแรง

7. ถ้าหากทำได้ในขณะเกิดเพลิงไหม้ ถ้ายังลุกลามไม่ถึงควรขนย้ายถังก๊าซไปในที่ปลอดภัยที่สุด ครับ.......

     ที่นี้ผมจะมาพูดถึงการใช้ก๊าซในรถยนต์ เนื่องจากปัจจุบันน้ำมันแพง คนส่วนใหญ่หันมาใช้การติดตั้งก๊าซในรถยนต์มากขึ้น ผมจึงมีวิธีการใช้ก๊าซในรถยนต์มาฝากดังนี้ครับ

1. ถังก๊าซและอุปกรณ์ต่างๆ เช่นหัววาล์วบรรจุก๊าซ วาล์วควบคุมการไหลของก๊าซ วาล์วนิรภัย เครื่องวัดระดับ และท่อก๊าซต่างๆ ต้องได้มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม

2. การติดตั้งถังก๊าซ ควรติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกกระแทกหรือกระทบกระเทือนน้อยที่สุดเมื่อรถเกิดอุบัติเหตุ ระบบท่อต่างๆ ควรติดตั้งภายนอกห้องโดยสาร ถังก๊าซที่ติดในรถยนต์ควรจะเป็นถังที่ออกแบบสำหรับติดตั้งในรถยนต์โดยเฉพาะ ไม่ควรนำถังก๊าซหุงต้มมาใช้ นอกจากนี้ยังควรเป็นถังใหม่ที่ผ่านการตรวจสภาพมาแล้ว ตามวิธีการของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ไม่ควรใช้ถังก๊าซเก่าที่หมดสภาพแล้วเป็นอันขาด

3. หัววาล์วบรรจุก๊าซควรมีอุปกรณ์ตัดตอนปิดวาล์วอัตโนมัติ เมื่อเติมก๊าซถึงระดับ 85%ของถัง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการรั่วไหลผ่านวาล์วนิรภัยอันเนื่องมาจากความดันที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวล้นถังเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง

4. หมั่นตรวจสอบระบบข้อต่อก๊าซและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากก๊าซรั่ว ควรรีบแก้ไขทันทีที่มีก๊าซรั่ว อย่าปล่อยทิ้งไว้

5. ก่อนที่จะติดตั้งระบบใช้ก๊าซในรถยนต์ ควรติดต่อปรึกษาหารือช่างผู้ชำนาญจากทางด้านนี้โดยเฉพาะเป็นผู้ติดตั้งให้

6. ควรจอดรถไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก

7. ควรติดตั้งก๊าซจากสถานีบริการเท่านั้น

ข้อควรทราบสำหรับผู้ขับขี่รถยนต์ที่ใช้ก๊าซ

1. ควรจะศึกษาให้เข้าใจถึงระบบการทำงานของชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ก๊าซ ซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายปลอดภัย

2. ควรจะศึกษาถึงกรรมวิธีในการเติมก๊าซ

     - ควรเติมก๊าซในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี

     - ปิดกุญแจสนิท พร้อมกับดึงเบรคไว้ ไม่สูบบุหรี่

     - เปิดฝาครอบวาล์วที่จะเติม ต่อสายเติมเข้ากับถัง

     - ก่อนเติมต้องแน่ใจวาล์วทุกตัวปิด

     - ควรหยุดเมื่อถึงระดับเต็ม ไม่ควรเติมเต็ม

     - ปิดวาล์วทุกตัว เมื่อหยุดปั้ม

     - พยายามอย่าให้ก๊าซถูกร่างกาย

ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย

1. อย่าพยายามดัดแปลงแก้ไขอุปกรณ์ที่ป้องกันความปลอดภัยต่างๆ ที่ได้ติดตั้งไว้เช่น Safety  Valve  Relief  valve เป็นต้น

2. อย่าพยายามดัดแปลงแก้ไขคาร์บูเรเตอร์ นอกเสียจากมีความชำนาญเพียงพอ

3. ต้องพยายามศึกษาเข้าใจวาล์วปิดถังเก็บก๊าซ

4. ถ้ารถของท่านสามารถใช้เชื้อเพลิงได้ 2 ระบบต้องพยายามใช้เชื้อเพลิงในแต่ละระบบให้หมดก่อนที่เปลี่ยนไปใช้อีกระบบ

5. ควรจะใช้น้ำมันเบนซินบ้างอย่างน้อยสุดอาทิตย์ละ 1 ครั้ง

6. ถ้าพบก๊าซรั่ว ควรนำรถไปให้อู่ที่ติดตั้งตรวจซ่อมโดยด่วน

7. ถ้าจะซ่อมรถในอู่ที่มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ต้องแน่ใจว่าวาล์วถังก๊าซต้องปิด  นอกเสียจากเครื่องยนต์กำลังติดอยู่

8. ถ้าจอดรถในโรงเก็บ ต้องแน่ใจว่า

     - ระบบเชื้อเพลิงไม่รั่ว

     - ถังเก็บก๊าซไม่ได้เติมเกินกว่า 85 % ของถัง

     - วาล์วถังก๊าซต้องปิดสนิท

     - รถไม่ได้จอด ณ ที่ๆ มีความร้อนสูง ในที่มีกองไฟหรือสิ่งที่จะติดไฟได้

9. ก๊าซแอลพีจี ก็เหมือนกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นๆ ควรจะเก็บรักษาด้วยความระมัดระวังแต่ถ้าตรวจพบว่ามีก๊าซรั่ว ควรปฎอบัติดังนี้

     - ปิดถังก๊าซทันที

     - พยายามอย่าให้สิ่งติดไฟอยู่ใกล้

     - ขอความช่อยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ

ครับสำหรับวันนี้ผมขอจบเพียงแค่นี้ครับ.....พรุ่งนี้ค่อยพบกับแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยต่อครับ

                                             สวัสดีครับ

หมายเลขบันทึก: 54019เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2006 11:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท