ทรัพย์สินทางปัญญา


         องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) คือความตกลงว่าด้วยการค้าเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Agreement on Trade Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS Agreement) ซึ่งมีบทบัญญัติเกี่ยวกับมาตรฐานการให้ความคุ้มครอง ทรัพย์สินทางปัญญาแทบทุกประเภท เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า การออกแบบทางอุตสาหกรรม สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ความลับทางการค้า และการออกแบบผังภูมิวงจรรวม เป็นต้น

  ทรัพย์สินทางปัญญา” (Intellectual property) เป็นระบบหรือกลไกที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจให้ผู้ประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์เปิดเผยความรู้ที่มีประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยรัฐจะให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประดิษฐ์และผู้สร้างในรูปแบบของโดยมีสิทธิผูกขาดทางกฎหมายเพื่อเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนกับการเปิดเผยดังกล่าว ทั้งนี้ สิทธิผูกขาดดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นสิทธิในทางเศรษฐกิจที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาของตนเองภายในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเป็นการตอบแทนผู้ประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์ในการอุทิศตนทั้งแรงกายและกำลังความคิด รวมทั้งการลงทุนต่าง ๆ เพื่อคิดค้นหรือสร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าต่อสังคมขึ้นมา ซึ่งการตอบแทนดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เกิดการคิดค้นหรือสร้างสรรค์งานที่ดีออกมาอยู่เรื่อย ๆ หลังจากหมดระยะเวลาในการให้ความคุ้มครอง ประชาชนทั่วไปก็สามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาที่หมดอายุแล้วได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาอีกต่อไป ซึ่งเรียกว่า ตกเป็น  สาธารณสมบัติของแผ่นดิน (Public Domain)

  ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ลิขสิทธิ์ (Copyrights) และ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) โดยลิขสิทธิ์มุ่งให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้สร้างสรรค์งานซึ่งใช้ทักษะและแรงงานในการสร้างงานอันมีที่มาจากงานวรรณกรรมและศิลปกรรม โดยการกำหนดสิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่ผู้สร้างสรรค์ที่มีความคิดริเริ่ม

   ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมเป็นความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น

1.  การคุ้มครองความคิดที่นำไปสู่การประดิษฐ์สินค้า ได้แก่สิทธิบัตร แบบผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ การคิดค้นพัฒนาพันธ์พืชและสัตว์ การออกแบบวงจร

  การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบ และรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์

2. การคุ้มครองความคิดในด้านการจำหน่ายสินค้า  (ความลับทางการค้า) ได้แก่ เครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ  เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง ชื่อทางการค้า การลวงขาย การแสดงแหล่งกำเนิดหรือแหล่งที่มาของสินค้า

การอนุญาตให้ใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

สัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing Agreement) นั้นก็คือสัญญาที่ผู้ให้สิทธิได้ให้สิทธิเฉพาะอย่าง ได้แก่ สิทธิในการทำ สิทธิในการใช้ และหรือสิทธิในการขายภายใต้ขอบเขตอันจำกัดแก่ผู้รับสิทธิ และผู้รับสิทธิได้ให้ค่าสิทธิ (Royalty Fee) หรือผลตอบแทนอย่างอื่นแก่ผู้ให้สิทธิ ซึ่งสัญญาการให้สิทธิที่มีมากที่สุด คือสิทธิบัตร (Patent) เครื่องหมายทางการค้า (Trademark)

ประเภทของการอนุญาตให้ใช้สิทธิ

1. สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์ไม่เด็ดขาด (Non‐exclusive copyright Licensing agreement) เป็นสัญญาที่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ของตนได้โดยไม่จำกัดครั้งและจำนวนบุคคล อีกทั้งเจ้าของลิขสิทธิ์ยังมีสิทธิดังกล่าวอยู่

2. สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์แต่ผู้เดียว (Sole copyright licensing Agreement) เป็นสัญญาที่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งใช้งานอันมีลิขสิทธิ์แต่ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เองก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้งานของตน

3. สัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์เด็ดขาด (Exclusive copyright licensing Agreement) เป็นสัญญาที่กำหนดให้ผู้รับอนุญาตแต่เพียงผู้เดียวมีสิทธิใช้งานอันมีลิขสิทธิ์เองก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้งานของตนในระหว่างอายุสัญญาอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์


หมายเลขบันทึก: 539756เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2013 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท