การคิดตามนัยทางพระพุทธศาสนากับการคิดทางวิทยาศาสตร์


การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนากับการคิดแบบวิทยาศาสตร์

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ มีวิธีการที่เป็นระบบเหมือนกัน ดังนี้

  1. วิธีคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา เป็นกระบวนการคิดพิจารณาค้นคว้าหาคำตอบ

ของพระพุทธเจ้าเพื่อตรัสรู้ สรุป ได้ 2 วิธี คือ

  (1) คิดโดยสืบสาวจากผลไปหาเหตุ เช่น การสังเกตสภาพของคนแก่ คนเจ็บ คน

ตาย (เป็นผล) และคิดตามหลักอริยสัจ 4 (ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค)

  (2) คิดโดยสืบสาวจากเหตุไปหาผลคือ การคิดจะลงมือปฏิบัติโดยวิธีการต่าง ๆ

เช่น การบำเพ็ญเพียรทางจิต จะส่งผลให้เกิดการรู้แจ้งในสัจธรรม

  2. วิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ เป็นการคิดใช้เหตุผล หรือคิดตามกระบวนการของ “วิธีการ

วิทยาศาสตร์” โดยเริ่มตั้งแต่ การสังเกต การรวบรวมข้อมูล การตั้งสมมติฐาน การทดสอบ และการสรุปผลตามลำดับ

  4. ความสอดคล้องกันระหว่างแนวคิดของพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ มีแนวคิดสอดคล้องกัน 2 ประการ ดังนี้

  1. ความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งในโลก สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นและดำเนินเป็นไป

ตามกฎแห่งเหตุและผลตามธรรมชาติ (หลักคำสอนเรื่องไตรลักษณ์ของพระพุทธศาสนา) สอดคล้องกับทรรศนะของวิทยาศาสตร์ที่ว่าทุกสิ่งในสากลจักรวาลมีการเคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่หยุดนิ่ง

  2. มนุษย์คือผลผลิตของธรรมชาติ ไม่ได้เกิดจากการปั้นแต่งของพระเจ้า

  3. การพิสูจน์ความจริงอย่างเสรีและมีเหตุผล พระพุทธศาสนาสอนไม่ให้เชื่ออะไร

ง่าย ๆ (หลักคำสอนเรื่องกาลามาสูตร) โดยไม่ได้พิสูจน์ให้ประจักษ์ด้วยประสบการณ์ของตนเองเสียก่อน ซึ่งสอดคล้องกับหลักแนวคิดของวิทยาศาสตร์เช่นกัน

  ความแตกต่างในแนวคิดระหว่างพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์

  มีคำสอนในพระพุทธศาสนาบางเรื่องที่วิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับ เพราะวิทยาศาสตร์ไม่สามารถแยกแยะหรือพิสูจน์ได้ มีดังนี้

  1. คำสอนเรื่องของจิต ได้แก่ หลักคำสอนเรื่อง “เบญจขันธ์” หรือองค์ประกอบของมนุษย์ 5 ประการ ได้แก่ รูปขันธ์ (ร่างกาย) และนามขันธ์ 4 (ส่วนประกอบที่เป็นจิต 4 อย่าง ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญาณ) ซึ่งวิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้เครื่องมือพิสูจน์ให้ประจักษ์ได้

  2. คำสอนเรื่องปัญญา คำสอนในพระพุทธศาสนาเรื่องปัญญาขึ้นสูงสุด คือ การ

เข้าถึงโลกุตระ (ปัญญาที่ที่หลุดพ้นจากกิเลสหรือวิสัยทางโลก) โดยวิธีฝึกอบรมวิปัสสนาจนเกิดปัญญารู้แจ้งตามความจริงนั้น เป็นสิ่งที่วิทยาศาสตร์ยังไม่ยอมรับ ฤ


คำสำคัญ (Tags): #หลักคิด
หมายเลขบันทึก: 539596เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2013 16:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2013 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท