ภูมินามูมินิเวศน์วัฒนธรรม 8 : บ้านแม่กื้ดสามท่า


บ้านแม่กื้ดสามท่า 

      มีเรื่องเล่าว่า ประมาณ พ.ศ.2507ได้มีราษฎรจากอำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ที่บ้านแม่กื้ดสามท่า หมู่ที่ 5 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  เนื่องจากบ้านเดิมที่ฮอด ถูกน้ำท่วม อันเป็นผลกระทบจากการสสร้างเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ต่อมาราษฎรเพิ่มจำนวนมากขึ้น มีการอพยพมาจากหลายแห่ง เช่นมาจากเสริมงาม น่าน ลำปาง เถิน สบปราบ เพราะที่นี่มีป่าอุดมสมบูรณ์  การปกครองไม่ทั่วถึง ราษฎรจึงปรึกษากันขอแยกหมู่บ้าน ในที่สุดก็ได้ตั้งชุมชนจากทางการ ชื่อบ้านแม่กื้ดสามท่าใหม่ หมู่ที่ 8 ตำบลแม่กาษา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พ.ศ. 2521 ตั้งวัดขึ้นมาชื่อวัด ศรีรัตนศาสดาราม ตั้งอยู่ในหมู่บ้านบนถนน แม่สอด –แม่ระมาด แม่กื้ดสามท่าใหม่หมู่ที่ 5 ตั้งอยู่บนมาน้ำสามสาย คือลำห้วยต้นงุ้น ลำห้วยแม่ละเมา ลำห้วยแม่กื้ด นายสิงห์เขียววงษ์ อพยพมาจากลำพูน พร้อมด้วย นายบุญ ปันทะ นายป้อง คำแดง นายนายทา  ใจยา ต่อมามีประชาชนเข้ามาอู่หลายจังหวัด เช่นลำปาง การเข้ามาหาที่ทำกิน สมัยนั้นก็คือการจับจองที่ทำกิน  มีนายบุญ ปันทะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน คนแรก ในตอนนั้นยังไม่มีทางรถยนต์ ใช้ล้อเกวียนเป็นพาหนะ ไม่มีสะพานข้ามลำห้วยแม่ละเมา ต้องใช้เรือแจวไปฟากตรงกันข้าม  บางปีเกิดอุทกภัยพืชผลเกษตรแถบลุ่มน้ำแม่ละเมาก็เสียหาย ปัจจุบันมีถนนสายแม่สอด –แม่ระมาด สะดวก ลุ่มน้ำแม่ละเมากลายเป็นสถานที่พักผ่อน  ประชากร เป็นคนพื้นเมืองเหนือ  ปัจจุบันมีชาวพม่า กะเหรี่ยง อาชีพ คือการทำเกษตร ปลูกข้าวไว้กินที่เหลือก็ขาย พืชเศรษฐกิจ คือ  ข้าวโพด  ถั่ว

  ผอ.โรงเรียนแม่กื้ดสามท่า อินสอน  วุฒิธรรมากร เล่าเพิ่มเติมให้ฟังว่า 100ปี ก่อนผืนแผ่นดินนี้ เป็นแผ่นดินของกระเหรี่ยง เขาบูชาศาลพระวอดังที่เห็นศาลปรากฏอยู่  มีตำนานเล่าว่าพะวอเป็นชาวกะเหรี่ยงหนีทัพจากบุเรงนองเพราะผิดใจบางอย่าง มาอยู่ด่านแม่ละเมา และขึ้นต่อพระเจ้าตาก  เขตแดนไทยถ้าดูตามหมู่บ้านของคนไทยที่ปรากฏอยู่ ได้แก่ ห้วยส้าน แม่แปบ ผาซอง แม่กะไฟ เปิ่งเคิ่ง บ้านต้า หนองมั่ง หนองโค ต้องเลยเขตแม่น้ำเมยเข้าไปในพม่าอีก 80 กม. ผู้ดูแลเขตนี้สมัยนั้น คือขุนประเวศไพรวัน สุขุมวัฒนะ (นามสกุลพระราชทาน ในรัชกาลที่ 5) 

ผู้ให้สัมภาษณ์

1.นางเอี่ยง  ใจยา อายุ 63 ปี อยู่มา 40 กว่าปี   มีหลานอยู่ ป. 5  อาชีพ

-เคยเป็นตอนสาว ๆ  1 ครั้ง

-เกษตร ปลูกข้าวกิน ที่เหลือ ขาย ปลูกถั่วไว้ขาย จ้างแรงงานพม่าทำสวน ทำไร่

2.นายดวง  ใหม่สี  อายุ  62 ปี อยู่มา  40  กว่าปี มีหลานอยู่ ป. 5

-ตนเองเคยเป็นนับครั้งไม่ถ้วน เมื่อก่อนรักษาแล้วหาย พอไปทำมาหากิน ก็เป็นอีกถ้วน  หายขาดมา 10 กว่าปี

- อาชีพ เกษตร ลงปลา เดินขายผักในบ้าน 

3.นางเหรียญ  แก้วฟูอายุ  61 ปี จบ ป. 4

  -เคยเป็นทั้งสองอย่าง 4-5 ครั้ง

  -มีลูกสองคน เป็นทั้งสองคน คน ๆ  2 ครั้ง

ประเด็นติดตามการสื่อสารจากโรงเรียน 5 ประการคือ

1.นักเรียนเคยมาพูดคุยเมาลาเรียนและการป้องกันหรือไม่

  -เป็น ตายาย ไม่ทราบ

2.โรคมาลาเรียที่นักเรียนมาพูดคุยคุยด้วยมีความแตกต่างจากที่เคยรู้มาก่อน ไหม

  -ไม่ทราบ

3.รู้วิธีการป้องกันไม่ให้เป็นโรคมาลาเรียก่อนหน้าที่นักเรียนจะมาคุยหรือยัง

  -เล่าสิ่งที่รู้ เป็นคงวามรู้ป้องกันยุงลายและไข้เลือดออก

4.โรงเรียนควรจะสอนวิธีป้องกันตัวเองจากโรคมาลาเรียกับนักเรียน

  -ควร เพราะจะได้รู้จักป้องกันตนเอง ทุกทีต้องให้พ่อแม่จ้ำจี้จ้ำไช  นักเรียนจะได้บอกต่อและในหมู่บ้าน มีผลในการป้องกันหมู่บ่นของเรา

  -จะมีผลต่อการปฏิบัติจริงมากขึ้น

5.เรื่องการป้องกันโรคมาลาเรียที่ควรในในโรงเรียน ควรนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ เรื่องอะไร

 ข้อเสนอแนะ

1.ต้องปฏิบัติจริงเรื่องป้องกันตนเองและทำจริง ๆ บอกต่อพ่อแม่ และชุมชน  เมื่อมีตัวอย่างก็จะเอาอย่างกันไม่ลืมจะได้มีผลป้องกันทั้งหมู่บ้านได้

2.ใครมีลูกน้องเป็นชาวกะเหรี่ยง พม่า ต้องดูแลเขาด้วย จะได้ไม่มาแพร่เชื้อ เช่น เอามุ้งมาชุบยา ให้มีความรู้การป้องกัน แจกทายา ใส่เสื้อป้องกัน

3.เจาะเลือด มาใหม่ ๆ ต้องเจาะเลือด สอดคล้องกับนโยบาย น.ค.ม.

ข้อเสนอแนะ

  -เด็กตระหนักต่อความเสี่ยง เมื่อเรียนแล้วรู้จริงก็จะปฎิบัติจริง

  -การคบเพื่อน เด็กจะเอาตัวรอดจากสิ่งไม่ดีอื่น ๆที่เพื่อนจะพาไปเสีย  เช่น ยาเสพติด ดื่มเหล้า เพื่อนชวนไปชกต่อยกับคนอื่น

ผอ.อินสอน บอกว่ายินดีทำงานป้องกันมาเลาเรีย เพราะได้สูญเสีย เพื่อนและลูกศิษย์ไปหลายคนแล้ว


หมายเลขบันทึก: 539523เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2013 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะคุณลูกหมูเต้รระบำ

มาเป็นกำลังใจให้คนทำงานจ้ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท