ภูมมินามภูมินิเวศวัฒนธรรม 7: อุ้มผะ บ้านใหม่ท่าแพ เซปะหละ


ภาษาคือวัฒนธรรม ภาษาือเครื่องมือสีบทอดวัฒนธรรม


โรงเรียนชุมชนบ้านอุ้มผาง

ภูมินามภูมินิเวศน์วัฒนธรรมอุ้มผางอีกครั้ง   

วันที่ 11 มิถุนายน 2556 ทีมงานได้เข้าไปในโรงเรียนชุมชนอุ้มผางติดตามการทำงานป้องกันไข้มาลาเรียของ ก็ชวนให้คิดถึงอุ้มผะ  ในครั้งก่อนได้กล่าวไว้คู่กับภูมินามนุเชโปล้ ซึ่งเป็นชุมชนปาเกอะญอ เขาได้อ้างอิงเพื่อแสดงความหมายที่เจ้าขอพื้นที่ที่รู้จริงๆในเรื่องความเป็นไปเป็นมาของผืนป่าอุ้มผางซึ่งส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้งและเป็นป่าเบญจพรรณ มีไม้มีค่าเป็นที่ต้องการของตลาดมูลค่ามหาศาลโดยเฉพาะไม้สัก ตามที่คุณ เกรียงไกร เรียบเรียงในบทความเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง (เมื่อ: 9 ส.ค. 2550 เวลา 09:43 น.) กล่าวถึงป่าอุ้มผางว่า มีพื้นที่ด้านตะวันตกติดชายแดนประเทศพม่า จึงเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญด้านตะวันตกมาแต่อดีต เนื่องจากเส้นทางอันแสนยากเข็ญต้องรอนแรมในพงไพรนานนับเดือน หนังสือสั่งการที่ใช้ติดต่อสื่อสารจึงต้องบรรจุในกระบอกเอกสาร ที่เรียกว่า อุ้มผะเพื่อป้องกันเอกสารเสียหาย จากงานของคุณเกรียงไกร เป็นข้อมูลยืนยันตามที่ชาวปาเกอะญอได้ตีความให้ผู้เขียนฟัง ว่าอุ้มผะคือกระบอกไม้ไผ่สื่อสาร และยังสะท้อนว่าความเป็นมาของภูมินามนิเวศวิทยา หรือชื่อบ้านนามเมืองที่สืบทอดมาแต่ดั้งเดิมนั้น เป็นเสมือนประวัติศาสตร์บอกเล่าเรื่องราวของชาวบ้าน เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ที่เจ้าของวัฒนธรรมจะแสดงสิทธิ์  ด้วยการจดจำและให้ค่าความหมายอย่างลึกซึ้งภาคภูมิเมื่อได้เอื้อนเอ่ยถึง  ซึ่งมันเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ และมักจะผ่านความหมาย สร้างสัญลักษณ์ให้ความหมายที่เป็นนัยซ่อนเร้นและเป็นความอ่อนไหวของอารมณ์บางอย่าง(อานันท์ กาญจนพันธ์,อยู่ชายขอบมองลอดความรู้,2549) ยิ่งรอนแรมไปในอุ้มผางมากขึ้น ผู้เขียนยิ่งมั่นใจว่า อู้มผะ คือความเป็นตัวตนและพลังอำนาจของคนที่เขาเรียกตนเองว่าปาเกอะญอ


บ้านใหม่ท่าแพ

เกิดมาไม่นานจึงได้ชื่อว่าบ้านใหม่ แต่ก็ยังแฝงความหมายที่ใช้จริง  คือเป็นทางที่ลงแพไป-กลับ เพื่อท่องเที่ยวน้ำตกทีลอซู ในยุคการท่องเที่ยวนี่เอง


เซปะหละ  ได้คำตอบที่นึกไม่ถึงว่า อะไรจะไร้เดียงสาปานนั้น ถ้าแยกคำแปลจะได้ดังนี้ 

เซ บางคนว่า เช แปลว่าต้น เชอ มีลักษณะเหมือนต้นงิ้วชนิดหนึ่งมีดอกสีแดง เป็นไม้เนื้อ่อน ไม่มีหนามและไม่มีนุ่น

คำว่า ปะหละ  มาจากคำวว่าปลัด ก็คือปลัดอำเภอนั่นเอง แปลเอาความก็ได้ความว่า ต้อนเช หรือ ต้นงิ้วของปลัด ความสัมพันธ์ระหว่างสองคำมากกว่านี้  ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบ


  ย้อนกลับมาถึงงาน การพูดคุยกันวันนี้จุดประเด็น เกี่ยวกับความคิด และชาติพันธุ์  เพราะมีปาเกอะญอยู่คนเดียว ในกลุ่ม 4 คน เราอุตส่าห์ดั้นด้นมาเพื่อหาแนวทางการทำงาน และความคิดที่ประยุกต์ใช้คู่มือป้องกันมาลาเรียให้เกิดผลต่อผู้คนมากที่สุด ทำงานมาหลายวัน    วันนี้ได้ทะลุคำตอบ ผ่านสายตาคนชายขอบว่าอุปสรรคสำคัญนั้นคือการสื่อสาร "ภาษา" คือวัฒนธรรมภาษาคือเครื่องมือส่งทอดวัฒนธรรม

ด้วยการจดจำและให้ค่าความหมายอย่างลึกซึ้งภาคภูมิเมื่อได้เอื้อนเอ่ยถึง คำต่าง ๆ  ซึ่งมันเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ คนกับคน  และมักจะผ่านความหมาย สร้างสัญลักษณ์ให้ความหมายที่เป็นนัยซ่อนเร้นและเป็นความอ่อนไหวของอารมณ์บางอย่าง(อานันท์ กาญจนพันธ์,อยู่ชายขอบมองลอดความรู้, 2549)  ผู้เขียนมองว่าอาจจะคือความเป็นตัวตนและพลังอำนาจของคนปาเกอะญอ ในการมองโลกและจักรวาล


อุ้มผาง เดี๋ยวนี้ที่ในตัวอำเภอคนส่วนใหญ่เป็นคนเมืองเหนือที่มาพูดคุยกัน มีปเกอะญอ  1 ใน 4 คน ปรากฏว่าเธออยู่หมู่บ้าน เซปะหละ แต่เข้ามาทำไร่ในอำเภออุ้มผาง มีรถรับส่งพร้อมกับลูกที่เป็นนักเรียน เป็นผู้มีประสบการณ์ไปรับเชื้อมาลาเรียมมาหมาด ๆ จากพม่า ส่วนนายดาบของเราชื่อคุณประะสงค์ ก็แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตามอาชีพ ว่าเป็นตำรวจอยู่อุ้มผางนี่เมื่อก่อนก็หนีไม่พ้นที่จะต้องดื่มบ่อย ๆ ถ้าดื่มแล้วเวลานอนไม่ถามหามุ้งแล้ว  จึงเป็นมาลาเรียเป็นแล้วก็เป็นอีก อยู่นั่นแหละ ทีมวิทยากรก็ต้องย้ำกับครูผุ้สอนให้เด็กป้องกันตัวให้ได้ นะ นะ

  เป็นอันสรุปได้ว่าคนในอำเภอมีเหล้าเป็นเหตุ ส่วนคนบ้านป่ามีผีเป็นเหตุ เพราะเมื่อกินยาไป 2-3 วันแล้วไปไว้ผีไข้ก็หายพอดี ก็เลยไม่เชื่อยา แต่เชื่อผีแทน น้องวนิดา เรืองมั่นคงเธอเป็นชาวเซปะหละเดาว่างั้น แต่ตอนนี้ในสังคมปาเกอะญอถ้าเป็นไข้มาลาเรียจะรีบกินยาก่อนเลยเชื่อหมอมากขึ้น ขณะเดียวก็ไไม่ทื้งผี

ผู้ให้สัมภาษณ์

  1.ด ต.ประสงค์ เต่าคำ อายุ 52 จบ ม. 5มีลูก 2 คน

  เรียน ม .พะเยา  -ป. 5 โรงเรียนชุมชนอุ้มผาง

ตนเองเคยเป็น เพราะกินเหล้า เมา ร้อง ใส่เสื้อ กางเกง สั้นไม่ปกคลุมร่างกาย ไม่นอนในมุ้ง เป็นหลายครั้ง รักษาหายหลายครั้ง

ข้อคิด ถ้าเป็นแล้วต้องรีบกลับบ้าน ถ้าป่วยอยู่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน จะรักษาไม่หาย หายยาก เพราะหมอวินิจฉัยไม่ได้ ต้องรีบกลับมาอุ้มผาง เพราะที่นี่เหมาะจะวินิจฉัยได้ไวและถูกต้อง

  2. นางจันทร์ฉาย ปุ๊ดตัน อายุ 48 ปี ไม่ได้เรียนหนังสือ มาจากบ้านใหม่ท่าแพ ที่นี่มีแพล่องไป-กลับน้ำตก ทีลอซู อุ้มผาง ลูก 3 คน ครอบครัวไม่เคยเป็นเลย

3.นางนุจรี  นาคสวัสดิ์ อายุ 28 จบอนุปริญญา วิทยาลัยชุมชนตาก ลูกชายอยู่ ป. 5 ลูกสาว ป. 1  ทั้งครอบครัวไม่เคยเป็นมาลาเรีย

4.นางวนิดา  เรืองมั่นคง บ้านอยู่เซปะหละ เข้ามาทำไรข้าวโพดของตนเองในอุ้มผาง เธอและลูกมีรถ อ.บ.ต.รับส่งทุกวัน มีลูก 3 คนอยู่ ม.4 (อุ้มผางวิทยาคม) ม.1 และ ป.5 เธอเป็นและหายแล้ว เมื่อไม่กี่เดือนเพราะติดตามระอาจารย์ไปทำโรงทานที่พม่าเพราะหมู่บ้านเป็นป่า ชื่อเจ้ดง ไม่มีใครรู้วาเป็นจังหวัดอะไรของพม่า

ประเด็นติดตามการสื่อสารจากโรงเรียน 5 ประการคือ

1.นักเรียนเคยมาพูดคุยเมาลาเรียนและการป้องกันหรือไม่

โรงเรียนยังได้เริ่มสอน

2.โรคมาลาเรียที่นักเรียนมาพูดคุยคุยด้วยมีความแตกต่างจากที่เคยรู้มาก่อน ไหม

คุยกันดูแล้วยังมีแต่ความรู้เรื่องการป้องกัน รักษา ปราบยุงลายและไข้เลือดออก เพราะขณะนี้กำลังระบาด อนามัยโหมป้องกันอย่างเข้มข้น แต่รู้ว่าในป่ามีเชื้อมาลาเรีย เพราะนายดาบ ก็โทษว่าเป็นเพราะยุงดอยกัด วนิดาก็กล่าวว่าไปพม่ามาจึงป่วย

3.รู้วิธีการป้องกันไม่ให้เป็นโรคมาลาเรียก่อนหน้าที่นักเรียนจะมาคุยหรือยัง

คุยแต่นอนกางมุ้งและกำจัดน้ำขัง ป้องกันตัวไม่ให้ยุงกัด ไม่ชัดเจนเรื่องการป้องกันมาเลเรีย

4.โรงเรียนควรจะสอนวิธีป้องกันตัวเองจากโรคมาลาเรียกับนักเรียน

  ควรอย่างยิ่งเพราะเหตุว่าเด็กจะได้มีความรู้ดี ถูกต้องจะได้ถ่ายทอดพ่อแม่ บอกต่อคนอื่นได้ สามารถวินิจฉัยโรคได้ เช่นเดี๋ยวนี้ลูกกลัวมากก็จะนอนในมุ้งด้วยตนเองไม่ต้องดุว่า

  บางความเห็นเสนอให้ส่งเสริมการใช้ยาทา และแจกยาแก่คนที่อยู่ในป่า เพราะยากจนเขาจึงไม่ซื้อ ใช้ของแจกนั่นแหละ ยุงก็ไม่มาเกาะแล้ว

  การช่วยตนเองของชาวปาเกอะญอที่ยากจนตอนนี้ก็คือรมควันที่มาจากเตาประกอบอาหร สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีต นายดาบก็ยืนยันว่ากลุ่มบ้านของปาเกอะญอก็จะไม่ค่อยมียุง

5.เรื่องการป้องกันโรคมาลาเรียที่ควรในในโรงเรียน ควรนำมาใช้ในชีวิตจริงได้ เรื่องอะไร

  จะทำให้เข้ากับคนอื่นได้ดีกว่าเก่า เกิดทักษะทางสังคม จากวนิดา พูดว่าเด็กจะ เป็นตัวแทนของผู้ให้ความรู้ได้

  พูดภาษาไทยได้ถูกต้อง

  คนไทยก็อยากให้ลูกพูดภาษาพม่า ภาษาปาเกอะยอได้ เมื่อโลกเข้าสู่อาเซี่ยนก็จะได้ประโยชน์

เด็กจะปฏิบัติได้จริง บอกข่าวได้ถูกต้องชัดเจน

  วัฒนธรรมจะเปลี่ยนแปลงคือได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้้ซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกันได้

จะคิดเป็นวิทยาศาสตร์ยิ่งขึ้นส่งเสริมกิจกรรมโรงเรียนในการเข้าสู่ชุมชน

------------------------------------------------------

เอกสารอ้างอิง  คุณ เกรียงไกร ผู้เรียบเรียง  : เมื่อ: 9 ส.ค. 2550 เวลา 09:43 น.(เรียบเรียงบทความจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง)http://board.trekkingthai.com/board/show.php?forum


หมายเลขบันทึก: 539093เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2013 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2013 05:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท