ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร (ฉบับย่อ เพื่อสะดวกในการจดจำ)


ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือ ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง (ท่อนที่สำคัญที่สุด)

 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แล เป็นตัวทุกข์อย่างแท้จริง คือ
ชาติปิ ทุกขา | แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์
ชะราปิ ทุกขา | แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์   (พยาธิ ทุกขา แม้ความเจ็บ ก็เป็นทุกข์)
มะระณัมปิ ทุกขัง | แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์
โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมะนัสสุกปายาสาปิ ทุกขา | แม้ความโศกเศร้าเสียใจ ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข | ประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข | พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง | ปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ | ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์

การยึดมั่นแบบฝังใจ ว่า เบญจขันธ์ (คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ว่าเป็น อัตตา เป็นตัวเรา
เป็นเหตุทำให้เกิดความทุกข์แท้จริง

 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์อย่างแท้จริง คือ
ยายัง ตัณหา | ความทะยานอยาก
โปโนพภะวิกา | ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด มีภพอีก
นันทิราคะสะหะคะตา | เป็นไปด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน
ตัตระ ตัตราภินันทินี |  มัวเพลิดเพลินอย่างหลงระเริงในสิ่งที่ก่อให้เกิดความกำหนัดรักใคร่นั้น ๆ
เสยยะถีทัง | ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ
กามะตัณหา | ความทะยานอยากในสิ่งที่ก่อให้เกิดความใคร่
ภะวะตัณหา | ความทะยานอยาก ในความอยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่
วิภะวะตัณหา | ความทะยานอยาก ในความที่จะพ้นจากภาวะที่ไม่อยากเป็น  

 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อนี้แล เป็นความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ
โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ | ดับความกำหนัดโดยสิ้นเชิง ไม่เหลือแห่งตัณหาอยู่
จาโค | สละตัณหานั้น 
ปะฏินิสสัคโค | ปล่อยวางตัณหานั้น
มุตติ | ข้ามพ้นตัณหานั้น
อะนาละโย | ไม่มีเยื่อใยในตัณหานั้น

 

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง | ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็นี้แล เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างแท้จ้ริง คือ
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค | อริยมรรคมีองค์ 8 -- เครื่องไปจากข้าศึกคือกิเลส นี้เอง
เสยยะถีทัง | ได้แก่ สิ่งเหล่านี้ คือ
สัมมาทิฏฐิ | ปัญญาอันเห็นชอบ 
สัมมาสังกัปโป | ความดำริชอบ
สัมมาวาจา | วาจาชอบ
สัมมากัมมันโต | การงานชอบ
สัมมาอาชีโว | ความเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายาโม | ความเพียรชอบ
สัมมาสะติ  | ความระลึกชอบ
สัมมาสะมาธิ | ความตั้งจิตมั่นชอบ


ใน YouTube มีบทสวดมนต์ท่อนนี้ เป็นเพลงอินเดีย (เสียงของ Vijay Prakash พร้อมคำแปล อยู่ที่นี่ค่ะhttp://youtu.be/Wyp_euqJKQk

หมายเลขบันทึก: 538740เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2013 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

...อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค | อริยมรรคมีองค์ 8 -- เครื่องไปจากข้าศึกคือกิเลส นี้เอง ...???

Please compare with

< http://board.palungjit.com/f17/ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร-แปล-ฉบับสมบูรณ์-74331.html >

สวดเจริญพระพุทธมนต์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท