Tweet ว่าด้วยเรื่องรถไฟความเร็วสูง


รถไฟความเร็วสูงจะทำให้เกิดศูนย์กลางใหม่ การคิดผลตอบแทนการลงทุนแบบ แยกเฉพาะระบบรถไฟอาจไม่ได้คำตอบที่ถูกต้อง

30  มี.ค 56


  • ตอนนี้ผมอยู่บนรถไฟกำลังเพื่อไปพิษณุโลก ขณะที่สังคมกำลังถกเรื่องรถไฟความเร็วสูงว่าคุ้มมั้ย (1) 
  • รถไฟที่ผมนั่งเก่าไปตามกาลเวลานับแต่ผมเรียนที่พิษณุโลก ตลอดสิบกว่าปีมานี้ดูเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยน สำหรับรฟท. (2) 
  • 4ปีที่แล้วผมว่าเป็นจุดที่ รฟท. ตกต่ำที่สุด แต่นับแต่มีโครงการไทยเข้มแข็งของ ปชป. ก็เริ่มมีงบมาพัฒนารถไฟอีกครั้ง (3) #srt 
  • แต่ด้วยกลไกบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพของรฟท. จึงไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรมากในช่วงของรัฐบาล ปชป. (4) #รฟท
  • สิ่งที่ รฟท. ทำมาในช่วง 4 ปี ส่วนใหญ่เป็นการปรับปรุงสภาพทางให้กลับอยู่ในสภาพที่ดี ทำรางคู่ในสายตะวันออกให้เสร็จเพื่อขนสินค้า (5) #รฟท
  • พอมาถึงรัฐบาลเพื่อไทย ก็ตั้งประพัฒน์ จงสงวน. อดีตผู้ว่า รฟม. มาเป็นผู้ว่าการถไฟ โดยหวังจะให้เป็นคนปฏิรูปการบริหารใน รฟท. (6) #รฟท 
  • การตั้งนายประพัฒน์ เป็นหนึ่งในการปูทางเพื่อทำยุทธศาสตร์การขนส่งระบบราง ภายใต้เงินกู้ 2 ล้านๆ บาท (7) #รฟท
  • อันที่จริงเรื่องรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูงก็พูดกันมานาน แต่ไม่มีใครทำ จริงๆน่าจะเป็นปัญหาเรื่องประสิทธิภาพการบริหาร (8) #รฟท.
  • เงินกู้ 2 ล้านๆ มาปรับปรุงระบบราง เป็นการกู้เพื่อลงทุน ทั้งทำรางคู่ทั่วประเทศ ต่อเส้นทางใหม่ กับรถไฟความเร็วสูง (9) #รฟท
  • เรื่องรถไฟรางคู่ กับขยายเส้นทางใหม่ดูไม่เป็นปัญหา จะเถียงกันเรื่องรถไฟความเร็วสูงว่าคุ้มไม่คุ้ม (10) #รฟท
  • ตอนที่ญี่ปุ่นสร้างรถไฟความเร็วสูงนี่จริงๆเป็นเรื่องการสร้างชาติหลังสงครามเลย เพราะเป็นการประกาศว่าประเทศพร้อมจะก้าวไปข้างหน้า (11) #รฟท
  • ต่างกับยุโรปที่มีระบบรถไฟดีอยู่แล้ว แต่ต้องการนวัตกรรมในการเดินทาง แต่แบบไทยจะเป็นเรื่องกระจายความเจริญ (12) #รฟท
  • ใครเคยไปญี่ปุ่นคงเห็นว่าศูนย์กลางของเมืองใหม่ๆ ขยายจากจากสถานีรถไฟความเร็วสูง เมืองไทยสมัยมีรถไฟใหม่ๆ ก็เช่นกัน อย่างพิษณุโลก (13) #รฟท
  • รถไฟความเร็วสูงมีไว้ขนคนจำนวนมาก ทำให้การเดินทางระหว่างเมืองระยะ 200 ก.ม. ขึ้นไปเร็วขึ้น 2 เท่าตัวทำให้เกิดเมืองที่เป็น hub มากขึ้น (14)
  • คนส่วนใหญ่ยังมองภาพาถไฟความเร็วสูงโดยเอากทม. เป็นศูนย์กลาง บางคนเอาไปเทียบกับ low cost airlines ที่บินออกจาก hub กรุงเทพ (16) #รฟท
  • รถไฟความเร็วสูงจะทำให้เกิดศูนย์กลางใหม่ การคิดผลตอบแทนการลงทุนแบบ แยกเฉพาะระบบรถไฟอาจไม่ได้คำตอบที่ถูกต้อง (16) #รฟท
  • หรือการเอารถไฟความเร็วสูงไปเทียบกับ low cost airlines ในอนาคตราคาจะไปสู้กันที่ค่าเชื้อเพลิง และต้นทุนที่แพงสุดของ airline คือค่าน้ำมัน (18)
  • แผนทั้งหมดในงบ 2 ล้านๆ บาท ถ้าทำเสร็จภายใน 7 ปีถือว่าเก่งมากๆ แต่ไม่ทำวันนี้ ทำต่อเนื่อง เราจะหมดศักยภาพ เวลาของคนจะหมดไปกับการเผาน้ำมัน(20)
  • เมื่อศักยภาพการหาเงินของประเทศลดลง ก็ไม่มีงบประมาณทำระบบรางต่อ ดังนั้นระบบงบประมาณปกติจึงเสี่ยงมากที่จะทำไม่ได้ตามแผน (21) #รฟท
  • แต่อีกปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ระบบรางใหม่ไปรอดคือศักยภาพของการถไฟ ถ้ายังเป็นอยู่ปัจจุบันมีแต่เจ๊งกับเจ๊ง (22) #รฟท
  • การปฏิรูปรฟท.จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ การพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับรถไฟ โดยเฉพาะการพัฒนาที่ดินของรถไฟ เพราะลำพังเงินจากการขนส่งคงไม่พอ (24)
  • ก็ได้แต่หวังว่าการลงทุน 2 ล้านๆทำให้อีก 10ปีข้างหน้าเรามีรายได้ต่อหัวสูงกว่าคนสิงค์โปร์ และไม่กังวลเรื่องหนี้สาธารณะต่อหัวคนละ5 หมื่น (25)

คำสำคัญ (Tags): #highspeedtrain#รฟท#srt
หมายเลขบันทึก: 538451เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2013 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2013 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท