ตอนที่ 4 ตัวยุทธศาสตร์อยู่ที่ไหน


ยุทธศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ใช่ยุทธศาสตร์แท้แต่เป็นเพียงยุทธศาสตร์เทียม เพราะเจอกับตัวเองเคยร่วมทำยุทธศาสตร์ภาครัฐ แต่ทำได้นิดหน่อยก็เลิกทำ เนื่องด้วยสิ่งที่ถูกสั่งให้ทำไม่ใช่ยุทธศาสตร์แต่เป็นเพียงแผนงานหรือโครงการเพื่อใช้ปฏิบัติงานตามพันธกิจโดยปรกติเท่านั้น จึงไม่ใช่ยุทธศาสตร์แท้



ตอนที่ 4

ตัวยุทธศาสตร์อยู่ที่ไหน

นักศึกษาจำนวนไม่น้อยที่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับยุทธศาสตร์และพากันมึนงงกับยุทธศาสตร์ต่างๆที่ได้อ่านได้พบเห็น เหมือนกับยุทธศาสตร์เป็นอากาศที่ล้อมรอบตัวเรา มองไปทางไหนก็เจอยุทธศาสตร์ จะขยับตัวอย่างไรก็เจอยุทธศาสตร์ จึงทำให้นักศึกษาคิดว่าการสร้างยุทธศาสตร์นั้นเป็นเรื่องง่าย แต่เมื่อลงมือสร้างยุทธศาสตร์ก็กลายเป็นยุทธศาสตร์เพี้ยนและเกิดคำถามว่า สิ่งที่สร้างขึ้นมานั้นเป็นยุทธศาสตร์หรือไม่ เมื่อย้อนกลับไปค้นหายุทธศาสตร์ที่มีอยู่กลาดเกลื่อน ก็สรุปได้ว่า ใช่แน่ ครั้นพิจารณาอย่างถ้องแท้ก็พบว่าเป็นเพียงยุทธศาสตร์แบบตลาดๆ

ก็บอกแล้วว่ายุทธศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ใช่ยุทธศาสตร์แท้แต่เป็นเพียงยุทธศาสตร์เทียม เพราะเจอกับตัวเองร่วมทำยุทธศาสตร์ภาครัฐ แต่ทำได้นิดหน่อยก็เลิกทำ เนื่องด้วยสิ่งที่ถูกสั่งให้ทำไม่ใช่ยุทธศาสตร์แต่เป็นเพียงแผนงานหรือโครงการเพื่อใช้ปฏิบัติงานตามพันธกิจโดยปรกติเท่านั้น จึงไม่ใช่ยุทธศาสตร์แท้

นักศึกษาเคยสังเกตหรือเปล่าว่าแผนยุทธศาสตร์บางแผนที่พบเห็นพอเริ่มต้นอ่านได้เพียง 2-3 หน้าก็เริ่มง่วงนอน สมองเลอะเลือน จับต้นชนปลายไม่ถูก ที่สุดก็ต้องวางทิ้งไว้และไม่เตะต้องอีกเลย หลายครั้งแผนยุทธศาสตร์เล่มหนามากอ่านไปครึ่งเล่มยังไม่เจอยุทธศาสตร์ จึงไม่รู้จะทนอ่านไปทำไม

ที่กล่าวมาทั้งหมดนักศึกษาคงมีคำถามว่า แล้วยุทธศาสตร์อยู่ตรงไหน จะค้นหาได้อย่างไร

คำถามนี้ต้องการค้นหา ตัวยุทธศาสตร์

คำว่า ยุทธศาสตร์เป็นคำสำคัญ มีความหมายกว้างมากแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความหมาย การค้นหาตัวยุทธศาสตร์อธิบายได้ยาก แต่จะยกตัวอย่างอุปมาอุปมัยให้เห็นเพื่อเชื่อมโยงความเข้าใจจากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อน

จะยกตัวอย่างจากคำว่า “สถาบันครอบครัว”

 สถาบันครอบครัวมีความหมายกว้าง ประกอบด้วย ตัวบุคคลที่อาศัยร่วมอยู่ในครัวเรือน  กฎ ระเบียบของครอบครัว ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ อาหาร สำเนียงสำนวนการพูด อาชีพ ฐานะของบุคคล บุคลิกประจำครอบครัว รูปร่างหน้าตา วัฒนธรรมครัวเรือน ฐานะทางสังคม การศึกษา ความนับถือ ศาสนา มารยาท วินัย จิตใจ ความดี อุดมคติ คุณสมบัติเฉพาะตน ประวัติครอบครัว เชื้อชาติฯลฯ


เพื่อให้เข้าใจง่ายและคุ้นเคยกับการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ขอนำเสนอให้นักศึกษารู้จักโมเดล( Model ) และตัวแปรของสถาบันครอบครัวดังนี้



ภาพที่ 1  โมเดลแสดงระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อสถาบันครอบครัว

     อธิบายโมเดลได้ว่า ตัวแปรระดับที่1  ส่งผลต่อสถาบันครอบครัวมีจำนวนหลายตัวแปร ( ในที่นี้สมมุติไว้ 10 ตัวแปร ) แต่ละตัวแปรในระดับที่ 1 ก็มีตัวแปรระดับที่ 2 หลายตัวแปรส่งผลต่อตัวแปรระดับที่ 1 และยังมีตัวแปรระดับที่ 3 อีกหลายตัวแปรส่งผลต่อตัวแปรระดับที่ 2

    ถ้าพิจารณาตัวแปรที่มีผลกระทบต่อสถาบันครอบครัวโดยใช้ตัวแปรระดับที่ 3 จะมีจำนวนนับร้อยตัวแปร จึงกล่าวได้ว่าการกำหนดตัวยุทธศาสตร์โดยใช้ตัวแปรทุกตัวจะกระทำได้ยาก จึงต้องเลือกตัวแปรจำนวนน้อย ซึ่งจะใช้ตัวแปรระดับที่ 1 หรือระดับที่ 2 ก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการสร้างยุทธศาสตร์ และยังไม่ต้องคาดหวังมากเกินไปว่า ยุทธศาสตร์ที่กำหนดขึ้นมาจะเป็นยุทธศาสตร์ที่ดีและแก้ปัญหาได้สำเร็จหรือไม่ เพราะต้องมีการตรวจสอบและทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีกซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ได้ทำ “ R&D  “แล้ว

    จากโมเดลดังกล่าว สามารถกำหนดตัวยุทธศาสตร์ได้จากองค์ประกอบตัวใดตัวหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งตัว ซึ่งอาจมีมากถึง 3 ตัวหรือ 4 ตัวแต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเป็นไปไม่ได้ที่จะนำองค์ประกอบทุกตัวมาเป็นยุทธศาสตร์ ( จะอธิบายเพิ่มเติมภายหลัง )

    อ่านถึงตรงนี้นักศึกษาคงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับสถาบันครอบครัวเพิ่มขึ้น ซึ่งมีองค์ประกอบมากมาย คราวนี้มาดูตัวยุทธศาสตร์กันบ้าง ในสถาบันครอบครัวดังกล่าวเรากำหนดให้ตัวยุทธศาสตร์อยู่ตรงองค์ประกอบใดก็ได้

     ในที่นี้ขอกำหนดให้ตัวยุทธศาสตร์อยู่ตรง ตัวบุคคลในครอบครัว ซึ่งได้แก่บุคคลสำคัญที่เรียกว่า“ พ่อ “  กำหนดให้เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ครอบครัวประสบผลสำเร็จ  ( องค์ประกอบอื่นก็มีความสำคัญแต่ให้ปฏิบัติไปตามปรกติเหมือนดังที่เคยกระทำมา ) ให้พิจารณาสร้างยุทธศาสตร์ความเป็นพ่อที่ตัวแปรระดับ 3 ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเป็นพ่อ  .....ทำงานอะไร  ...มีรายได้เท่าไร.....ขยันหรือเกียจคร้าน ....มีความซื่อสัตย์หรือคดโกง..... รักครอบครัวหรือไม่ ..เป็นคนดี....มีคุณธรรม....เล่นการพนัน..เป็นคนร้าย....มีมนุษย์สัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน...ยังมีชีวิตอยู่...เสียชีวิตแล้ว...เข้มแข็ง..อ่อนแอ..สุภาพอ่อนโยน...มุทะลุดุดัน..ฯลฯ

   คุณสมบัติของความเป็นพ่อสามารถกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ของครอบครัวได้  นักยุทธศาสตร์พอจะเข้าใจแล้วว่า เมื่อถึงจุดนี้เราได้กำหนดยุทธศาสตร์ลงไปที่ความเป็นพ่อ ครอบครัวจะไปสู่ทิศทางใดทั้งในอดีตและอนาคต เราใช้ “ พ่อ “ เป็นตัวกำหนด

  ถ้าต้องการให้ครอบครัวดีต้องพัฒนาที่พ่อ ดังนี้ พ่อต้องมีชีวิตอยู่ พ่อต้องมีสุขภาพแข็งแรง พ่อต้องมีจิตใจเข้มแข็ง พ่อต้องเป็นคนดี พ่อต้องมีคุณธรรม พ่อต้องทำงานดี พ่อต้องมีรายได้สูง พ่อต้องขยัน พ่อต้องไม่เล่นการพนัน พ่อต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น พ่อต้องรักครอบครัว พ่อต้องมีความซื่อสัตย์ ฯลฯ

  ถ้าไม่ต้องการให้ครอบครัวดีก็กำหนดให้พ่อมีคุณสมบัติตรงข้ามกับพ่อที่ดี การยกตัวอย่างเพื่อค้นหาตัวยุทธศาสตร์ดังที่กล่าวมาพอจะทำให้นักศึกษาเข้าใจตัวยุทธศาสตร์ได้หรือไม่ ขอเพิ่มเติมเนื้อหาอีกนิดเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าสถาบันครอบครัวเปรียบได้กับ แผนงานหรือพันธกิจ และทราบแล้วว่าตัวยุทธศาสตร์ของสถาบันครอบครัวคือ พ่อ  ถามว่าตัวยุทธศาสตร์ของแผนงานหรือพันธกิจคืออะไร

  คำตอบก็คือ อะไรก็ได้ที่เป็นองค์ประกอบเล็กๆที่มีอิทธิพลต่องานหรือพันธกิจของหน่วยงาน

     ให้ดูโมเดลข้างล่างนี้เพื่อเชื่อมโยงตัวอย่างกับการนำไปใช้จริงกับงานหรือพันธกิจของหน่วยงาน โมเดลข้างล่างนี้เพื่อเชื่อมโยงตัวอย่างกับการนำไปใช้จริงกับงานหรือพันธกิจของหน่วยงาน

       

ภาพที่ 2  โมเดลเปรียบเทียบการกำหนดตัวยุทธศาสตร์ของสถาบันครอบครัวกับแผนงาน/พันธกิจ


หมายเลขบันทึก: 538312เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 16:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2013 17:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท