ลิง กา ไก่ เป็ดสไตล์ชุมุนุมอนุรักษ์พืชสมุนไพรในท้องถิ่นภาคใต้


                    

   

      เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาครูนกไปราชการไกลโพ้นเลยไม่ได้เข้าสอนกิจกรรมชุมนุมแต่ได้ฝากให้รุ่นพี่พาน้องๆ ม.๑ ไปวาดภาพใบไม้ในโรงเรียน คนละอย่างน้อย ๓ ภาพ  สัปดาห์นี้ได้เห็นผลงานของเด็กซึ่งพอจะสรุปได้ว่า ต้องฝึกทักษะการสังเกตเพิ่มเติม อีกทั้งต้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพี่ ม.๓ กับ น้องๆ ม.๑ ซึ่งน้องเล็กปีนี้น่ารัก เรียบร้อยมากๆ  ดังนั้นครูนกเลยใช้เกมเป็นสื่อกลาง
         เริ่มจากให้สมาชิกนับ ๑, ๒ ,๑, ๒ กันไปเรื่อยๆ จากนั้นใครนับ ๑ รวมตัวกันที่โต๊ะใกล้ๆ เวทีหน้าเรียน  และนับ ๒ ก็รวมตัวประมาณกึ่งกลางห้อง

                                     
         จากนั่นให้เลือกสมาชิกมา ๔ คนเพื่อสวมบทบาทเป็นลิง กา ไก่ และเป็ด ครูนกให้เกณฑ์ในการคัดเลือกว่า ลิงควรมีบุคลิกภาพว่องไว ตื่นตัว ช่างเจรจจา  ต่อมากาต้องเป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี  ส่วนไก่เลือกคนที่วาดรูปเก่งและมีสมาธิ  ส่วนเป็ดเลือกใครก็ได้ที่มั่นใจว่าปิดวาจาตลอดการเล่นเกมได้  ครูนกสังเกตพวกเด็กๆ มักจะเลือกให้พี่ๆ ม.๓ สวมบทบาทกันทั้งสองกลุ่มเลย
                                
          ครูนกอธิบายเกมให้ฟังว่า ครูจะให้ลิงมาดูภาพที่ครู จากนั่นลิงต้องไปบอกกาเกี่ยวกับภาพที่เห็น ส่วนกาก็ไปบอกไก่ให้วาดภาพตามที่กาบรรยาย  ส่วนเป็ดสามารถเดินไปไหนมาไหนก็ได้ แต่ห้ามพูดหากใครถามเรื่องใดๆ จะทำได้ค่ะพยักหน้าสำหรับการตอบว่า "ใช่" และส่ายหน้าแทนคำตอบ "ปฏิเสธ"  โดยจะใช้เวลาดำเนินการให้เสร็จภายใน ๕ นาที
           เซ็ทแรก ครูนกให้ภาพดอกกระดังงา ทุกคนปฏิบัติตามกฏกติกา น้องม.๑ ยังคงยิ้มมากกว่าพูด
           เซ็ทที่สอง ครูนกมีเงื่อนไขให้เปลี่ยนคนเป็นลิง กา ไก่ และเป็ดใหม่ ภาพประจำเซ็ทสองคือ ภาพรากบัว (นำมาจากปฏิทินตั้งโต๊ะปีก่อนๆ)  สังเกตมีการพูดคุย สอบถามข้อมูลระหว่างสมาชิกในกลุ่มมากขึ้น น้องๆ ม.๑ เริ่มมีลีลา เริ่มเปิดตัวกับพี่ๆ ม.๓

                        

          เซ็ทสุดท้าย ก็มีเงื่อนไขให้เปลี่ยนลิง กา ไก่และเป็ดใหม่อีกรอบ โดยคราวนี้เป็นภาพยากสุดค่ะ "ดอกอังกาบ"  ครูนกได้ฟังบทสนทนาที่ไก่หันไปถามรุ่นน้องที่เป็นเป็ด  
           ไก่ :  น้องดอกเล็กหรือดอกใหญ่  (ครูนกเห็นเจ้าเป็ดมองหน้าพี่แล้วทำเฉยๆ)
ต่อมาไก่คงนึกถึงกติกาได้เลยเปลี่ยนคำถาม
           ไก่  : น้อง...ดอกเล็กใช่หรือไม่ (คราวนี้เป็ดส่ายหน้า)
           ไก่   :  สีม่วงใช่หรือไม่ (เป็ดพยักหน้า....) ครูนกได้ยินเจ้าไก่ระดมถามน้องเลย อัญชันใช่มั่ย  ดอกบัวใช่ไม่  น้องก็ได้แต่ส่ายหน้า
           สุดท้ายครูนกเฉลย ปรากฏว่า กลุ่มสองชนะกลุ่มหนึ่งด้วยคะแนน ๒ ต่อ ๐  จากนั่นครูนกถามคนที่ไม่ได้สวมบทบาทใดๆ ว่า "ลูก  คิดว่าอยากเป็นใครมากที่สุด"  หลายๆ คนตอบว่า อยากเป็นลิง  เลยตั้งคำถามต่อว่า "ใครเหนื่อยที่สุด" เสียงตอบเริ่มแตกกัน บางก็ว่า เป็ด (บอกๆ แต่เพื่อนไม่ยอมเข้าใจ) บางก็ว่า ไก่ (วาดทั้งที่ตนเองไม่เห็นด้วยตา)  บางก็ว่า ลิง (พูดมากแต่เพื่อนไม่ยอมเข้าใจ)
           ครูนกบอกว่าทุกบทบาทเหนื่อยเพราะอยากบรรลุเป้าหมาย แต่ผู้ที่เหนื่อยสุดน่าจะเป็นเป็ด เห็นทุกอย่าง รับรู้มากมาย แต่บอกไม่ได้  แสดงความคิดเห็นไม่ได้ 
           ครูนกเลยบอกว่า เราอยู่ด้วยกันต้องช่วยกัน ต้องหมุนเวียนกันทำหน้าที่จะได้เข้าใจผู้อื่น  สำหรับการเล่นเกมครั้งนี้เด็กๆ ได้รู้จัก "ดอกอังกาบ"  ได้รู้จัก "ภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ"  ที่สำคัญได้พูดได้คุยระหว่างรุ่นน้องกับรุ่นพี่มากขึ้น ความสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้การประสานงานในชุมนุมสะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้น


           

หมายเลขบันทึก: 538210เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2013 21:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ชอบมากเลยครับ เคยเล่นเกมคล้ายๆกันนี้แล่ะครับสนุกมาก แต่ไม่ได้สวมบทบาทเป็นลิง กา ไก่ เป็ด

ขอบคุณที่แบ่งปัน ครับ

เป็นการเรียนรู้ที่น่าสนุกมากครับ

แค่คิดก็สนุกแล้วค่ะ


สวัสดีค่ะ คุณพ.แจ่มจำรัส ขอบคุณค่ะ เด็กๆ ดูจะชอบบทบาทของเป็ดมากๆ ค่ะ เขาบอกว่า ไม่ต้องพูดอะไร....แสดงว่าอาจจะเป็นเด็กไม่ชอบพูดนะค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณทิมดาบ
เป็นเกมที่ครูนกประยุกต์จากหนังสือเล่มหนึ่งได้ที่ได้อ่านนะค่ะ อยากให้ช่างสังเกต อยากให้เข้าใจผู้อื่น อยากให้สื่อสารและพูดคุยกันได้ละลายการเป็นคนแปลกหน้ากัน


สวัสดีค่ะ คุณtuknarak
ลองนำไปใช้ได้นะค่ะ.....ปรับๆ ให้เข้ากับวงงานของตนเองก็สนุกค่ะ ได้สวมบทบาทลิง กา ไก่ และเป็ด
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท