การถ่ายเทไฟฟ้าสถิตลงสู่ดินหรือกราวด์


การควบคุมไฟฟ้าสถิตโดยการการถ่ายเทไฟฟ้าสถิตลงสู่ระบบกราวด์

การควบคุมไฟฟ้าสถิต หรือการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นจากดิสชาร์จไฟฟ้าสถิตมีอยู่หลายวิธี ได้แก่การออกแบบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้มีความทนทานต่อไฟฟ้าสถิตมากขึ้น   การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุหรือกระบวนการที่ก่อให้เกิดไฟฟ้าสถิตสูง การป้องกันการรบกวนของสนามไฟฟ้า (Shielding) โดยการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม และสำหรับวัสดุที่เป็นฉนวนหรือวัสดุที่เป็นตัวนำที่ไม่สามารถต่อลงกราวด์ได้ อาจใช้การแลกเปลี่ยนประจุให้วัสดุนั้นมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า โดยใช้พัดลม Ionized Air Blower

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันความเสียหายอันจะเกิดขึ้นจากไฟฟ้าสถิตต่อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ก็คือ การถ่ายเทไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นดังกล่าวลงสู่ระบบกราวด์อย่างเหมาะสม ก่อนที่ไฟฟ้าสถิตจะดิสชาร์จไปยังชิ้นงาน หรือถ่ายเทลงสู่ระบบกราวด์เพื่อให้ระดับไฟฟ้าสถิตลดลงและไม่เป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ถึงแม้จะเกิดการดิสชาร์จก็ตาม 

การถ่ายเทไฟฟ้าสถิตนี้ครอบคลุมถึง การถ่ายเทไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นบนร่างกายโดยการใช้สายรัดข้อมือและรองเท้าควบคุมไฟฟ้าสถิต การถ่ายเทไฟฟ้าสถิตผ่านแผ่นปูโต๊ะแบบดิสซิเปทีฟ การต่อกราวด์ของเครื่องจักร เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ช่วยประกอบ (jig) เป็นต้น


หมายเลขบันทึก: 538026เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 23:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท