รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนวัดสวนพลสู่สถานศึกษาพอเพียงปีการศึกษา 2554


ชื่อผลงาน  :  รายงานการประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนวัดสวนพลสู่สถานศึกษา

  พอเพียงปีการศึกษา  2554

ผู้ประเมิน  :  นวลใย  สุทธิพิทักษ์ 

ปี  :  2554

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

  การประเมินโครงการพัฒนาโรงเรียนวัดสวนพลสู่สถานศึกษาพอเพียง  ปีการศึกษา  2554  มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม  ปัจจัย  กระบวนการ  และผลผลิตของโครงการโดยใช้รูปแบบการประเมินซิปป์  (CIPP  Model)  ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด  148  คน ประกอบด้วย  ผู้ทรงคุณวุฒิ  5  คน  ผู้รับผิดชอบโครงการ  2  คน  ครู  7  คน  คณะกรรมการสถานศึกษา  7 คน ผู้ปกครอง  50  คน  และนักเรียน  77  คน  สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี  4  ชุด  มีลักษณะเป็นแบบสอบถาม  3  ชุด  และแบบประเมินคุณภาพการปฏิบัติงาน  1  ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS  for  Windows และวิเคราะห์เนื้อหา (content  analysis) ซึ่งสรุปผลดังนี้

1.  ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์การประเมินเมื่อ

พิจารณารายตัวบ่งชี้  พบว่า  บรรยากาศของสถานศึกษาเอื้อต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด  รองลงมาวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและโครงการมีความสำคัญในการที่จะสนับสนุนการจัดการศึกษาตามลำดับ  ตัวบ่งชี้ที่อยู่ในระดับมากมีจำนวน 6  ตัวบ่งชี้  ได้แก่  วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สถานที่เหมาะสมวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษา  วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของครูและนักเรียน  และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของท้องถิ่น  ส่วนตัวบ่งชี้ที่อยู่ในระดับปานกลาง  ได้แก่  วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง 

  2.  ด้านปัจจัยของโครงการอยู่ในระดับมาก  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  เมื่อพิจารณารายตัวบ่งชี้  พบว่า  ตัวบ่งชี้ที่อยู่ในระดับมากที่สุด  ได้แก่  การให้การสนับสนุนจากผู้บริหาร รองลงมา  คือ  ความพร้อมของผู้รับผิดชอบโครงการ  ตัวบ่งชี้ที่อยู่ในระดับมากมี  6  ตัวบ่งชี้  ได้แก่  ความพร้อมเครื่องมือวัดประเมินผล  ความพร้อมของผู้เข้าร่วมโครงการ  ความพร้อมของแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา  ความพร้อมเรื่องวัน  เวลา  สถานที่  ความพร้อมของด้านวัสดุอุปกรณ์  ความพร้อมของแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา และความพร้อมของผู้เรียน  ส่วนตัวบ่งชี้ที่อยู่ในระดับปานกลาง  ได้แก่  ความพร้อมในด้านงบประมาณ

  3.  ด้านกระบวนการของโครงการมีคุณภาพการปฏิบัติได้ผลมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน  เมื่อพิจารณารายองค์ประกอบ  พบว่า  องค์ประกอบที่อยู่ในระดับมากที่สุดมีถึง 11  องค์ประกอบเรียงลำดับจากสูงไปหาต่ำดังนี้  โรงเรียนวัดสวนพลมีสื่อและแหล่งเรียนรู้  เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มีการพัฒนาคุณลักษณะความพอเพียงของบุคลากรของสถานศึกษา  มีการติดตามและขยายผลการพัฒนาบุคลากร  มีการจัดทำหน่วยการเรียนรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มีการวัดและประเมินผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ครูได้บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การเรียนการสอน และมีการจัดกิจกรรมนักเรียนเพื่อให้ผู้เรียนอยู่อย่างพอเพียง  มีการบริหารจัดการงบประมาณอย่างพอเพียง  มีการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์  มีการแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  และมีการบริหารทั่วไปตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนองค์ประกอบที่ดำเนินการได้ผลมากมี  2 องค์ประกอบ  ได้แก่  นโยบายการจัดการศึกษาของสถานศึกษาและงานวิชาการสู่การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

  4.  ด้านผลผลิตของโครงการได้ผลมากที่สุด  ผ่านเกณฑ์การประเมิน  และเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบแล้ว  พบว่า  องค์ประกอบที่ได้ผลมากที่สุดมี 2  องค์ประกอบ  ตามลำดับดังนี้ โรงเรียนวัดสวนพลมีคุณลักษณะของสถานศึกษาพอเพียง และ  นักเรียนโรงเรียนวัดสวนพลมีคุณลักษณะความพอเพียง องค์ประกอบที่ได้ผลมากมี 2  องค์ประกอบเช่นกัน  ได้แก่  บุคลากรและผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนวัดสวนพลมีคุณลักษณะของความพอเพียง  ส่วนผู้เกี่ยวข้อง  ได้แก่  ผู้รับผิดชอบโครงการ  ครู  ผู้ปกครอง  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและนักเรียนโรงเรียนวัดสวนพลมีความพึงพอใจของต่อโครงการมาก

จากการพัฒนาโครงการเกิดผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จกับโรงเรียนวัดสวนพล  ทั้งระบบ  คือ  โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษาพอเพียงกระทรวงศึกษาธิการใน ปีการศึกษา  2554  และนางนวลใย  สุทธิพิทักษ์  ผู้อำนวยการสถานศึกษาได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ประเมินสถานศึกษาพอเพียงของกระทรวงศึกษาธิการ  ส่วนครูได้รับการคัดเลือกเป็นครูสอนดีและครูดีในดวงใจระดับประเทศ  นักเรียนมีผลการทดสอบระดับชาติ  (O – NET)  สูงกว่าระดับชาติ  7  กลุ่มสาระการเรียนรู้  นำมาซึ่งความภาคภูมิใจกับผู้เกี่ยวข้องเป็นอย่างยิ่ง


หมายเลขบันทึก: 537938เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 07:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2013 07:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท