การประยุกต์ใช้ สูตรสำเร็จเพื่อการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่คนที่มีปัญหาสิทธิในการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย 4+7กับกรณี " น้องเอ "


  การประยุกต์ใช้ สูตรสำเร็จเพื่อการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย แก่คนที่มีปัญหาสิทธิในการรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมาย 4+7กับกรณี " น้องเอ

เด็กไร้รัฐไร้สัญชาติผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาเพราะสวมตัวเพื่อขอทำบัตรประชาชน

 เด็กชายไร้รัฐไร้สัญชาติเพราะไร้รากเหง้า ถูกฝากเลี้ยงไว้กับยายรับเลี้ยงเด็กตั้งแต่อายุ ๒ ขวบพร้อมสูติบัตรฉบับหนึ่ง และต่อมาถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดอาญาเพราะสวมตัวบุคคลอื่นซึ่งมีชื่อตามสูติบัตรเพื่อขอทำบัตรประชาชน

 

๑.ข้อเท็จจริงที่เป็นฐานนำไปสู่สิทธิตามกฎหมาย

ข้อเท็จจริงอันเป็นฐานแห่งการกำหนดสิทธิในกระบวนการยุติธรรมในฐานะผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดในคดีอาญา ก็คือ ข้อเท็จจริงความเป็นมนุษย์ของเอ ไม่ว่าน้องเอจะเป็นคนมีรัฐมีสัญชาติหรือไม่แต่ด้วยความเป็นมนุษย์ ย่อมทรงสิทธิในกระบวนยุติธรรมที่ต้องเป็นไปตามกฎหมาย

๒.ข้อกฎหมายที่รับรองสิทธิ

กฎหมายระหว่างประเทศ ตาม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ( Universal Declaration of Human Rights )คือ ข้อ 10 กล่าวคือ “ทุกคนย่อมมีสิทธิในความเสมอภาคอย่างเต็มที่ในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเปิดเผยจากศาลที่อิสระและไม่ลำเอียงในการพิจารณากำหนดสิทธิและหน้าที่ของตนและข้อกล่าวหาอาญาใดต่อตน”

ข้อ 11 ( 1 ) ทุกคนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดทางอาญา มีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่ามีความผิดตามกฎหมายในการพิจารณาคดีที่เปิดเผย ซึ่งตนได้รับหลักประกันที่จำเป็นทั้งปวงสำหรับการต่อสู้คดี

กฎหมายระหว่างประเทศ ตาม กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and

Political Rights – ICCPR) คือ ข้อ ๑๕วรรค ๑. บุคคลย่อมไม่ต้องรับผิดทางอาญา เพราะกระทำ หรืองดเว้กระทำการใดซึ่งในขณะที่กระทำ ไม่เป็นความผิดอาญาตามกฎหมายภายในหรือกฎหมายระหว่างประเทศและจะลงโทษให้หนักว่า โทษที่มีอยู่ในขณะที่ได้กระทำ ความผิดอาญาไม่ได้ หากภายหลังการกระทำ ความผิดนั้นได้มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดโทษเบาลง ผู้กระทา ผิดย่อมได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติ

กฎหมายระหว่างประเทศ ตาม อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ( Convention on the Rights of the Child ) ข้อ40 วรรค 1. รัฐภาคียอมรับสิทธิของเด็กทุกคนที่ถูกกล่าวหา ตั้งข้อหา หรือถูกถือว่าได้ฝ่าฝืนกฎหมายอาญา ที่จะได้รับการปฏิบัติต่อในลักษณะที่สอดคล้องกับการส่งเสริมความสำนึกในศักดิ์ศรีและคุณค่าของเด็ก ซึ่งจะเสริมความเคารพของเด็กต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้อื่น ในลักษณะที่

ต้องคำนึงอายุของเด็ก และความปรารถนาที่จะส่งเสริมการกลับคืนสู่สังคม และการมีบทบาทเชิงสร้างสรรค์ของเด็กในสังคม

กฎหมายภายในได้แก่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.๒๕๕๐

มาตรา ๓๙  บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้

ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด

ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

 มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้น

พื้นฐานเรื่อง การได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย คำพิพากษา หรือคำสั่ง

(๓) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม

(๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดีมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์ต่อตนเอง

(๕) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

(๖) เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการหรือทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ

(๗) ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้องรวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

(๘) ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ

๓.ปรับข้อเท็จจริงกับข้อกฎหมาย

น้องเอถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา แม้น้องเอจะเป็นคนไร้รากเหง้า แต่น้องเอก็เป็นมนุษย์คนหนึ่งซึ่งมีสิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ ตาม ข้อ 11 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ( Universal Declaration of Human Rights )  และมีสิทธิในความเสมอภาคอย่างเต็มที่ในการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมและเปิดเผยจากศาลที่อิสระและไม่ลำเอียง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 10  ( Universal Declaration of Human Rights ) และ มาตรา ๔๐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.๒๕๕๐ กล่าวคือมีสิทธิที่จำนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู่เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน และหากปรากฏว่าน้องเอไม่ได้กระทำความผิดจริงก็ไม่ต้องรับโทษ  ตาม ข้อ๑๕( ๑ ) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) และ มาตรา ๓๙  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี พ.ศ.๒๕๕๐ และเนื่องจากน้องเอยังมีอายุไม่เกิน 18 ปี จึงได้รับการคุ้มครองตาม  ข้อ ๔๐อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ( Convention on the Rights of the Child ) กล่าวคือมีสิทธิ ได้รับการปฏิบัติในส่วนที่สอดคล้องกับสำนึก ในศักศรีและคุณค่าของเด็ก


๔.พัฒนาสิทธิ/ใช้สิทธิ

 เริ่มต้นรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อยืนยันว่าเรามีสิทธิดังกล่าวจริง

รวบรวมพยานหลักฐานทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคล พยานวัตถุ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เพื่อยืนยันว่าตนเป็นผู้บริสุทธิ์

- เริ่มต้นใช้สิทธิ

ส่งพยานหลักฐานที่ยืนยันว่าตนเป็นผู้บริสุทธิ์ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ

- ขอหลักฐานการเริ่มต้นใช้สิทธิ

ขอหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าตนได้ส่งพยานหลักฐานแล้ว เพื่อเป็นหลักฐานว่า เราได้มายื่นเรื่องเพื่อขอใช้สิทธิแล้ว กับ ผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องพิจารณาเรื่อง และดำเนินการ ตามกรอบเวลาที่กำหนดตามกฎหมาย

 ติดตามผลการยื่นคำร้องขอใช้สิทธิ

หากเจ้าหน้าที่ตำรวจยอมรับคำร้อง เราก็ต้องติดตามผลการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยติดตามทวงถามเป็นจดหมาย/หนังสือ เพื่อเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรถึงการติดตามดังกล่าว โดยแนบสำเนาเอกสารหลักฐานการเริ่มต้นใช้สิทธิ เพื่อเป็นหลักฐานแจ้งว่าเราได้มาขอใช้สิทธิแล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจพิจารณาไปถึงไหน อย่างไร

  - อุทธรณ์ร้องทุกข์กรณีไม่รับคำร้องขอใช้สิทธิ หรือกรณีพิจารณาล่าช้า หรือกรณีปฏิเสธสิทธิ

กรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่รับแจ้งความ หรือรับแจ้งความจะไม่ดำเนินการใดๆให้ ติดต่อฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ ที่สำนักงานจเรตำรวจ โดยไปยื่นเรื่องเองที่สำนักงานจเรตำรวจ อาคาร 1 ชั้น 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ หรือติดต่อที่ เบอร์ 022051184 , 022051194

  - ฟ้องคดีต่อศาล

สามารถนำคดีไปฟ้องต่อศาล ได้เนื่องจากการกระทำดังกล่าวมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๕๗ ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  -  บังคับคดีตามคำพิพากษา

หลังจากมีคำพิพากษาออกมา เพื่อบังคับให้เป็นไปตามตามคำพิพากษานั้น ก็ต้องบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษานั้น


   




หมายเลขบันทึก: 537266เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2013 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2013 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท