การค้นพบ


การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

สมศักดิ์   ภู่วิภาดาวรรธน์ (2535) ได้แบ่งประเภทของบรรยากาศออกเป็น 3 อย่างคือ

1.) บรรยากาศด้านกายภาพ คือ การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน เช่น
การจัดที่นั่งสำหรับเด็กควรมีลักษณะยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จัดไม่ควรยึดติดอยู่กับรูปแบบ
ๆ เดียว และในการจัดตกแต่งสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน
ควรมีความแปลกใหม่มีคุณค่าและท้าทายให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมแสดงออกอย่างกว้างขวาง

2.) บรรยากาศด้านสมอง เป็นบรรยากาศที่เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนได้คิดแก้ปัญหา คิดหาเหตุผล คิดยืดหยุ่น คิดแปลกใหม่
คิดจินตนาการกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้
อาจนำการใช้ทายปัญหาพาสนุกเข้ามาใช้ในชั้นเรียนได้ เช่น
ปัญหาพาสนุกเกี่ยวกับตัวเลข ภาษา หรือรูปภาพและสัญลักษณ์ เป็นต้น
ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนใช้สมองในการคิดอย่างสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี

3.) บรรยากาศด้านอารมณ์
เป็นบรรยากาศที่เกี่ยวข้องกับการช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้สึก มีคุณค่า มีพลัง
รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม เคารพตนเองและผู้อื่น
การทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกดังกล่าว ครู่ควรต้องมีเจตคติที่ดีต่อนักเรียน
ใจกว้าง รับฟังปัญหาให้ความรู้สึกอบอุ่นและเป็นกันเองกับนักเรียน กล้าคิด
กล้าแสดงออกอย่างกว้างขวาง

 จากการศึกษาและวิจัยของข้าพเจ้า
จะเห็นว่าบรรยากาศที่สำคัญอีกส่วน คือ  บรรยากาศด้านบุคคล
กล่าวคือ บุคคลที่ร่วมปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนในขณะนั้น เช่น ครู เพื่อนนักเรียน
ผู้ร่วมกิจกรรมซึ่งบุคคลเหล่านี้มีผลทำให้ผู้เรียน กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกหรือยับยั้งความคิดสร้างสรรค์ไปเลยก็ได้




คำสำคัญ (Tags): #คิดสร้างสรรค์
หมายเลขบันทึก: 537192เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท