คณะเกษตรฯมข.ปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน(RBL)


คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อบรม การส่งเสริมการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน(RBL)ในกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมให้แก่คณาจารย์ เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

                                                 

        เมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2556 สาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การส่งเสริมจัดการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research Based Learning, RBL) ในชั้นเรียนที่มีผู้เรียนจำนวนมากและคณาจารย์ร่วมสอนแบบ team teaching ให้แก่บุคลากรสายผู้สอนของสาขาวิชา ณ ห้องประชุม 1 สาขาพืชไร่ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
        ในการอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์สาขาพืชไร่ มีการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL) ในกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในรายวิชาบังคับของสาขาพืชไร่ที่มีนักศึกษาและอาจารย์ผู้ร่วมสอนจำนวนมาก โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรึกษาหารือของคณาจารย์ผู้สอน เรื่องการปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้นักศึกษาได้มีทักษะในการเรียนรู้ด้านการวิจัยที่เน้นการพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ด้านการวิจัยที่จัดเป็นระดับสูงกว่าการสืบค้นข้อมูล รวบรวม และนำเสนอดังที่เคยปฏิบัติ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
        การจัดการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน เป็นรูปแบบหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Center) ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน ในการพัฒนาคุณภาพและศักยภาพของผู้เรียน และสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดหลักสูตรฝึกอบรม การจัดการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และสร้างประสบการณ์ให้แก่บุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัย มาแล้วเป็นจำนวน 5 รุ่น ซึ่งมีคณาจารย์ของคณะเกษตรศาสตร์ จำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมฝึกอบรม และได้มีการขยายผลไปยังบุคลากรสายผู้สอนอื่น ๆ ของคณะเกษตรศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง
        สาขาพืชไร่ ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรในระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 4 หลักสูตร เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (ThaiQualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd) ซึ่งสาขาพืชไร่ ได้นำหลักสูตรทั้งหมดมาใช้ ตั้งแต่ภาคต้น ปีการศึกษา 2555 ที่ผ่านมา ดังนั้น การนำการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การวิจัยเป็นฐานมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และการเรียนรู้ของนักศึกษาในหลักสูตรปรับปรุงใหม่ของสาขาพืชไร่ จึงอาจเป็นแนวทางหนึ่ง ที่จะส่งเสริมให้นักศึกษามีผลการเรียนรู้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา ที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตร มีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

        สุนันท์ เชื้อชาวนา ข้อมูลข่าว/ภาพ
        กิตติศักดิ์ สิงหา วิเคราะห์ สังเคราะห์และเผยแพร่

หมายเลขบันทึก: 536820เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 21:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 21:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

โรงเรียนใช้ PBL ค่ะ เหมือนเด็กกลุ่มฮักนะเชียงยืน กำลังใช้ปัญหาจากชุมชน เป็นฐานในการสร้างองค์ความรู้

PBL ในโรงเรียนจะประสบผลสำเร็จมากถ้าทุกภาคส่วนร่วมมือกัน (แม้แต่ อบต.) ตัวอย่างเด็กกลุ่มนี้ ส่วนราชการบางส่วนไม่ตระหนัก

ขอบ่นอย่างน้อยใจว่าเคยติดต่อที่ภาคปฐพี ที่ มข. แล้วแต่กลับถูกโยน ไปหน่วยนั้น หน่วยนี้ ท้ายสุดกลับมาที่ ส่วนแรก 

เด็กๆ ก็บ่นน้อยใจ แต่เขาถือว่า ปัญหามีไว้ชน

ขออภัย ที่มีเวทีได้บ่น...ฮา

      ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท