ตัวตนของ "ความขี้เกียจ"


ความขี้เกียจ คือ อาการของคนที่ต้องทำเรื่องที่เห็นว่าสำคัญและไม่เป็นไปตามธรรมชาติที่เคยทำและเคยประพฤติปฎิบัติ เกิดจากความฝืนใจของตนเอง และไม่สามารถทนต่อแรงฝืนนั้นได้ เช่น ทุก ๆ วันเรานอน 3 ทุ่ม
แต่วันนี้เราต้องทำการบ้าน เราทนที่จะอดนอนไม่ไหวเพื่อทำการบ้านและเราเลือกที่จะนอน อย่างนี้เรียกว่าขี้เกียจ

ความขี้เกียจอาจเกิดขึ้นได้ใน 2 กรณี คือ เราเห็นว่าตัวเราขี้เกียจหรือคนอื่นเห็นว่าเราขี้เกียจ ทั้งสองอย่างอาจเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้

ความขี้เกียจอาจแยกได้เป็น 2 ประเด็น คือ 1) เราจำเป็นต้องทำเรื่องนั้นจริง ๆ แต่เราเลือกที่จะไม่ทำและไปทำอย่างอื่นแทน และ 2) เพราะว่าเราต้องทำเรื่องที่ฝืนธรรมชาติของตัวเรามากเกินไปจึงเกิดอาการขี้เกียจ

การที่เห็นว่าตนเองเป็นคนขี้เกียจ อาจให้ความหมายในมุมของการไม่เห็นคุณค่าของตนเอง บางครั้งเราทำอะไรที่มีคุณค่ามากมาย แต่เมื่อเราไม่ได้ทำอะไรบางอย่างที่ควรทำในบางครั้งก็คิดว่าเราขี้เกียจ

วิธีที่จะทำให้ความขี้เกียจลดน้อยลงไป อาจทำได้ 2 วิธี ได้แก่ 1) กลับไปทำเรื่องนั้นซ่ะเพราะมันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และสมควรทำ นี่เป็นวิธีคิดในรูปแบบเดิม ๆ และ 2) คิดว่าทุกเรื่องที่เราทำมีความสำคัญเท่ากันหมด
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทำ ณ ปัจจุบัน มีความหมายและมีความสำคัญ ความขี้เกียจจึงไม่ปรากฏในจิตใจ

หลายครั้งคนเราต้องทำอะไรมากเกินไปและเมื่อเราไม่ได้ทำก็อาจถูกคิดว่า “ขี้เกียจ” แต่หากเราไม่ทำอะไรมากเกินไป “ความขี้เกียจ” อาจลดน้อยลง ความขี้เกียจเป็นผลมาจาก “ความคาดหวัง” เมื่อไม่ได้ตามคาดหวัง ก็อาจถูกตีค่าว่า “ขี้เกียจ” หากเราไม่ยึดอะไรจนมากเกินไปและปล่อยไปตามธรรมชาติบ้าง ความขี้เกียจก็อาจลดน้อยลงไป นี่เป็นวิธีการลดความรู้สึกที่ถูกเรียกว่าขี้เกียจ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากบทสนทนา

1) เราอย่าขี้เกียจเพราะความขี้เกียจไม่ไดสร้างคุณค่าแก่ตัวเรา

2) เราควรใช้วิจารนญาณว่าแท้จริงแล้วเราขี้เกียจจริงหรือไม่

3) การคิดว่าเราขี้เกียจอาจเป็นการลดค่าของตนเองและเห็นว่าตนเองไม่มีค่า

4) ความขี้เกียจเป็นเพียงอาการของความรู้สึก เป็นสิ่งสมมติหากเราไม่รู้สึกว่าเราขี้เกียจความขี้เกียจก็ไม่มี


ความรู้ต่อยอดจากการสนทนา

ทำให้เข้าใจกฎของ Boom’s Taxonomy มากขึ้นว่า ความรู้แต่ละขั้นคืออะไรและองค์ความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร การสนทนาช่วงแรกเป็นการสร้างความเข้าใจเรื่อง ความขี้เกียจ ซึ่งได้นิยามความหมายของคำว่าขี้เกียจขึ้นทำให้เรา เข้าใจคำว่าขี้เกียจอย่างถ่องแท้ แต่เดิมเราแค่รู้ แค่จำแต่อาจยังไม่เข้าใจ การสนทนาช่วงที่สอง เป็นการวิเคราะห์ความขี้เกียจในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อให้เห็นสาเหตุของการขี้เกียจมากขึ้น การสนทนาช่วงต่อไปเป็นการสังเคราะห์ว่า
ความขี้เกียจเกิดจากอะไร การสนทนาช่วงสุดท้ายเป็นการหาวิธีปฏิบัติ(นำไปใช้)ว่าถ้าเราจะทำให้ความขี้เกียจลดลงสามารถทำอย่างไรได้บ้าง จากการสนทนานี้ทำให้เห็นคุณค่า(ประเมินผล) ว่า เราควรกำจัดความขี้เกียจออกไปเพราะมันไม่มีประโยชน์ต่อการดำรงค์ชีวิตของมนุษย์

นอกจากนั้นแล้วภายหลังจากการสนทนายังสามารถสรุปเป็นความรู้เรื่องการขี้เกียจได้อีก 4 ประเด็น ทำให้เข้าใจว่า ในการเรียนรู้หนึ่งครั้ง เราสามารถบรรลุหลักของ Boom’s ได้ทั้ง 6 ข้อ และเราควรทำให้บรรลุในการสอนแต่ละครั้ง เพราะจะทำให้เกิดองค์ความรู้ที่แท้จริง กับผู้เรียน


(ที่มา : การสนทนาในรถตู้ระหว่างเดินทาง อ.สุรพล ธรรมร่มดี/อ.เอกรัตน์ รวยรวย/อ.โชติกา วิริยะรัตนศักดิ์)






หมายเลขบันทึก: 536768เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 14:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2013 14:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท