รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์)
รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น(อิงจันทร์) ครูตาล วงษ์ชื่น

หนังสือเล่มจิ๋ว...ของหนูแจ๋ว



"ครูตาลขา หนูอยากทำหนังสือเล่มจิ๋วแบบพี่ ๆ บ้างได้มั้ยคะ"  นักเรียนหญิงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ออดอ้อนในต้นชัวโมงวิชาภาษาไทย

"จะทำหนังสือเล่มจิ๋ว เรืองอะไรกันหล่ะคะ สาวน้อย" เจอคำถามนี้เด็ก ๆ ทำท่าคิด เอียงคอไปมา สักครู่ก็บอกว่า

"เรื่องต้นไม้ค่ะ ครู"  ต้นไม้ในโรงเีรียนของเรา   ต้นไม้ที่หนูรู้จัก  ต้นไม้ของฉัน  เด็ก ช่วยกันเสนอ เป็นชื่อหนังสือ

"ไปเอาแฟัมมาดูก็ได้ค่ะครู" เด็ก ๆ หมายถึง แฟ้มภาพพฤษศาสตร์ในโรงเรียน  ที่โครงการโลกสวยด้วยมือเรา ได้จัดรูปภาพรวมไว้  เป็นแฟ้มภาพต้นไม้ในโรงเรียน และมีข้อความอธิบายรายละเอียดไว้พอสมควร

"ได้มั้ยคะครู...นะคะครู"  สาวน้อยยังคงอ้อน

"ได้สิคะ...แต่มีข้อแม้ว่า  นักเรียนจะต้องเรียนวิชาภาษาไทยของครูให้จบก่อน  ถ้าตั้งใจเรียน ตั้งใจทำใบงาน ภาระงานเสร็จเร็ว ก็จะได้ทำหนังสือเล่มจิ่วเร็วขึ้น Understand (เข้าใจไหม..........)

"ดีค่ะ  Very good ค่ะ Understand แล้วค่ะ"  เด็ก ๆ พูดภาษาอังกฤษปนภาษาไท(เป็นการฝึกภาษาอังกฤษง่าย ๆ ตามนโยบาย การเข้าสู่สมาคมอาเซี่ยน ถ้าเป็นสมัยก่อน ครูภาษาไทยรับไม่ได้แน่เลย)

เด็ก ๆ ตั้งใจเรียนตั้งใจทำงานในที่สุด 20 นาที ท้ายชั่วโมงเรียน เด็ก ๆ จึงได้ฝึกทำหนังสือเล่มจิ๋ว โดยการสอนของรุ่นพี่ ป.5  ซึ่งมีขั้นตอนการทำดังนี้ 


1. ใช้กระดาษเอ 4 สีขาว 1 แผ่น พับครึ่งให้ขอบกระดาษทับกันจนสนิทใช้นิ้วกรีดให้เป็นรอยพับที่ชัดเจน(เป็น 2 ส่วน)

2. พลิกกระดาษให้รอยพับอยู่ด้านขวามือ พับอีกครั้งให้ขอบกระดาษทับกันสนิทกรีดให้เรียบ(เป็น 4 ส่วน)

3.พับอีกครั้งจนได้กระดาษเป็น 8 ส่วนซ้อนกัน ขนาดเท่า ๆ กัน กรีดให้กระดาษเรียบที่สุด

4.คลี่กระดาษออกมา เพียง 4 ส่วน(ครึ่งหน้ากระดาษ ไม่ใช่คลี่ทั้งหน้ากระดาษ)

5.ใช้กรรไกรตัดกระดาษเพียงครึ่งเดียว(ถึงกึ่งกลางกระดาษ)

6. คลี่ออกมาพับให้ซ้อนกัน ก็จะได้สมุดเล่มจิ๋ว ขนาด 8 หน้ากระดาษ รวมปกหน้าปกหลัง 



หนังสือเล่มจิ่ว เป็นหนังสือที่เด็กเล็ก ๆ ชอบทำมากค่ะ เพราะทำง่าย เหมาะสมกับเรื่องราวเล็ก ๆ ของเด็กเล็ก ๆ  ไม่ยุ่งยากซับซ้อน  เด็ก ๆ ไม่ค่อยเบื่อ เพราะเป็นหนังสือหน้าเล็ก ๆ ที่เขาทำเสร็จเร็ว  ได้ฝึกวาดภาพ ฝึกการระบายสี  

หนังสือเล่มจิ๋วที่เด็ก ๆ ทำ ส่วนใหญ่ครูอิงก็จะคืนเด็ก ๆ แต่ก็จะเลือกเก็บไว้เป็นบางส่วนเพื่อเป็นสือการสอนให้รุ่นน้อง ๆ ในเรื่องของการวิพากษ์ผลงาน ดังนั้นจึงเลือกทั้งที่ดีเยี่ยม  และที่มีข้อบกพร่องเยอะ  เด็ก ๆ ก็จะได้ช่วยกันวิพากษ์ว่า ที่ดีนั้น ดีอย่างไร ที่ไม่ดีนั้นไม่ดีตรงไหน  จะแก้ไขปรับปรุงได้อย่างไรบ้าง  การเก็บก็จะนำมาติดที่กระดาษเอ 4 ซึ่งกระดาษเอ 4   หนึ่งแผ่นสามารถเก็บหนังสือเล่มจิ๋วได้ 4 เล่ม  นำไปเก็บไว้ในแฟ้มสอดอีกทีหนึ่ง รอเวลาที่จะนำมาใช้เป็นสื่อการสอนรุ่นน้อง ๆ ต่อไปค่ะ


หมายเลขบันทึก: 536671เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2013 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2013 07:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณครับพี่..ถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์ดีๆเสมอมาครับ..

สวัสดีค่ะ ...คุณอิงจันทร์ ...ถ้าในห้องมีกล่องใส่เศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เช่นกระดุม ลูกปัด เศษผ้า เศษกระดาษสี หลอดกาแฟสี ฯลฯ เด็กๆสามารถเอามาตกแต่งหนังสือได้นะคะ...

กิจกรรมนี้เด็กๆ ชอบมากค่ะ

เป็นการเพิ่มพูนนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กๆ ได้อย่างน่าสนใจเลยนะครับ

ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท