ปัญหาธุรกิจส่งออกผลไ้ม้กระป๋อง


ศึกษาถึงปัญหาของการทำธุรกิจส่งออกผลไม้กระป๋อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในเรื่องวัตถุดิบ, การผลิต, การตลาดและการกีดกันทางการค้า

ปัญหาที่พบจากการทำธุรกิจส่งออกผลไม้กระป๋อง มีดังต่อไปนี้

I. วัตถุดิบ

1. คุณภาพไม่มีความสม่ำเสมอ , ปัญหาสารเคมีตกค้าง ในพืช ผลการเกษตร

2.   ข้อมูลพื้นฐาน(ปริมาณผล ผลิต) ไม่มีความชัดเจนไม่สามารถวางแผน การผลิตระยะยาวได้

3.  การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ยังไม่พัฒนา ทำให้ คุณภาพของวัตถุดิบจากไร่ ไปสู่โรงงานแปรรูป ตกต่ำลง 

4. การใช้เทคนิคการตัดต่อยีน ยังไม่มีความชัดเจน กล่าวคือ ผู้ผลิตสินค้าเกษตรแปรรูป อาจเข้าไปมี ส่วนเกี่ยวข้อง กับ GMOs โดยไม่รู้ตัว

 II. การผลิต 

1. โครงสร้างผู้ประกอบการผลิต สินค้า มีโรงงาน ขนาดเล็ก จำนวนมาก ที่ไม่ได้ผลิต สินค้าตาม มาตรฐาน ภายใน ประเทศ และไม่ได้รับการ ควบคุมหรือรับรองจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

2. คุณภาพและราคา Tin Plate

·         ภาชนะที่ใช้ (Tin Plate) บรรจุเพื่อ การส่งออก อาศัย เพียงผู้ผลิต 2 บริษัท โดยมีญี่ปุ่น ให้การสนับสนุน 

·         ปัญหาคุณภาพของ แผ่นเหล็ก ที่ใช้ ผลิตกระป๋อง เช่น ทำให้อาหารมี การ เปลี่ยนแปลง อายุ การเก็บสั้นลง กระป๋องดำง่าย และ พบ Pin Hole เป็นต้น

3. การยกเลิกการจำหน่าย น้ำตาลทรายราคาพิเศษ ให้ แก่ผู้ผลิตเพื่อการส่งออก

4. ประกาศกฏกระทรวง เรื่อง น้ำบาดาล ไม่ครอบคลุมโรง งานอุตสาหกรรม ที่ใช้ วัตถุ ดิบจากผลผลิตเกษตร 5.       อัตราค่าระวางเรือ ของสินค้า มีราคาสูง ·         อเมริกา แคนาดา จากอัตราเดิม 1,200-1,600 USD/ตู้ จะเพิ่มขึ้น อีก 700 USD/ตู้สั้น และ 900 USD/ตู้ ยาว ·         ญี่ปุ่น จากอัตราเดิม 600 USD/ตู้ จะเพิ่มขึ้นอีก 200 USD 

III. การตลาด

1. สินค้า (รายการที่ 4-6) ไม่ เป็นที่รู้จัก ในตลาด อย่างกว้างขวาง หากจะแบ่ง ตลาดออกเป็น 5 ตลาดหลัก จะมีปัญหาต่างกันดังนี

  • ตลาดเอเซีย รู้จัก และเป็นที่นิยม รายการ 4-8
  • ตลาดอเมริกา รู้จัก แต่ข้าวโพดอ่อน และหน่อไม้ ส่วน ลำไย ลิ้นจี่ และเงาะ ไม่เป็นที่รู้จักแพร ่หลาย
  • ตลาดยุโรป (เหมือน ตลาดอเมริกา)
  • ตลาดอเมริกาใต้ สินค้ารายการที่4-8 ไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย 
  • ตลาดยุโรปตะวัน ออก (เหมือนตลาด อเมริกาใต้)

2. ขาดข่าวสาร ฐานข้อมูลการ ตลาดของประเทศ คู่แข่ง 

3.  การส่งเสริมการตลาดของ ภาครัฐ ยังไม่ตรงกับ ความ ต้องการเอกชน 

4. ปัญหาการตัดราคาสินค้ากัน เอง ระหว่างผู้ผลิต

5. การจัด EXIBITION และการ ไปงานแสดงสินค้า จะเป็น ลักษณะแข่งกันขายเอง และ เน้นเป้า หมายการขาย มากกว่าการทำการตลาด 

6. ผู้ส่งออกไม่เห็นแนวโน้ม ของตลาดอย่างชัดเจน

7. ปัญหา GSP : ไทยได้รับผล กระทบ จากการที ่ยุโรปตัด สิทธิ GSP 100% ทำให้ต้อง รับภาระภาษี สูงกว่าประเทศ คู่แข่ง

 IV. การกีดกันทางการค้า 

1.  ข้อกำหนดคุณภาพ และ มาตรฐานสินค้านำเข้า ที่เข้ม งวด โดยเฉพาะด้าน สุขอนามัย ความ ปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมฯ

2. มาตรฐานของประเทศผู้นำ เข้า ที่กำหนดไว้ เข้มงวดกว่า มาตรฐานของ Codex เช่นข้อ กำหนดปริมาณดีบุก ของ Codex อยู่ที่ 250 ppm. แต่ อังกฤษกำหนด 200 ppm. สวีเดน 150 ppm. และ ฟินแลนด์ 100 ppm

V. ปัญหาอื่นๆ

1. ปัญหาเงินทุนหมุนเวียน และสภาพคล่อง

2. ปัญหาขาดแคลนแรงงานใน ภาคเกษตรกรรม และในไร ่เพาะปลูก

3. การคืนภาษี VAT ล่าช้า 

4. ปัญหาโครงสร้างการบริหาร ของภาครัฐ และ เอกชน : หน่วยงานของรัฐแต่ละหน่วย งาน มี นโยบาย และกำหนด แผนงาน โดยต่างฝ่าย ต่าง ทำ มิได้มีการประสานกัน ทำ ให้เกิดงาน ซ้ำซ้อน

5. การบริหารงาน ในหน่วยงาน เดียวกัน ยังไม่มี ความต่อ เนื่อง มิได้ใช้ข้อมูลเดิม มา พิจารณา ทบทวน เช่นปัญหา สุขอนามัย และแผนการ ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เป็นต้น ภาค เอกชนจึงต้อง ใช้เวลามาก ในการเข้าร่วม ประชุม แก้ไขปัญหาต่างๆ จน ไม่มีเวลา สามารถเพิ่มยอด การส่งออกได้ 

6. นโยบายส่งเสริม SME ยังไม่ ถูกทาง เป็นเพียง เพื่อการ สร้างโรงงานขนาดเล็ก แต่มิ ได้สนับสนุนการส่งออก เช่น กรณีอุตสาหกรรม อาหาร ก่อ ให้เกิดโรงงานขนาดเล็ก จำนวนมาก เพื่อการแข่งขัน โดยขาดการควบคุมดูแล การจัดการอย่างถูกต้อง และ เหมาะสม

ข้อมูลอ้างอิงจาก : Problem of canned  vegetables and canned fruit Industries : กรมส่งเสริมการส่งออก

หมายเลขบันทึก: 53644เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2006 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท