ปศพพ_3


การประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

       จากการตั้งคำถามในการประชุมเชิงปฏิบัติครั้งนี้ว่าท่านมีจุดมุ่งหมายอะไร ส่วนมากก็ต้องการรู้และเข้าใจ สามารนำความรู้เกี่ยวกับ ปศพพ.ลงสู่การปฏิบัติจริง พวกเราได้ดำเนินกิจกรรมดังนี้

1.จากกิจกรรมละลายพฤติกรรมครูด้วยกิจกรรมต้นพอเพียง (อ.ต๋อย ครูเพ็ญศรี)

มีจุดมุ่งหมายเพื่อ

1. ครูได้กระบวนการละลายพฤติกรรมที่นำไปใช้ในกิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน

2. ครูเปิดใจพร้อมรับการขับเคลื่อน ปศพพ.

3. กระตุ้นแรงบันดาลใจ ความไว้วางใจกันและกันสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับปศพพ.

การดำเนินกิจกรรมดังนี้

1. ครูหยิบดอกไม้คนละดอก

2. ครูเดินรอบห้องประชุม โดยไม่กำหนดทิศทาง แล้วนำดอกไม้ให้คนที่อยู่ตรงหน้า พร้อมเล่าเรื่องที่ประทับใจ ในเจ็ดวันที่ผ่านมา คนละ 2 นาที

3. ครูเดินรอบห้องประชุม ครั้งที่ 2 โดยไม่กำหนดทิศทาง แล้วนำดอกไม้ให้คนที่อยู่ตรงหน้า พร้อมเล่าเรื่องที่ประทับใจ ในหนึ่งเดือนที่ผ่านมา คนละ 2 นาที

4. ครูเดินรอบห้องประชุม ครั้งที่ 3 โดยไม่กำหนดทิศทาง แล้วนำดอกไม้ให้คนที่อยู่ตรงหน้า พร้อมเล่าเรื่องที่ประทับใจ ในช่วงที่เป็นเด็ก คนละ 2 นาที

5. ครูเข้าวง แล้วนำดอกไม้ประดับแจเป็นแจกัน

4. ชวนคุยประเด็นภาพความสวยงามของแจกันกับศูนย์การเรียนรู้พอเพียง จากการเลือกดอกไม้และการจัดตบแต่งแจกันดอกไม้


2 ทบทวนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา (อ.ต๋อย)

มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ทบทวนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปศพพ. ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

การดำเนินกิจกรรม แจกข้อความ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปศพพ. คนละแผ่น แล้วชวนครูวิพากษ์


3.ร่วมสร้างวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (โดยรองธีระพงษ์ นามเชียงใต้ และคณะ)

มีจุดมุ่งหมายเพื่อ

       1. ให้ครูเห็นคุณค่าในตนเอง (Core Value)

       2. ให้ครูมีส่วนร่วมในการสร้างวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อน ปศพพ.

การดำเนินกิจกรรมดังนี้

       1.นั่งสมาธิ นึกความความฝันความประทับใจเมื่อเด็ก ครูจับคู่เล่าเรื่อง 1)แรงบันดาลใจตอนเด็ก 2)ทำไมถึงเป็นครู 3)แรงบันดาลใจที่ฝันไว้ยังเหลืออยู่ หรือไม่ 4)ภาพอนาคต 10 ปีข้างหน้า 5)ภาพอนาคตของครอบครัวและญาติ 6)ภาพอนาคตของชุมชนเป็นอย่างไร (คนละ 3 นาที เป็นการดึงคุณค่า(Core Value)ของครูออกมา)

        2. ชวนคุยให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของโลก และแนวโน้ม( Trends) ที่จะเกิดขึ้นใน 10 ปี ข้างหน้า ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอนจัดเป็น Hard Trends และที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ก็ได้จัดเป็น Soft Trends

        3. จับกลุ่มตามระดับชั้น (แจกกระดาษกรุ๊ป กล่องสี) ภายใต้คำถาม

               1. บอกแนวโน้ม Hard Trends มา 6 trend

                2. บอกแนวโน้ม Soft Trends มา 6 trend

        4. จับกลุ่มตามระดับชั้น (แจกกระดาษกรุ๊ป กล่องสี) ภายใต้คำถาม

               1. Core Value ของท่านคืออะไร ทำไมต้องยึดมัน(เขียนในกระดาษ เอ 4 ก่อน)

                2. ภาพในชุมชนเป็นอย่างไร Visionภาพอนาคตชุมชนที่เราปรารถนา ชุมชนที่อยู่รอบๆโรงเรียนที่มีความสัมพันธ์กับโรงเรียน

                3. ภาพอนาคตของโรงเรียนที่เป็นศูนย์เรียนรู้ เป็นอย่างไร ห้องน้ำ ห้องเรียน สนาม ความสัมพันธ์ของครูกับครู ของครูกับนักเรียน กับผู้อำนวยการ กับภารโรงเป็นอย่างไร

       5. นำเสนอวางวิสัยทัศน์ของแต่ละระดับ

        6. นำHard Trends หรือ Soft Trends ที่สำคัญที่สุด ของแต่ละระดับมาร่วมหลอมเป็นวิสัยทัศน์ในการขับเคลื่อน ปศพพ. ของโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม


4 ดูหนังจิโระ เทพจู้ชูชิ เพื่อสร้างแรงบรรดาลใจให้กับคุณครู (ฮามากเลย เราเปิดให้ดูช่วง12.20-13.10 ต้องปิดเพราะเวลาจำกัดมาก...เสียดาย)

5.ชวนคุยและปรับปรุงภาพการขับเคลื่อน ปศพพ. ใน Model 3 PBL_CHK

6.นำเสนอแรงบันดาลใจของครูทั้งโรงเรียน (จากแบบสอบถาม)เพื่อสร้างแรงบันดาลใจใหกับคณะครูและ

เปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตร กับของครู (เพื่อไม่ให้ครูหนักใจในการทำงาน)   

7.ร่วมสร้างหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้โดย ผอ.สุพจน์ ซาเหลา และคณะครูจากโรงเรียนโพนทองวิทยายน

 

ผล

     ด้านปริมาณ เกินเป้าที่เราตั้งไว้ เพราะเราตั้งไว้ไว้แค่50 แต่ครูเข้าร่วม ด้วยความสมัครใจ 60

      ด้านคุณภาพ ได้ตามเป้าหมาย แต่ช่วงสร้างหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ เวลากระชับมากแต่ครูก็ได้แนวทางการปฎิบัติ  ต่อไปคงนิเทศติดตาม

ขอบคุณทีมโพนทองมา ณ ที่ด้วย เพราะท่าน ผอ.สุพจน์ ซาเหลา ยกทีมโรงเรียนมาช่วยเหลือพวกเราอย่างกัลยาณมิตร


หมายเลขบันทึก: 535959เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 05:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เวลาร่วมกิจกรรมละลายพฤติกรรม ครูก็ไม่ต่างกับเด็กนักเรียน ดีใจที่กิจกรรมครั้งนี้ประสบผลสำเร็จนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท