สรุป ถอดเนื้อหาจากการบรรยาย โดย ผศ.ดร. ปราโมทย์ เบญจกาญจณ์


ปรัชญาและปรัชญาการศึกษา
(Philosophy and Educational Philosophy)

ความหมายตามคำศัพท์
ปรัชญา  = ปร (ประเสริฐ) + ชญา (ความรู้) = ความรู้อันประเสริฐ


ความหมายตามนัย

1.ปรัชญา คือระบบแห่งหลักคิดของมนุษย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ณ สมัยใดสมัยหนึ่ง  และเปลี่ยนแปลงไปได้ตามความเป็นอยู่ของมนุษย์ตามกาลสมัยนั้นๆ (Aristotle)

2.ปรัชญา  เป็นเรื่องฝึกการวิพากษ์วิจารณ์  เพื่อความกระจ่างชัด  โดยรู้จักใช้หลักแห่งเหตุผล (ส.ศิวรักษ์)


ความสำคัญของปรัชญา

1.วาดภาพรวมที่จะเชื่อมโยงประสบการณ์ทั้งมวลของมนุษย์ให้เห็นความเกี่ยวพันระหว่างความรู้ทั้งหลาย
2.ช่วยในการแสวงหาคุณธรรม
3.วิพากษ์และวิเคราะห์มูลบทของศาสตร์ต่างๆได้
4.เรียนรู้ปรัชญา เพื่อรู้ 3 อย่าง

       • เพื่อรู้จักปัญหาที่ยังเป็นปัญหา

       • เพื่อรู้คำตอบทุกคำตอบที่เป็นไปได้

       •เพื่อรู้จักเก็บส่วนดีจากทุกคำตอบมาเป็นหลักยึดเหนี่ยวของตน  (กีรติ  บุญเจือ)


กลุ่มปรัชญาทั่วไป
1.ปรัชญาจิตนิยม (Idealism)
2.ปรัชญาวัตถุนิยม (Realism)
3.ปรัชญาเทวะนิยมใหม่ (Neo-Thomism)
4.ปรัชญาประสบการณ์นิยมหรือปฏิบัตินิยม (Experimenralism or Pragmatism)
5.ปรัชญาอัตถิภาวนิยม (Existentialism)
6.ปรัชญาที่ยึดปรัชญาของศาสนาต่างๆ (Religionism)


คำถามหลักของปรัชญา

1.อะไรคือความจริงที่จริงที่สุด (อภิปรัชญา:Metaphysics) ใจ
2.มนุษย์รู้ได้อย่างไร (ญาณวิทยา:Epistemology) ศึกษาเล่าเรียน ทดลอง ศาสนา สัญฌาณ(รู้ได้เองโดยฌาณ)
3.ความดี ความชั่ว ความงาม ความสุนทรียะเป็นอย่างไร (คุณวิทยา:Axiology)


ปรัชญาการศึกษา (Educational Philosophy)

ความหมาย : ปรัชญาการศึกษา  คือแนวคิดที่อาศัยข้อเท็จจริงต่างๆทางการศึกษาเพื่อนำมาประกอบการพิจารณา  โดยพิจารณาปัญหาขั้นพื้นฐาน  คือ

1.ลักษณะของชีวิตที่พึงปรารถนา  เป็นเช่นไร
2.ธรรมชาติของมนุษย์นั้น  เป็นเช่นไร
3.สภาพสังคม  เป็นเช่นไร
4.สัจจธรรม หรือปรมัตถธรรมมีหรือไม่ (ส.ศิวรักษ์)


ปรัชญาการศึกษา

1.ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) * ได้รับอิทธิพลจากปรัชญา Idealism และRealism

อิทธิพลจาก Idealism 

•  มีความเชื่อว่าการศึกษาคือเครื่องมือในการสืบทอดมรดกทางสังคม  ซึ่งคือวัฒนธรรมและอุดมการณ์ทั้งหลาย  อันเป็นแก่นสาระสำคัญ(Essence) ของสังคมให้ดำรงอยู่ต่อๆไป

• หลักสูตรควรประกอบด้วย  ความรู้  ทักษะ  ค่านิยมและวัฒนธรรม

• การจัดการเรียนการสอน  จะเน้นบทบาทของครูในการถ่ายทอดความรู้และสาระต่างๆ  ผู้เรียนอยู่ในฐานะผู้รับสืบทอดมรดกทางสังคม  ต้องอยู่ในระเบียบวินัยและพยายามเรียนรู้สิ่งที่ครูถ่ายทอดให้อย่างตั้งใจ

อิทธิพลจาก Realism

• การศึกษาเป็นเครื่องมือการถ่ายทอดความรู้และความจริงทางธรรมชาติ

• หลักสูตรควรประกอบด้วย  ความรู้  ความจริง  และการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติต่างๆ

• การจัดการเรียนการสอน เน้นการให้ผู้เรียนแสวงหาข้อมูล  ข้อเท็จจริง และการสรุปกฎเกณฑ์จากข้อมูลข้อเท็จจริงเหล่านั้น



2.ปรัชญาสัจจนิยม/นิรันตรนิยม (Perennialism)

       • เชื่อว่าโลกนี้มีบางสิ่งมีคุณค่า  คงที่  ถาวร  ไม่เปลี่ยนแปลง

       • เชื่อว่าคนมีธรรมชาติเหมือนกันทุกคน  ดังนั้นการศึกษาจึงควรเป็นระบบเดียวกันสำหรับทุกคน

       • การศึกษาควรเป็นการพัฒนาความมีเหตุผล และการใช้เหตุผล

       • การศึกษาเป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต

       • การเรียนการสอน  เน้นการสอนให้ผู้เรียนจดจำใช้เหตุผล และตั้งใจกระทำสิ่งต่างๆ

       • การสอนใช้การบรรยายและซักถามเป็นหลัก


(.....ข้อมูลจาก Source อื่น.....)

2.ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม (Perennialism)

นิรันตรนิยม (Perennialism)

  คำว่า “นิรันตร” หรือ Perennial หมายถึง  สิ่งที่คงที่ ถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดรปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม เชื่อว่าการศึกษาควรจะได้สอนสิ่งซึ่งเป็นนิรันดรไม่เปลี่ยนแปลง มีคุณค่าไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด ได้แก่ คุณค่าของเหตุผลและคุณค่าของศาสนา อันเป็นหลักสำคัญของปรัชญานิรันตรนิยม 

ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม

แบ่งแนวการศึกษาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

1.  ลักษณะของปรัชญาทั่วไปที่เน้นหนักในเรื่องของเหตุผล สติปัญญา ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาโดยตรง

2.  ลักษณะของปรัชญาทั่วไปที่เกี่ยวพันกับศาสนาโดยตรง เป็นแนวคิดของกลุ่มศาสนานิกาย

   คาธอลิค ที่สัมพันธ์เรื่องศาสนาเข้ากับเหตุผล

ความเป็นมา

  ปรัชญาการศึกษานิรันตรนิยม   ได้รับอิทธิพลจากปรัชญาพื้นฐานกลุ่มวัตถุนิยมเชิงเหตุผล (Rational Realism) หรือบางที่เรียกกันว่าเป็นพวกโทมัสนิยมใหม่ (Neo – Thomism) 

(.....สิ้นสุดข้อมูลจาก Source อื่น.....)


3. ปรัชญาพิพัฒนนิยม/พิพัฒนาการ (Progressivism)

       • มาจากปรัชญา Pragmatism

       • เป็นแนวคิดของ Charles S.Pierceได้รับการเผยแพร่โดย William James นำมาใช้ทางการศึกษาอย่างกว้างขวางโดย John Dewey

       • ให้ความสนใจอย่างมากต่อการปฏิบัติ หรือลงมือกระทำ (Learning by Doing)

       • การนำความคิดไปสู่การปฏิบัติ

       • เน้นความสำคัญของประชาธิปไตย  จริยธรรม  ศาสนาและศิลปะ


หมายเลขบันทึก: 535654เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 21:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2013 22:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มาร่วมกตัญญู ผศ.ดร.ปราโมทย์ อาจารย์ที่ดิฉันเคารพรักมากๆ เช่นกันค่ะท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท