เมื่อแพทย์ กลัวสมุนไพร ยิ่งกว่า ยา ต้านวัณโรค ส่วนผมกลัว ยา ต้านวัณโรค ไม่กลัวสมุนไพร


มีผป สูงอายุ  ทานยาต้านวัณโรค แล้ว มีอาการแพ้ยารุนแรง มีผลต่อตับของผป .

จึงมีการหยุดใช้ยา แล้ว ค่อยๆปรับขนาด และ ขนานยาใหม่

แพทย์ได้นัดผป   มาพักใน รพ. และ ปรับยา ทีละน้อย และ ตรวจเลือดเป็นระยะ

ได้มีการแนะนำ ให้ใช้สมุนไพร บรรเทาปัญหาการเกิดพิษ หรือผลข้างเคียง จากยาต้านวัณโรค

ปรากฏ แพทย์เจ้าของรีบปฏิเสธทันที  เรื่องของการใช้สมุนไพรในผป. วัณโรค ที่เกิดผลแทรกซ้อนต่อตับ


เภสัชกร ก็แนะำำเรื่องการปรับยาต้านวัณโรค ให้    แพทย์ ก็ปรับยาต้านวัณโรคใหม่

จึงน่าท้าทาย วงการแพทย์ และเภสัชกร สมัยใหม่ ว่า   เรามีสูตรการทะยอยปรับยา  เป็นมาตรฐาน ซึ่งทำกันมานาน 


และ โรงเรียนแพทย์ และ โรงเรียนเภสัชกร  และ วงการรักษา วัณโรค ไทย เมื่อไร จะมีมุมมอง แนวคิด อืนว่า 

เิกิดพิษจากยาต้านวัณโรค สามารถใช้สมุนไพร แก้ปัญหาได้


เข้าใจว่า ต้องให้ ตำราวัณโรค อเมริกา เขียนยอมรับเสียก่อน  วงการ แพทย์เภสัชกรไทย จึงจะยอมเชื่อกัน

ค้นให้พบ จบด้วยหาย  ตายด้วยกว่า ห้า(เปอร์เซ็นต์)   ขาดยาศูนย์๖เปอร์เซ็นต์)  ก็ยังคงฝัน  เพราะไม่มีนวัตกรรมสร้างสรรค์ ง่ายและได้ผล ในการแก้ปัญหา ทนยาไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ


พ่อผม เคยป่วยวัณโรค ตอนอายุมาก 2 ครั้ง   ทานยาต้าน วัณโรค กับ สมุนไพรบำรุงสุขภาพ  คนละตัวกับที่ผม ใช้กับผป.    ไม่แพ้ยาทั้งสองครั้ง  ถือว่า โชคดี

ผมก็ไม่ค่อยศรัทธานัก เป็นสมุนไพรจีน จากไต้หวัน  ขายตรงในเมืองไทย เพื่อพ่่อแนะนำ  แต่ท่านไม่แพ้ยาต้านวัณโรค ก็เลยมีข้อมูลว่า  คงมีทางเลือกได้หลายตัว   สมุนไพรจีนตัวนี้ ตอนนี้ก็ขายกันทั่วไป และราคาถูกลงมามาก


อย่างไรก็ตาม หากนิสัยคนไทย เราชอบค้นคว้า วิจัย  เรายังสามารถวิจัยเปรียบเทียบ การแก้ปัญหาแพ้ยารุนแรงจากยาต้านวัณโรค  ด้วยการใช้สมุนไพรต่างๆ  ไม่สิ้นสุด   เพื่อเป็นทางเลือกให้ผป.และญาติ  เช่น

เปรียบเทียบ ยาสมุนไพร   1 ตัว กับ  ยาสมุนไพร  2 ตัว กับ ยาสมุนไพร  3 ตัว    ว่า ประสิทธิผล อย่างใดดีกว่า  อย่างใดมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า

ตอนนี้ผมไม่ได้อยู่ในวงการรักษาวัณโรค  อย่าง สมัย 20 ปี แรก ของการเป็นแพทย์   ได้แต่มอง สังเกตุ คนอื่นๆ เขารักษาวัณโรคแพ้ยากัน  คิดว่า สงสารคนไทยที่แพ้ยาต้านวัณโรค


นอกจากนี้ยังน่าวิจัย ต่อว่า   จริงหรือไม่   ขนม และผลไม้ บางอย่างลดการอักเสบ ของตับจากยาต้านวัณโรคได้ ได้ ซึ่งพวกอินเดีย เขาวิจัยกัน  เราน่าจะต่อยอดพิสูจน์ การวิจัยของเขา ง่ายกว่า งมค้นหาใหม่

เฉลยครับ    อินเดีย วิจัยว่า  มะม่วงแต่ละพันธุ์ ลดการอักเสบ ต่อตับ ได้ต่างกัน  มีสารต้านอนุมูลลอิสระต่างกัน

ต่อไป มะม่วงพันธุ์หนึ่ง ที่มีานวิจัย ยืนยัน ว่า แรง อาจจะมีราคา กิโลละ สองสามร้อย บาท เพราะยกระดับจาก ผลไม้ เป็นยาบำรุงสุขภาพไปแล้ว


http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20204522


http://www.phcog.com/article.asp?issn=0973-1296;year=2012;volume=8;issue=30;spage=116;epage=123;aulast=Hiraganahalli


http://www.phcogrev.com/article.asp?issn=0973-7847;year=2010;volume=4;issue=7;spage=42;epage=48;aulast=Shah


ผู้เรียนรู้รุ่นหลัง

แรงบันดาลใจ บันทึก นี้  เพราะพบว่า เพื่อนแพทย์ เภสัชกร  ยังไม่มีรับรู้ หรือ ไม่เชื่อว่า สมุนไพร มีประโยชน์ในการแก้ปัญหาพิษต่อตับ จากยา้ต้านวัณโรค     อินเดีย รายงานการวิจัยไว้ 5 ปีก่อน   ส่วนตัวผมใช้มา เมื่อ 10 ปีก่อน โดยบังเิอิญ       ถึงวันนี้  ปี 2556  ส่วนใหญ่ ของ วงการแพทย์ไทย ยังเชื่อแต่ฝรั่งมากกว่า การค้นหาทางง่ายแก้ปัญหาของการใช้ยาทีมีผลข้างเคียงสูงกับ บางกลุ่ม อย่างเช่น ยาต้านวัณโรค กับ ผู้สูงอายุ

http://www.wjgnet.com/1007-9327/14/4753.asp

หมายเลขบันทึก: 534817เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2013 13:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2013 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)


นั่นนะสิครับ คุณหมอครับ ยังไม่เชื่อว่าพืชสมุนไพร มีสรรพคุณทางยา ของไทยมากมายเหลือเกิน แต่เราเรียนตำรายาของฝรั่ง และเชื่อในยาเคมีของฝรั่งจนกลัว ที่จะยอมรับของไทย ลองพิสุทธิ ค้นคว้า ยาสมุนไพรไทย บางทีผมว่า อาจจะดีกว่ายาของฝรั่งก็ใด้ บรรพบุรุษเรา ที่เป็นหมอยา ยังรักษาโรคร้าย จากสมุนไพร ให้หายใด้ ทั้งๆที่ไม่รู้สูตรทางเคมี ว่ามีอะไรบ้าง จะให้ฝรั่งเอาของไทยไปวิจัย แล้วใด้ยาใหม่ เอามาขายให้คนไทย จะเอาแบบนั้นหรือ คณหมอ ก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ มีเภสัชกร มีนักวิทยาศาสตร์ทางเคมี ชีวะ มากมาย ผมขอเป็นกำลังใจให้มีการค้นคว้าให้จริงจังเถอะครับ อย่างที่ รพ.ปราจีนบุรี ที่เป็นข่าวบ่อยๆ จะให้หมอที่นั่น ทำคนเดียวหรือครับ ผมเป็นชาวบ้าน ที่อยากเห็นการวิจัยในด้านนี้ จนเป็นที่ยอมรับของฝรั่ง ทำใช้ ทำขายให้เขา ขอเป็นกำลังใจให้ครับ

คุณหมอคะเมื่อเร็วๆนี้ไปเยี่ยมบ้าน ผป.เอดส์เธอเลิกกินยาฝั่งมา1ปี เพราะเธอบอกว่ามีอาการหลอน และแพ้มากและไม่สบายตัวอย่างที่สุด สุดท้ายเธอมาเริ่มกินสมุนไพร แต่ช้าไปเพราะร่างกายเธอทรุดโทรมมากและเสียชีวิตแล้ว

  เรายังดูแลหลังให้บริการกับคนไข้ได้ไม่เต็มที่ หลายครั้งการรักษาจึงไม่ได้ผล คนไข้ทนทรมานไม่ไหวก็หยุดยาเอาดื้อๆ และไม่กลับไปรักษาอีก อยากให้คุณหมอช่วยเผยแพร่ในสิ่งที่คุณหมอกำลังศึกษาอยู่เพื่อช่วยเหลือคนไข้เหล่านี้ต่อไปค่ะ

ผมเผยแพร่ สิ่งที่คิดว่าเข้าท่า และ สากลพอสมควร  (มีงานวิจัย สอดคล้องตรงกับสิ่งที่เรา จัดให้ผป.)  ทันสมัย

มีแต่ผป. วัณโรค ที่สนใจ เชื่อ และทำตาม    ส่วนแพทย์ เภสัชกร  พยาบาล แนะนำบอกไปหลายรอบแล้ว " ไม่  ...  "

บางที ก็ต้องปล่อยวาง  บุญวาสนา ของ ผป. แต่ละคน ไป    จะยัดเยียดบังคับให้คนอื่น   ใช้ยา ตามที่เราเชื่อของเรา

ไม่ได้ครับ

เห็นด้วยกับคุณหมอเป็นอย่างยิ่ง สุดท้ายก็ต้องเป็นไปตามธรรมชาติของแต่ละท่าน  การศึกษาตำราเป็นเพียงส่วนหนึ่ง

ของการรักษาเปรียบเช่นนักดนตรีที่ถ้าเล่นแต่เพลงที่คนอื่นเขาแต่ง ไม่ยอมพัฒนา ไม่ใช้ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่

ออกมา  ท้ายสุดก็จะไม่มีการเล่นเพลงใหม่ๆได้ยินกัน การปรับการใช้ยา เภสัชอาจเข้าใจกลไกมากกว่า แต่ผู้ที่เห็นผล

จริงคือพยาบาลและหมอ ซึ่งควรทำงานร่วมกันเป็นทีม ผป ก็จะมีอาการดีขึ้นแน่ครับ

บางคนก็ยึดติดกับยาแผนปัจจุบันอย่างเดียว ไม่นิยมสมุนไพร ซึ่งหากมีงานวิจัยที่สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้ จะเกิดประโยชน์มากๆ อยากให้มีงานวิจัยมากๆ ค่ะคุณหมอ

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท