Fareeda
รอ.หญิง เบญจมาภรณ์ Fareeda Hua-jiem

ลองคิดตามกันน่ะ ??


โดยจะนำเสนอตัวอย่างจริยธรรมของพยาบาลเพียงเท่านี้ ! คุณว่าเพียงพอหรือไม่?

จริยธรรม (Ethic)  หมายถึง หลักความประพฤติปฏิบัติที่ดีงามของบุคคลโดยมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม  ประเพณี กฎหมาย รวมถึงจรรยาบรรณของวิชาชีพ  เพื่อให้บุคคลแสดงออกในสิ่งทีดี เหมาะสม ถูกต้องอย่างมีหลักการ  โดยใช้ความรู้ สติปัญญา  เหตุผล พิจารณาไตร่ตรองว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ เพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคม

    จรรยาบรรณวิชาชีพ  (Code of nurses)  หมายถึง  หลักแห่งความประพฤติที่ถูกต้องเหมาะสมของวิชาชีพพยาบาล

หลักจริยธรรมวิชาชีพ  6  ด้าน  ประกอบด้วย

1.  สิทธิของผู้ป่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ (Autonomy)

  -  พยาบาลได้ให้คำแนะนำให้ผู้รับบริการเข้าใจเรื่องโรค  วิธีการรักษา ข้อดีข้อเสีย   ก่อนให้ผู้รับบริการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาด้วยตนเอง

2.  การกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ (Beneficence)

  -  ได้จัดทำแนวทางในการลดระยะเวลาในการตรวจรักษาของผู้ป่วย เช่น On stop   service การแยกผู้ป่วยส่งตรวจตามคลินิกหรือตามประเภทผู้รับบริการ

  -  แนวทางการดูแลผู้ป่วยล่วงละเมิดทางเพศ มีศูนย์ COC

  -  ผู้สูงอายุ 70ปี ขึ้นไปจัดบริการให้มีคิวอนุเคราะห์

  -  แนะนำผู้ป่วยเรื่องโรค การรักษา  การปฏิบัติตัว เพื่อให้อยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติ

3.  การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุ หรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น (Normal efficiency)

  -  มีระบบจัดการความเสี่ยงในหน่วยงาน เพื่อให้ผู้รับบริการมีความปลอดภัย

  -  มีการจัดทำห้องแยกโรคที่ หรือจัดทำZone แยกผู้ป่วยเฉพาะกิจกรณีมีการเกิดการ  ระบาดของโรค

  -  การผูก-ยึดผู้ป่วย

4.  การกระทำด้วยความซื่อสัตย์ตามพันธะสัญญาวิชาชีพ (Fidelity)

  -  ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ

  -  พยาบาลจะไม่เปิดเผยความลับผู้ป่วย รวมทั้งการรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ป่วย

5.  การกระทำต่อผู้ป่วยและครอบครัวด้วยความยุติธรรม (Justice)

  -  ให้บริการตามระบบคิว ในเรื่องการส่งการตรวจ /การจองห้องพิเศษ

  -  ดูแลผู้รับบริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน ไม่เลือกประเภทผู้รับบริการ

6.  การบอกความจริง (Veracity)  ในทางปฏิบัติการพยาบาล พยาบาลเป็นผู้หนึ่งซึ่งอยู่ในทีมการบอกความจริง มีการประเมินความพร้อมของผู้ป่วยในกรณีที่ข้อมูลบางอย่างเป็นข่าวร้ายหรือข้อมูลการเจ็บป่วย

  -  มี Team counseling

  -  มีระบบการแจ้งข่าวร้ายร่วมกับแพทย์

  -  โครงการ Palliative care

หลักจรรยาบรรณวิชาชีพ  9  ข้อ ประกอบด้วย

1.  พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชนผู้ต้องการการพยาบาลและบริการสุขภาพ

  -  มีคำสั่งแต่งตั้งหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรทางการพยาบาล

  -  ดูแลจัดการเรื่องความปลอดภัย

  -  จัดระบบบริการที่มีคุณภาพ

2.  พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตา กรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์

  -  กำหนดการปฐมนิเทศบุคคลากรในการส่งเสริมจรรยาบรรณ ในหลักคุณธรรม

  -  มีบุคลิกภาพที่ดี

3.  พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชนด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคล

-  มีการประสานงานที่ดี

-  บุคลากรทางการพยาบาล ได้รับการอบรมพฤติกรรมบริการ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

-  บุคลากรทางการพยาบาลเรียกชื่อผู้รับบริการ โดยใช้คำนำหน้าชื่อ “คุณ”ทุกคน เพื่อเป็นการให้เกียรติสำหรับผู้รับบริการ

4.  พยาบาลยึดหลักความยุติธรรม และความเสมอภาคในสังคมมนุษย์

-  มีนโยบายดูแลผู้รับบริการด้วยมาตรฐานเดียวกัน

-  ให้บริการผู้รับบริการตามคิว และแยกตามประเภทความรุนแรง

5.  พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยมุ่งความเป็นเลิศ

-  เน้นการใช้ R2R ,

-  ผ่านการประเมินคุณภาพการบริการพยาบาล (NQA)

-  บุคลากรทางการพยาบาลมีการอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานเพื่อความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง

-  พัฒนาคุณภาพการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง (CQI)

6.  พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ

-  มีระบบ RM/ระบบ IC ในการดูแลผู้ใช้บริการ

7.  พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจต่อพยาบาลและต่อวิชาชีพการพยาบาล

-  บุคลากรทางการพยาบาล มีบุคลิกภาพที่ดี ทั้งภายนอก/ภายใน

-  ไม่เปิดเผยความลับของผู้ป่วย

8.  พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล

-  อบรมวิชาการเกี่ยวข้องกับหน่วยงานปีละ 1 ครั้ง

-  เข้าร่วมกับองค์กรในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ

9.  พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น

-  มีวินัยในตนเอง

-  มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน

 จรรยาบรรณวิชาชีพ

  การพยาบาลเป็นการปฏิบัติโดยตรงต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม นับได้ว่าเป็นบริการในระดับสถาบันของสังคม ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติ มีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแนวทางในการประพฤติและปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมโดยส่วนรวม

1.จรรยาบรรณวิชาชีพ

 จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับพยาบาลเป็นการประมวลหลักความประพฤติให้บุคคลในวิชาชีพยึดถือปฏิบัติ สมาคมพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (The America Nurses Associations A.N.A.) ได้กำหนดสาระสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลไว้ดังนี้
  1) พยาบาลพึงให้บริการพยาบาลด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัด ในเรื่อง สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ คุณสมบัติเฉพาะกิจหรือสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย
  2) พยาบาลพึงเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้ป่วยโดยรักษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยไว้เป็นความลับ
  3) พยาบาลพึงให้การปกป้องคุ้มครองแก่ผู้ป่วย สังคม ในกรณีที่มีการให้บริการสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ถูกกระทำการที่อาจเกิดจากความไม่รู้ ขาดศีลธรรม จริยธรรม หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด
  4) พยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยแต่ละราย
  5) พยาบาลพึงดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล
  6) พยาบาลพึงตัดสินใจด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน ใช้ข้อมูลสมรรถนะและคุณสมบัติอื่นๆ เป็นหลักในการขอคำปรึกษาหารือ ยอมรับในหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึง การมอบหมายกิจกรรมการปฏิบัติการพยาบาลให้ผู้อื่นปฏิบัติ
  7) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในกิจกรรมการพัฒนาความรู้เชิงวิชาชีพ
  8) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาล
  9) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดและดำรงไว้ซึ่งสถานะภาพของการทำงานที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง
  10) พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการปกป้อง คุ้มครอง สังคม จากการเสนอข้อมูลที่ผิด และดำรงไว้ซึ่งความสามัคคีในวิชาชีพ
 11) พยาบาลพึงร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับสมาชิกด้านสุขภาพอนามัยและบุคคลอื่นๆในสังคมเพื่อส่งเสริมชุมชนและสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของสังคมสำหรับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคม พ.ศ. 2528 มุ่งเน้นให้พยาบาลได้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยกำหนดเป็นความรับผิดชอบต่อประชาชน ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพและต่อตนเองดังนี้


จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน
1. ประกอบวิชาชีพด้วยความมีสติ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2. ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคตามสิทธิมนุษยชน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพของบุคคล
3. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ และการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
4. พึงเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการไว้เป็นความลับ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้นั้นหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
5. พึงปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการวินิจฉัยและการแก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยอย่างเหมาะสมแก่สภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
6. พึงป้องกันภยันตรายอันจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติ
1. พึงประกอบกิจแห่งวิชาชีพให้สอดคล้องกับนโยบายอันยังประโยชน์แก่สาธารณชน
2. พึงรับผิดชอบร่วมกับประชาชนในการริเริ่ม สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุข และยกระดับคุณภาพชีวิต
3. พึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
4. พึงประกอบวิชาชีพโดยมุ่งส่งเสริมความมั่นคงของชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพ
1. พึงตระหนักและถือปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบตามหลักการแห่งวิชาชีพการพยาบาล
2. พัฒนาความรู้และวิธีปฏิบัติให้ได้มาตรฐานแห่งวิชาชีพ
3. พึงศรัทธาสนับสนุนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมแห่งวิชาชีพ
4. พึงสร้างและธำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรม ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
5. พึงเผยแพร่ชื่อเสียงและคุณค่าแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ปรากฏแก่สังคม

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
1. ให้เกียรติ เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้ร่วมวิชาชีพและผู้อื่น
2. เห็นคุณค่าและยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์สาขาต่างๆ 
3. พึงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี กับผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอกวิชาชีพ
4. ยอมรับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และชักนำให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร
5. พึงอำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ร่วมงานในการปฏิบัติภารกิจอันชอบธรรม
6. ละเว้นการส่งเสริมหรือปกป้องผู้ประพฤติผิด เพื่อผลประโยชน์แห่งตนหรือผู้กระทำการนั้นๆ

จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง
1. ประพฤติตนและประกอบกิจแห่งวิชาชีพ โดยถูกต้องตามกฎหมาย
2. ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
3. ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการประกอบกิจแห่งวิชาชีพและส่วนตัว
4. ใฝ่รู้พัฒนาแนวคิดให้กว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง
5. ประกอบกิจแห่งวิชาชีพด้วยความเต็มใจ และเต็มกำลังความสามารถ
6. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมีสติ รอบรู้ เชื่อมั่นและมีวิจารณญาณอันรอบคอบ

2. ข้อมูลจากการวิจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพบริการพยาบาลและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของผู้ใช้บริการ จากการพัฒนารูปแบบของกรอบแนวคิดของคุณภาพบริการและระเบียบวิธีการวัดการรับรู้คุณภาพบริการของผู้รับบริการของ Parasura man , Zeithaml และ Berry (1985 อ้างในพัชรี ทองแผ่.2500) พบว่า ในการรับบริการผู้รับบริการใช้เกณฑ์ 5 ประการ ในการกำหนดคุณภาพบริการ คือ
  1) ความเป็นรูปพรรณของบริการ (Tangibles)
  2) ความไว้วางใจได้ (Reliability)
  3) การตอบสนองต่อผู้รับบริการทันที (Responsiveness)
  4) ความน่าเชื่อถือ (Assurance)
  5) การเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ (Emphathy) และจากการศึกษาวิจัยในประเทศไทยเกี่ยวกับการรับรู้และควาดคาดหวังของผู้ใช้บริการพยาบาลผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการที่เข้ามารับบริการพยาบาลส่วนมากไม่มีความเชิงวิชาชีพดังนั้นเมื่อเข้ามารับบริการจึงมุ่งหวังเพียงความถูกต้องและความถูกใจของบริการที่จะได้รับซึ่งคุณภาพของงานบริการที่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการคาดหวังจะได้จากบริการพยาบาล คือ
  (1) การได้รับบริการที่ดี ผู้ใช้บริการมีความรู้
 (2) การได้รับบริการที่ถูกต้อง เหมาะสม และรวดเร็ว
 (3) การบริการที่มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน
  (4) การได้รับการดูแลที่เอื้ออาทร เอาใจใส่ มีอัธยาศัย
  (5) ความเชื่อมั่นและไว้วางใจได้รวมถึงความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ
  (6) การสื่อสารที่เข้าใจ 

นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีความคาดหวังแตกต่างกันประกอบด้วย
  1. ความคาดหวังที่เกิดจากการบอกเล่าปากต่อปาก
  2. ความคาดหวังที่เกิดจากความต้องการส่วนตัวของผู้รับบริการ ซึ่งเป็นความต้องการของแต่ละบุคคลและมีความแตกต่างกันตามภูมิหลังของบุคคลนั้น เช่น เพศ อายุ รายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา
 3. ความคาดหวังที่เกิดจากประสบการณ์ในอดีต
  4. ความคาดหวังที่เกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของผู้ให้บริการ 

จากการศึกษาวิเคราะห์ของทีมแกนนำทั้ง 4 ภาคพบว่าภาพลักษณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพ ประกอบด้วย
   บุคลิกภาพดี
   กริยาท่าทาง สุภาพ อ่อนโยน กระตือรือร้น
  3.3 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
  4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก
  5. มีความรู้
  6. เสียสละ
   มีคุณภาพ และจริยธรรมประจำใจ
  8. กล้าตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
  9. รักษาสิทธิผู้ใช้บริการ

จริยธรรม คือการพัฒนาพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่สำคัญ มีการดำเนินชีวิตด้วยการมีสัมพันธ์กับมนุษย์ สิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งไม่มีชีวิตอย่างถูกต้อง

คุณธรรม คือองค์ประกอบของคุณงานความดี ที่มีความเป็นจริงและความถูกต้อง

จริยธรรม หมายความว่า หลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ เพื่อดำรง หรือพิทักษ์ความจริง ความดี ความถูกต้อง

จรรยา หมายความว่า ความรู้ ความประพฤติในสิ่งที่ควรประพฤติ ที่เป็นความจริง ความดี ความถูกต้อง

หลักจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพฯ

1.ให้ผู้ป่วยมีความเป็นอิสระทางความคิดในการตัดสินใจด้วยตนเอง

2.ปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ด้วยความเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารี

3.ปฏิบัติภารกิจในหน้าที่โดยตระหนักถึงมาตรการในการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตราย

4.ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต

5.ปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการทุกคนอย่างยุติธรรม โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่าง

6.การพูดความจริง

- เป็นการสนับสนุนตามสิทธิที่มี

- เป็นการเคารพนับถือในฐานะบุคคล

- เป็นไปตามหลักของความเป็นอิสระ

ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับจริยธรรม

จริยธรรม เป็นแนวคิดเชิงปรัชญา ที่ทำการศึกษาวิเคราะห์ ค่านิยมการกระทำและทางเลือก เพื่อการพิจารณาว่าถูกและผิด

กฎหมาย ได้กำหนดโดยผู้มรอำนาจหน้าที่ตราเป็นข้อบัญญัติที่ใช้บังคับในสถานการณ์ที่กำหนด

หลักการทางจริยธรรม

การดำเนินการเพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุด มี 6 ประการ

1.สิทธิผู้ป่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ

2.การกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

3.การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิด

4.การกระทำด้วยความซื่อสัตย์ตามพันธะสัญญาของวิชาชีพ

5.การกระทำต่อผู้ป่วยและครอบครัวด้วยความยุติธรรม

6.การบอกความจริง

จรรยาบรรณวิชาชีพ คือคำประกาศว่าด้วยหน้าที่ที่พึงกระทำ และความรับผิดชอบโดยสังเขปของผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนมโนธรรมและความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเป็นอิสระและเพื่อประกาศให้สังคมรับรู้จุดมุ่งหมายของวิชาชีพได้

1.พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชน ผู้ต้องการพยาบาลและบริการสุขภาพ

2.พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตา กรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์

3.พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชน ด้วยความเคารพ ศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคล

4.พยาบาลยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมนุษย์

5.พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยความมุ่งความเป็นเลิศ

6.พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ

7.พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพพยาบาล

8.พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล

9.พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น

การพัฒนาคุณธรรม

พระเทพเวที ( ประยุทธ์ ปยุต.โต ) ได้กล่าวเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมว่า สามารถที่จะเลือกพัฒนาได้ 2 ทาง คือ การใช้ธรรมะเป็นหลักในการฝึกอบรมและใช้วิธีคิดในการพัฒนา

บทกวี “ สองคนยลตามช่อง  คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม

  อีกคนตาแหลมคม  มองเห็นดาวที่พราวพราย ”

2.สิ่งที่ต้องพัฒนาหลังกลับจากอบรม

  นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และถ่ายทอดความรู้ไปสู่เพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อวิชาชีพและสุขภาพที่ดีของผู้รับบริการ

3.การถ่ายทอดโดยวิธีใด (นำเสนอในที่ประชุม/เผยแพร่ทางเวปไซด์โรงพยาบาล/ติดประกาศ/จัดบอร์ด/จัดนิทรรศการ 

  และเคยคิดไม่ว่าเราควรมีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ฝังรากให้ลึกขึ้นได้อย่างไรกันค่ะ!!!
คำสำคัญ (Tags): #จริยธรรม
หมายเลขบันทึก: 534701เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013 18:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2013 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท