แนวทางปรัชญาพอเพียงเพื่อเศรษฐกิจไทยที่ยั่งยืน


อาจารย์ เกยูร  จำปาเทศ  สาขางานการขาย

เรื่อง  แนวทางปรัชญาพอเพียงเพื่อเศรษฐกิจไทยที่ยั่งยืน

ผู้แต่ง  ดร.เกษม  พิพัฒน์เสรีธรรม

ที่มา  การตลาดเหนือชั้นกลยุทธ์พร้อมรบ

  ถ้าขึ้นชื่อว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ พอประมาณ มีเหตุผล

มีภูมิคุ้มกันที่ดี ทั้งนี้ ด้วยการมีความรู้และคุณธรรมเพื่อความสมดุลและยั่งยืนจากข้อมูลการสำรวจธุรกิจ SMEs ที่สามารถฟันฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” ปี 2540 มาได้ เพราะส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์เหล่านี้

  -ใช้เทคโนโลยีเหมาะสม นั่นคือ ราคาเหมาะสมและถูกต้องกับสถานการณ์

  -มีขนาดการผลิตเหมาะสม สอดคล้องกับความสามารถในการบริหารจัดการ

  -ไม่ตั้งเป้าหมายเกินจริง (ไม่โลภ) ไม่มุ่งเน้นกำไรระยะสั้น

  -ซื่อสัตย์สุจริต

  -มีความสามารถในการปรับตัวสูง มีสายผลิตภัณฑ์เหมาะสมไม่มากเกินไป

  -รู้จักลงทุนแต่พอเพียง

  -ไม่ก่อหนี้หรือลงทุนเกินตัว เกินความสามารถจ่ายคืน

  -รู้จักเลือกตลาดที่เหมาะสม สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดี

  -มีพันธมิตรที่ช่วยเหลือกันได้

  ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นล้วนอยู่ในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งสิ้น การนำแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งของภาคครัวเรือนที่เป็นหน่วยย่อยที่สุดในระบบเศรษฐกิจ หากการบริโภคภาคครัวเรือนเป็นไปอย่างพออยู่พอกินมีความสุขตามอัตภาพ ย่อมทำให้เกิดการออมภาคครัวเรือน ซึ่งถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันภัยเศรษฐกิจ และเป็นรากฐานสำคัญของเศรษฐกิจประเทศเพราะเมื่อประเทศมีเงินออมเพียงพอต่อการลงทุนก็สามารถลดการพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศได้

  ด้านการบริโภค หากแต่ละครัวเรือนบริโภคอย่างมีเหตุผล พอประมาณตามอัตภาพ ย่อมทำให้การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่ไม่จำเป็นลดลง ปัญหาการขาดดุลการค้าก็ลดลง และเศรษฐกิจของประเทศก็มีความเข้มแข็งขึ้น เมื่อมาพิจารณาภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กเพราะเป็นธุรกิจที่ไม่เข้มแข็งนัก การถูกกระตุ้นด้วยนโยบาย “ประชานิยม” ทำให้คิดไปว่าเศรษฐกิจของไทยจะไปโลดจึงลงทุนเกินตัว ขยายธุรกิจเกินความสามารถในการแข่งขันทำให้เกิดสภาพการผลิตล้นความต้องการของตลาดโดยเฉพาะในภาคธุรกิจระดับรากหญ้าที่เล็กที่สุด ภาคธุรกิจต้องดำเนินธุรกิจตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือไม่ตั้งเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจแบบเร่งการเติบโตเร่งสร้างกำไรมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบของวิกฤติที่จะตามมา และไม่รับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และประเทศชาติ ทั้งการเปิดเสรีทางการค้า และการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ทำให้การเคลื่อนย้ายของทุนทำได้ง่ายขึ้น การเร่งเครื่องเศรษฐกิจเพื่อให้ได้ตัวเลข GDP สวยๆ สูงๆ จึงทำให้อัตราดอกเบี้ยสูงและเงินทุนจากต่างประเทศไหลเข้าจำนวนมาก และมีผลทำให้เงินบาทแข็งค่าส่งผลให้การส่งออกชะลอตัว “การพอประมาณ” คือ การรู้จักเลือกส่วนตลาด ให้เหมาะสม หรือย่อยส่วนตลาดเดิมที่แข่งขันอยู่ไปสู่ส่วนตลาดใหม่ที่การแข่งขันน้อย “การมีเหตุผล” คือการรู้จักตนเอง รู้จักคู่แข่ง และที่สำคัญคือรู้จักลูกค้า ธุรกิจที่จะอยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน

“การมีภูมิคุ้มกันที่ดี” คือการมีพันธมิตร หรือ เครือข่ายไว้คอยช่วยเหลือ เป็นการลำบากที่ธุรกิจขนาดเล็กจะเก่งในทุกเรื่อง

  ปัจจุบันการแข่งขันทางการตลาด คือการแข่งขันกันในเรื่องของความเร็วในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ไม่ใช่การแข่งขันกันในเรื่องราคา มีการพยายามเพิ่มขนาดการผลิตให้ใหญ่เพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง ถ้าธุรกิจทุกธุรกิจมีการดำเนินงานโดยยึดหลักตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแล้วนั้น ธุรกิจในประเทศไทยจะมีความมั่นคงและยั่งยืนอย่างถาวร


คำสำคัญ (Tags): #kmanw
หมายเลขบันทึก: 534340เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2013 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2013 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท