ผ้าไทยหรือผ้าไหม


                                                         ผ้าไทยหรือผ้าไหม

                                              นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

ผ้าไทยหรือผ้าไหมคือผ้าทอมือที่มีการผลิตในประเทศไทยโดยมีเอกลักษณ์เฉพาะในแต่ละท้องถิ่น ประวัติผ้าไทยหรือผ้าไหมไม่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากนัก เนื่องจากมีการให้ความสำคัญในด้านอื่นๆ มากกว่า แต่เราพอจะสืบหาประวัติของผ้าไทยหรือผ้าไหม ในสมัยก่อนได้บ้างจากวรรณคดีจิตรกรรมฝาผนัง และมรดกศิลปะที่คงเหลืออยู่ในบางท้องถิ่น

ภาคกลาง ในภาคกลาง ไม่ปรากฏร่องรอยที่ชัดเจนของกลุ่มช่างทอผ้าในอดีต แม้จะมีการปลูกฝ้ายกันมากก็ตาม ในภายหลังมีการอพยพชาวบ้านจากหัวเมืองล้านนา จากฝั่งลาวลงมา

ชาวลาวเวียง แถบอุทัยธานีและชัยนาท นิยมทอผ้าจกไหม

ชาวไทยยวน แถบสระบุรีและราชบุรี ทอผ้าซิ่น มัดก่าน ตีนจก และยกมุก

ชาวไทยพวน แถบลพบุรี นิยมทอผ้ามัดหมี่

ชาวไทยดำ แถบเพชรบุรี นิยมทอผ้าพื้น หรือผ้าซิ่นลายแตงโม

ชาวกรุงเทพมหานครนั้น ยังมีชาวมุสลิม ที่เรียกว่าแขกจาม ทอผ้าไหม จนถึงทุกวันนี้

ภาคใต้ ในภาคใต้ ลักษณะเป็นผ้ายก แบบหลายตะกอ เช่น ผ้ายกเมืองนคร ผ้าเกาะยอ และผ้าพุมเรียง ลักษณะลวดลายมีทั้งเป็นลายดอกเล็กๆ พรมไปทั้งผืน หรือยกลายเน้นเชิง เดิมนั้นเข้าใจว่าเป็นผ้าไหมเป็นส่วนมาก มีหลักฐานการส่งผ้าจากภาคใต้มายังพระราชสำนักในกรุงเทพฯ เมื่อต้นสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งจากเมืองนครศรีธรรมราช และจากหัวเมืองทางใต้อื่นๆ เช่น ปัตตานี เป็นต้น จึงเชื่อกันว่า ผ้ายกของภาคใต้นั้นน่าจะได้รับอิทธิพลจากแถบมลายู ปัจจุบัน ยังคงเหลือผ้ายกของชาวพุมเรียง อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวมุสลิมเพียงแห่งเดียวในภาคใต้ที่ยังทอผ้าไหม

ภาคเหนือ ในภาคเหนือ ผ้าโบราณของภาคเหนือมีความโดดเด่นที่ผ้าของเจ้านายล้านนา ที่นิยมใช้ผ้ายกดอก ทอด้วยไหมเงินไหมทอง นอกจากนี้วัฒนธรรมผ้าที่หลากหลายโดยทั่วไป เพราะเป็นถิ่นเดิมของชาวไทยวน ที่มีชื่อเสียงด้านผ้าซิ่นตีนจก เช่น อำเภอแม่แจ่ม เชียงใหม่ อำเภอลอง แพร่ อำเภอลับแล อุตรดิตถ์ ชาวไทพวนบ้านหาดเสี้ยวสุโขทัยโดดเด่นทางด้านผ้าเข็นและผ้ามุกต่อตีนจก ชาวไทยลื้อมีวัฒนธรรมการทอผ้าที่โดดเด่นโดยเฉพาะผ้าลายน้ำไหล พบได้ในแถบจังหวัดพะเยา เชียงราย และน่าน ในภายหลัง ผ้าฝ้ายของป่าซางยังมีชื่อเสียงโดดเด่นมาช้านาน

ในภาคเหนือยังมีผ้าชาวเขาจากหลายเผ่า เช่น กะเหรี่ยง (ปกะญอ, ปกากญอ, ยาง) แม้ว(ม้ง), เย้า (เมี่ยน), อีก้อ (อาข่า), ลีซอ (ลีซู), ปะหล่อง เป็นต้น ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งเทคนิคการทอ วัสดุ และลวดลาย

ภาคอีสาน ในภาคอีสาน ส่วนใหญ่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จึงนิยมทอผ้าไหม โดยใช้การมัดหมี่ให้เกิดลวดลาย มีฝีมือประณีต อย่างในก็ตาม ในภาคอีสาน มีกลุ่มชาติพันธุ์มากมาย นับว่ามีวัฒนธรรมผ้าที่หลากหลายมาก

ชาวผู้ไทย แถบสกลนคร มุกดาหาร ใช้ผ้ามัดหมี่ย้อมคราม

ชาวผู้ไทย แถบกาฬสินธุ์ ทอผ้าไหมแพรวา

ชาวไทยเขมร แถบสุรินทร์และบุรีรัมย์ทอผ้ามัดหมี่ลวดลายเฉพาะตัว

ชาวอีสาน แถบร้อยเอ็ด ทอผ้าไหมยกดอกที่ประณีตมาก

ผ้าเหล่านี้ล้วนเคยส่งมาถวายราชสำนักในกรุงเทพฯ มาแล้วทั้งสิ้น

ปูชนียบุคคลผู้พัฒนาวงการผ้าไทย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชชายา เจ้าดารารัศมี สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จิม ทอมป์สัน แสงดา บัณสิทธิ์ สาธร โสรัจ ประสพ สันติ อุดม สมพรเผ่าทอง ทองเจือ



หมายเลขบันทึก: 533726เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2013 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2013 06:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบค่ะผ้าไทย

ใส่ทุกวันอังคารค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท