อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

เอกสารเผยแพร่ เชื้อราไตรโครเดอร์มา


ช่วงนี้ช่วงรอยต่อในเดือนเมษายนจะเข้าเดือนพฤษภาคม ที่บึงกาฬอากาศแปรปรวนมาก ทั้งลมแรง ทั้งฝนจากความกดอากาศ  อากาศกลางคืนและกลางวันเริ่มแตกต่างกัน อากาศเย็นตอนเช้า อากาศร้อนมากในตอนกลางวัน
ลมแรงที่บึงกาฬ ชาวสวนยางจะกังวนมาก เพราะลมจะทำให้ต้นยางหักบริเวณรอยกรีด และอาจทำให้หักโค่นได้  ในช่วงหน้าฝนนี้นอกจากลมแล้ว ยังมีเรื่องโรคที่ชาวสวนยางต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ซึ่งโรคที่มักจะมาในหน้าฝน
ที่จังหวัดบึงกาฬ คือโรคเส้นดำ และโรคราสีชมพู ซึ่งถือเป็นปัญหากวนใจชาวสวนยางพาราอยู่มาก

แปลงยางพารานายไพพนา รัตนจิตร

จากประสบการณ์ของเกษตรกรชาวสวนยาง นายไพพนา รัตนพร เกษตรกรชาวสวนยาง บ้านท่าโพธิ์ ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ  ก็เป็นอีกคนที่ประสบปัญหา ยางพาราเป็นโรคเส้นดำ และราสีชมพู ในปีที่แล้ว จึงได้หาทางแก้ไขด้วยการทดลองใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาฉีดพ่นในสวน ในตอนแรกทดลองฉีดพ่นไป ไม่กี่ต้น พบว่าได้ผลดีเกินคาด จึงเริ่มขยายเชื้อราฯ  และฉีดพ่นในสวนเพิ่มขึ้นไปอีก ผลของการฉีดพ่นในเบื้องต้นพบว่าสุขภาพของต้นยางดีขึ้น  กล่าวคือ ต้นยางดูแข็งแรงขึ้น ไม่พบโรคเส้นดำ ต้นยางที่เคยพบอาการทำลายจากเชื้อราสีชมพู หายไป  นอกจากนี้ยังพบว่าการเจริญของเนื้อเยื่อทดแทนรอยกรีดเดิมเร็วขึ้น


อาการที่ถูกทำลายจากเชื้อราสีชมพู                 รอยกรีดสวย ไม่พบโรคเส้นดำ


เมื่อทดสอบทดลองด้วยตนเอง ได้รับผลเป็นที่น่าพอใจ ต้นยางสุขภาพดี แข็งแรง
ไม่พบปัญหาเรื่องโรคมากวนใจ กรีดยาง ก็ได้น้ำยางมากขึ้น
เมื่อเพื่อนบ้านเห็นก็เริ่มสอบถาม เริ่มแนะนำ และมีเกษตรกรชาวสวนหลายคนเริ่มนำเชื้อราไตรโครเดอร์มา
ไปขยายใช้ในสวนของตนเอง เริ่มจากสวนใก้ลๆ จนตอนนี้ขยายไปไกลถึงบึงโขงหลงแล้ว


                              เชื้อราไตรโครเดอร์มาสด พร้อมนำไปใช้ได้

เมื่อมีคนสนใจมากขึ้นนับว่าเป็นเรื่องดีมาก ซึ่งถือว่าอารักขาบึงกาฬมีพันธมิตร มีผู้นำเชื้อชีวินทรีย์ไปใช้ก็แสดงว่ามีความปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมีเพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้เรื่องเชื้อราไตรโครเดอร์มา
อารักขาบึงกาฬจึงได้จัดทำเอกสารเผยแพร่ 2 เรื่อง คือการผลิตขยายเชื้อราไตรโครเดอร์มาเพื่อใช้เองTricho1.pdf และ การใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาเพื่อป้องกันโรคในสวนยางพารา Tricho2.pdf (เรื่องนี้เขียนจากประสบการณ์ ของคุณไพพนา รัตนพร) โดยจัดทำเพื่อสื่อสารกับเกษตรกรชาวสวนยางพารา การจัดทำก็ทำอย่างเรียบง่าย เน้นรูปภาพเพื่อสื่อสารให้เข้าใจง่ายๆ เพื่อให้พี่น้องชาวสวนยางพารานำไปใช้ประโยชน์ได้

          นายไพพนา รัตนพร


หมายเลขบันทึก: 533662เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2013 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2013 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชื่นชมครับ เป็นเรื่องราวที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรมาก ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท