ลุงพัฒน์ อภัยมูล : ปราชญ์เกษตรอินทีรย์แห่งบ้านแม่ทา


      ในครั้งท่ีเรียนปริญญาโท  ดิฉันได้เคยอ่านเอกสารท่ีมีการกล่าวถึงลุงพัฒน์   อภัยมูล  เกษตรกรท่ีกล้าปรับเปลี่ยนวิถีการผลิตของตนจากการเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นการเกษตรธรรมชาติ   จนถูกมองว่าเป็นคนบ้าสติไม่ดี แต่ลุงพัฒน์  ก็ยังคงเชื่อมั่นในวิถีท่ีตนเองเลือกเดิน  ใช้เวลาเรียนรู้พัฒนาการจัดการเกษตรธรรมชาติด้วยตนเอง  ต่อมาได้มีโอกาสรู่้จักกับลุงพัฒน์ในเวทีชุมชน  และได้นำนิสิตไปศึกษาดูงานกิจกรรมชุมชนบ้านแม่ทาท่ี่ลุงพัฒน์เป้็นแกนนำ  ตราบจนกระทั่งปัจจุบันยังคงได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่้่งดี ๆ จากลุงพัฒน์   จึงได้พบว่า  ความสำเร็จของลุงพัฒน์  ณ วันนี้เป็นผลจากการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่าน  มาใช้เป้็นหลักการในการดำเนินชีวิตของตนเองและครอบครัว   จนสร้างความมั่นคงให้แก่ครอบครัวและมุ่งมั่นสร้างประโยชน์แก่ชุมชน   จึงอยากแบ่งปันเรืืองราวลุงพัฒน์ดังนี้คะ   

       ลุงประพัฒน์  อภัยมูล  อายุ  57  ปี  จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น  ป .4 อยู่บ้านเลขที่ 16/1 หมู่ที่ 5  บ้านป่าน็อต  ต.แม่ทา  อ.แม่ออน  จ.เชียงใหม่ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเครือข่ายเกษตรกรยั่งยืน  8 จังหวัดภาคเหนือ  กรรมการมูลนิธิเกษตรยั่งยืนแห่งประเทศไทย

       ลุงประพัฒน์  อภัยมูล  ทำการเกษตรแบบยั่งยืนโดยใช้แนวทางเกษตรชีววิถี  ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530  ซึ่งในเวลานั้นเกษตรกรส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับกระแสการเกษตรเชิงเดี่ยว  ตามระบบทุนนิยมเสรีเน้นการค้าการใช้สารเคมี  หากแต่เวลานั้นลุงประพัฒน์  อภัยมูล  ได้ประจักษ์ถึงผลกระทบการเกษตรเชิงเดี่ยว  โดยเล่าว่า  ตนเองเคยปลูกยาสูบ  ปลูกข้าวโพดฝักอ่อน มะเขือเทศ  แต่สุดท้ายประสบภาวะหนี้สิน  ปัญหาสุขภาพและดินเสื่อมโทรม  ประกอบกับการทบทวนวิถีชีวิตบรรพชน  ที่ดำเนินอยู่เป็นสุข  ไม่มีหนี้สิน โดยไม่มีระบบเกษตรแบบทุนนิยม จึงตัดสินใจปรับระบบการเกษตรของตนเองใหม่  เริ่มจากการปลูกพืชสารพัดชนิดเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและแบ่งขาย  รวมทั้งปลูกไม้ผลเพื่อเป็นการลงทุนระยะยาวในอนาคต  ช่วงเวลานั้นเพื่อนเกษตรกรในชุมชนหลายคนมองพฤติกรรม  ลุงประพัฒน์ อภัยมูล  ว่าเป็นเสมือนคนบ้า 

      ลุงประพัฒน์  อภัยมูล  เริ่มต้นทำการเกษตรตามแนวคิดของตนเองในพื้นที่  1 ไร่  3 งานโดยการปลูกผักปลอดสารพิษขาย  พร้อมทั้งเลี้ยงวัวและหมู  และพยายามเรียนรู้ด้วยตนเอง  จากการสังเกต  การอ่านและการเข้าร่วมประชุมสัมมนา  จนสามารถเก็บออมรายได้ ลดรายจ่าย จนสามารถซื้อวัวเพิ่ม เป็นการสะสมทุนตามลำดับ  ต่อมาสามารถซื้อที่ดินเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้นและขยายพื้นที่การทำเกษตรปลอดภัย ต่อมาได้รวมกลุ่มเพื่อนเกษตรกรในตำบลจำนวนกว่า 70  ครัวเรือน เป็นกลุ่มผู้ผลิตพืชปลอดภัยและเกษตรยั่งยืน สามารถส่งผลผลิตจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ  โดยมีบริษัทมารับซื้อผลผลิตในตำบล

      ลุงประพัฒน์  อภัยมูล  เชื่อว่า  อาชีพเกษตรกรสามารถพึ่งตนเองและอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี  ปราศจากหนี้สิน  หากมีการวางแผนการจัดการเกษตร   มีความรู้และมีอำนาจต่อรอง  ทั้งนี้เกษตรกรต้องไม่ลืมรากเหง้าของตนเอง  ดำรงตนบริหารจัดการชีวิตตามหลักศีลธรรม คือ  มีความเพียร  ความซื่อสัตย์ มีความเมตตาเกื้อกูลต่อเพื่อนมนุษย์ สรรพสัตว์และสิ่งแวดล้อม  การประหยัดออม  ไม่ยุ่งเกี่ยวอบายมุข  และถ่ายทอดอุดมการณ์ความรู้ด้านการเกษตรสู่ลูกหลาน  เพื่อว่า  จะเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง  เชื่อมั่นในอาชีพเกษตรกรรม 

           ด้วยความเชื่อดังกล่าว  ลุงประพัฒน์  อภัยมูล  จึงมอบที่ดินจำนวน  1.5 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรกรรมแบบยั่งยืน ตำบลแม่ทา พร้อมทั้งรวมเป็นกรรมการดำเนินงานศูนย์ดังกล่าว

          ปัจจุบันศูนย์ดังกล่าวเป็นแหล่งเรียนรู้อบรมแนวคิดวิธีการเกษตรแบบยั่งยืนให้แก่เกษตรกรนับพันคนต่อปี  โดยมีหลักสูตรสำคัญ  คือ “หลักสูตรเส้นทางเศรษฐี”  มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร เกษตรกรรมยั่งยืน กลุ่มและเครือข่าย ธุรกิจชุมชนและตลาด  บทบาทของเยาวชนและคนรุ่นใหม่ในงานพัฒนาชุมชน


หมายเลขบันทึก: 533551เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2013 22:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 เมษายน 2013 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท