ความต้องการและความจำเป็นในการฝึกอบรม


ความต้องการและความจำเป็นในการฝึกอบรม

  การฝึกอบรมจัดเป็นเครื่องอย่างหนึ่งที่องค์กรหลายๆองค์กรให้ความสำคัญในการนำมาเป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคคล หรือ เพิ่มศักยภาพของพนักงานในองค์กรให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพื่อผลผลิต และเป้าหมายที่องค์กรได้กำหนดไว้  ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรขององค์กร โดยเฉพาะทรัพยากรที่เป็นมนุษย์ และเมื่อกล่าวถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ย่อมหมายถึง การพัฒนาพฤติกรรม จิตใจ สติปัญญา โดยกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ และการขัดเกลาจากสถาบันทางสังคม โดยการคิดจากความสงสัยสู่การฝึกฝนปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ซึ่งผลลัพธ์จะยั่งยืนและมีคุณค่าได้นั้น ต้องเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ควบคู่กับความมีคุณธรรม ความเสียสละ ความซื่อสัตย์ และเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ประโยชน์ส่วนตนเป็นรอง โดยมีเครื่องมือหลักในการใช้พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กล่าวคือ การฝึกอบรม เป็นกระบวนการที่จะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรู้(Knowledge) เกิดความเข้าใจ (Understanding) เกิดความชำนาญ (Skill) และเกิดเจตคติ (Attitude) ที่ดีเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกระทั่งให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ(สมชาติ กิจยรรยง, 2545 : 15)นับว่าเป็นเครื่องมือ หรือ วิธีการหลักที่ใช้ในการพัฒนาทรัพยากรขององค์กร  เป็นกระบวนการที่ช่วยเพิ่มพูนความถนัด (aptitude) ความชำนาญ (skill) ความสามารถ (ability) ของบุคคลในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น (เสาวลักษณ์ สิงหโกวินท์ และกมล อดุลพันธุ์, 2527:6) จากคำจำกัดข้างต้นบ่งบอกถึงความสำคัญและจำเป็นของการฝึกอบรมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพส่งผลในงานขององค์กรเกิดประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าองค์กรดังกล่าวจะมีศักยภาพด้านในเงินทุนก็ตามแต่  การที่องค์กรจะประสบความสำเร็จได้นั้น องค์กรดังกล่าวต้องมีทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรที่มีคุณภาพ และการที่จะมีคุณภาพได้นั้น ทรัพยากรขององค์กรจะต้องได้รับการพัฒนา และการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับงานด้วยจึงจะเกิดประสิทธิผลของงานได้ตรงกับความต้องการได้

แม้ว่านักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของการศึกษาผู้ใดที่ได้รับการศึกษาที่ดีย่อมเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ เหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงสังคมยอมรับกันทั่วไปอยู่แล้ว ถึงอย่างไรก็ตามในความเป็นจริงแล้ว ความจำเป็น และความต้องการในการฝึกอบรม มีความจำเป็นไม่น้อยไปกว่าการศึกษา ดังนั้นความต้องการ ความจำเป็น และการฝึกอบรมเป็นสิ่งที่องค์กร หรือ หน่วยงานที่เป็นเอกชน และภาครัฐ ล้วนต้องการผลสำรีดของการพัฒนาโดยกันทั้งสิ้น แต่ในสิ่งที่จะขาดหายไม่ได้เลยของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยวิธีการใดๆ หรือ การฝึกอบรมนั้นเอง ซึ่งสิ่งที่ขาดในบทความดังกล่าวคือ ความเป็นยุคสมัยใหม่ ปัจจุบันสังคมไทยมีความเจริญก้าวหน้าไปหลากหลายด้าน ดังนั้นการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นด้านความต้องการและความจำเป็นของการฝึกอบรม ประการสำคัญ คือ วิธีการในการฝึกอบรม ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นรูปแบบเดิมๆ ควรมีความหลากหลาย สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริง สามารถประสบความเสร็จในการพัฒนาทรัพยากรขององค์กรได้ ตัวอย่าง การนำวิธีการหลายๆวิธีมาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรขององค์กร สามารถทำได้หลายวิธี ไม่เพียงแต่การอบรมเพียงอย่างเดียว เช่น การให้โอกาสในพนักงานได้เรียนรู้งานใหม่ๆ จัดเป็นการพัฒนาทางด้านทักษะของพนักงานว่าจะมีวิธีการจัดการอย่างไรโดยให้ผู้อบรมค่อยแนะนำในพนักงานสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุผลสำเสร็จได้ วิธีการนี้เป็นการเพิ่มโอกาส และการให้ความสำคัญพนักงาน ซึ่งจะทำให้พนักงานเกิดรู้สึกดีต่อองค์กรและย่อมส่งผลดีต่อองค์กรอย่างแน่นอน จะให้งานและพนักงานขององค์กรพัฒนาไปสู่ความสำเร็จพร้อมๆได้

การฝึกอบรมเป็นส่วนสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เพราะการที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะประสบผลได้นั้น การฝึกอบรมนับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทรัพยากรขององค์กร และอาจจะต้องนำวิธีการที่มีความหลากหลาย ไม่ซ้ำซาก เพราะจะช่วยให้การฝึกอบรมเกิดประสิทธิผล ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดมากกว่าที่จะนำวิธีการฝึกอบรมในลักษณะเดิมๆมาใช้ในการพัฒนานั้น ย่อมจะทำให้ผู้เข้าฝึกอบรมเกิดความเบื่อนาย เกิดความไม่สนใจในสิ่งที่กำลังอบรมอยู่ ผลคือ ได้รับความรู้ไม่ครบทวนดังนั้นการเพิ่มความแปลกใหม่ วิธีการต่างๆที่หลากหลาย มีความตื่นตา ใหม่ๆ น่าจะเป็นนวัตกรรมที่ควรพัฒนารูปแบบใหม่ มากกว่าที่จะใช้สิ่งที่มีอยู่แต่เดิม เหล่านี้ย่อมส่งผลให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และองค์กรต่างๆ ให้มีประสบความสำเร็จ และเกิดประสิทธิภาพของงานอย่างสูงสุดได้ไม่อยากอย่างแน่นอน

[img width="604" height="4" src="file:///C:/Users/ADMINI~1/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image001.gif" v:shapes="_x0000_s1026">

บรรณานุกรม

บทความ. (2553). ความต้องการและความจำเป็นในการฝึกอบรม. ค้นเมื่อวันที่ 10-07-2553, จากwww.humantoday.com

สมชาติ กิจยรรยง. (2545). เทคนิคการเป็นวิทยากรฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: บริษัท มัลติอินฟอร์เมชั่น

  เทคโนโลยี จำกัด

เสาวลักษณ์ สิงหโกวินท์ และกมล อดุลพันธุ์. (2527). การพัฒนาบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย

  รามคำแหง


หมายเลขบันทึก: 533129เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2013 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2013 22:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับ

               การฝึกอบรมจำเป็นมากครับ   ผมนี่เกษียณมาหลายปีแล้ว   ถ้ามีการอบรมในหลักสูตรที่จำเป็นต้องรู้ผมก็ต้องสมัคร   ยิ่งคนในสายปฏิบัติงานต่าง ๆ ทุกระดับต้องได้รับการอบรมทุกปี   ตัวอย่างครูตามมาตรฐานต้องอบรมอย่างน้อยถึง   20  ชั่วโมงเป็นต้น

ผมขอชื่่นชมคุณธนามาก ๆ เลยครับ ขนาดเกษียณแล้วก็ยังพยายามหาความรู้ใหม่ ๆ ให้แก่ตัวเองอยู่ตลอด ผมชื่นชมจริง ๆ เขาเรียกว่า "การเรียนรู้ตลอดชีวิต" และผมก็เชื่อว่าการเกษียณมิใช่ข้อจำกัดในการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ของคนเรา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท