การพิจารณาการจัดการประชากรบุตรของคนต่างด้าว ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา


“การพิจารณาการจัดการประชากรบุตรของคนต่างด้าว[1] ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา”

โดยนางสาวศิวนุช สร้อยทอง นักศึกษาปริญญาโท สาขากฎหมายอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เขียนเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2556

---------------------------------

ความเป็นมาของงานเขียน

---------------------------------

เนื่องด้วยผู้เขียนกำลังศึกษาวิทยานิพนธ์ในหัวข้อ “บุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศไทย แต่ถูกถือว่าเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย : บุคคลภายใต้มาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508” เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดของรัฐไทยกับรัฐต่างประเทศ ในการจัดการประชากรบุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในรัฐ ผู้เขียนจึงศึกษากฎหมายของสหรัฐอเมริกาในการจัดการประชากรบุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นประเทศอันใช้ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law) ซึ่งแตกต่างกับประเทศไทย อันใช้ระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law) จึงน่าพิจารณาว่าประเทศในระกฎหมายจารีตประเพณีนั้น มีแนวคิดในการพิจารณาการได้มาซึ่งสัญชาติโดยการเกิดตามหลักดินแดน ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และมีแนวคิดในการพิจารณาการสิทธิเข้าเมืองและสิทธิอาศัยของบุตรคนต่างด้าวซึ่งเกิดในสหรัฐอเมริการอย่างไร

---------------------------------

หัวข้อการได้มาซึ่งสัญชาติสหรัฐอเมริกาตามหลักดินแดนของบุตรของคนต่างด้าว

---------------------------------

“กฎหมายของสหรัฐอเมริกาบัญญัติรับรองการได้มาซึ่งสัญชาติตามหลักดินแดนหรือไม่?

การได้มาซึ่งสัญชาติย่อมเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของสหรัฐอเมริกานั้น ปรากฏหลักการพิจารณาการได้มาซึ่งสัญชาติตาม Immigration and Nationality Act (INA) B.E. 1952[2] ดังนี้

“INA: ACT 301 - NATIONALS AND CITIZENS OF THE UNITED STATES AT BIRTH

Sec. 301[3]. [8 U.S.C. 1401] The following shall be nationals and citizens of the United States at birth

(a) a person born in the United States, and subject to the jurisdiction thereof; 

(b) a person born in the United States to a member of an Indian, Eskimo, Aleutian, or other aboriginal tribe: Provided, That the granting of citizenship under this subsection shall not in any manner impair or otherwise affect the right of such person to tribal or other property; 

(c) a person born outside of the United States and its outlying possessions of parents both of whom are citizens of the United States and one of whom has had a residence in the United States or one of its outlying possessions, prior to the birth of such person; 

(d) a person born outside of the United States and its outlying possessions of parents one of whom is a citizen of the United States who has been physically present in the United States or one of its outlying possessions for a continuous period of one year prior to the birth of such person, and the other of whom is a national, but not a citizen of the United States; …

จากข้างต้น จึงพิจารณาได้ว่าประเทศสหรัฐอเมริกา ยอมรับหลักการได้มาซึ่งสัญชาติโดยการเกิดตามหลักดินแดน และสัญชาติโดยการเกิดตามหลักสืบสายโลหิต กล่าวคือ

การได้มาซึ่งสัญชาติตามหลักดินแดน: ประเทศสหรัฐอเมริกายอมรับหลักการได้มาซึ่งสัญชาติโดยการเกิดตามหลักดินแดนอย่างไม่มีเงื่อนไข กล่าวคือบุคคลทุกคนซึ่งเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ย่อมได้สัญชาติอเมริกาตามหลักดินแดน โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าบุพการีของบุคคลนั้นมีสัญชาติสหรัฐอเมริกาหรือไม่ ดังนั้น บุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ย่อมได้สัญชาติอเมริกาตามหลักดินแดนโดยผลของกฎหมาย

ทั้งนี้ หลักการยอมรับการได้มาซึ่งสัญชาติตามหลักดินแดนโดยไม่มีเงื่อนไขดังกล่าวมีลักษณะสอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยสัญชาติไทยในยุคก่อนมีการประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 กล่าวคือ ในช่วงตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2456 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 รับรองหลักการได้มาซึ่งสัญชาติไทยตามหลักดินแดนในกฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก จนถึงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 อันเป็นวันก่อนประกาศใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ซึ่งมาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 โดยสร้างเงื่อนไขการได้มาซึ่งสัญชาติตามหลักดินแดนของบุตรของคนต่างด้าว ตั้งแต่นั้นมา บุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศไทย และปรากฏบุพการีมีสถานะการเข้าเมืองในลักษณะไม่ถาวร จะได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดนต่อเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอนุมัติคำสั่งให้สัญชาติ

การได้มาซึ่งสัญชาติตามหลักสืบสายโลหิต: การได้มาซึ่งสัญชาติตามหลักสืบสายโลหิตนั้นเป็นหลักรอง กล่าวคือ หลักนี้จะนำมาพิจารณาต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวเกิดนอกประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏเงื่อนไขการพิจารณาสิทธิอาศัยของบุพการีประกอบการได้มาซึ่งสัญชาติตามหลักสืบสายโลหิต อาทิ การมีถิ่นที่อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา หรือการอาศัยอยู่จริงในประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าจุดเกาะเกี่ยวที่มีความเข้มข้นอันนำไปสู่การได้มาซึ่งสัญชาติสหรัฐอเมริกาโดยการเกิด คือ  ความสัมพันธ์ของบุคคลกับดินแดนสหรัฐอเมริกานั้น

“บุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา จะตกเป็นคนต่างด้าวได้หรือไม่?

ดังที่กล่าวข้างต้นว่า สหรัฐอเมริกายอมรับหลักการได้มาซึ่งสัญชาติโดยหลักดินแดนครอบคลุมถึงดินแดนอาณาเขตและเขตอำนาจศาล และไม่ปรากฏข้อยกเว้นใดๆ ภายใต้หลักดังกล่าว กล่าวคือ บุคคลใดก็ตามที่เกิดในราชอาณาจักรสหรัฐอเมริกา ย่อมมีสิทธิในสัญชาติสหรัฐอเมริกา ดังนั้น บุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศอเมริกา โดยหลักแล้วย่อมไม่อาจตกอยู่ในสถานะคนต่างด้าวได้

อย่างไรก็ดี อาจปรากฏกรณีบุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศอเมริกา ไม่ไปใช้สิทธิในสัญชาติสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ ไม่ไปแจ้งเกิดในทะเบียนราษฎรของประเทศสหรัฐอเมริกา กรณีนี้บุตรของคนต่างด้าวดังกล่าว ย่อมตกอยู่ในสถานะคนต่างด้าว อันเนื่องมากจากการเลือกไม่ใช้สิทธิในสัญชาติสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดี สิทธิดังกล่าวย่อมกลับมามีผลทันทีที่บุคคลนั้นแสดงว่าตนเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา

หลักการดังกล่าวจึงมีความแตกต่างจากประเทศไทย เนื่องจากฎหมายว่าด้วยสัญชาติของไทยบัญญัติกำหนดเงื่อนไขการได้มาซึ่งสัญชาติตามหลักดินแดนของบุตรคนต่างด้าว ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคหนึ่ง กล่าวคือ หากปรากฏว่าบุพการีนั้นมีสถานะการเข้าเมืองลักษณะไม่ถาวร บุตรคนต่างด้าวดังกล่าวย่อมไม่ได้สัญชาติไทยตามหลักดินแดนโดยผลของกฎหมาย กล่าวคือ ต้องดำเนินการร้องขอสัญชาติไทยจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสอง ซึ่งในระหว่างที่รัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งอนุมัติสัญชาติ บุตรของคนต่างด้าวนั้นย่อมตกอยู่ในสถานะ “คนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย” ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม

---------------------------------

หัวข้อการจัดการประชากรบุตรของคนต่างด้าว ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา

---------------------------------

“กฎหมายของฝรั่งเศสพิจารณาจัดการประชากรบุตรของคนต่างด้าว ซึ่งมีสถานะเป็น คนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างไร?

เนื่องด้วยตามกฎหมายนั้น บุคคลซึ่งเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกาย่อมได้สัญชาติสหรัฐอเมริกา ดังนั้น บุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ย่อมมีสิทธิในสัญชาติอเมริกา ดังนั้น สิทธิในการเข้าเมืองและสิทธิอาศัยถาวรของคนกลุ่มนี้ จึงไม่ได้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองสหรัฐอเมริกา แต่ย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองสิทธิเข้าเมืองและสิทธิอาศัยถาวรในสถานะคนชาติ ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ บุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และมีสถานะเป็นคนสัญชาติอเมริกาแล้วนั้น เมื่อบุตรดังกล่าวอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ย่อมมีสิทธิร้องขอสิทธิอาศัยถาวรให้แก่บุพการีคนต่างด้าวของตนได้ด้วย[4]

จึงกล่าวได้ว่า บุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา ย่อมมีสิทธิในสัญชาติอเมริกา เนื่องมาจากจุดเกาะเกี่ยวอันเข้มข้นกับดินแดนของสหรัฐอเมริกา กรณีนี้ การตกอยู่ในสถานะคนต่างด้าว จะเกิดขึ้นได้จากความประสงค์ที่จะไม่ใช้สิทธิในสัญชาติอเมริกาของบุตรคนต่างด้าวเองเท่านั้น อย่างไรก็ดี ไม่ปรากฏบทบัญญัติในกฎหมายของสหรัฐอเมริกา กำหนดให้บุตรของคนต่างด้าวซึ่งไม่ใช้สิทธิในสัญชาติอเมริกา ต้องตกในสถานะ “คนเข้าเมืองผิดกฎหมาย” แต่อย่างใด ดังนั้น บุตรของคนต่างด้าวซึ่งเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา จึงไม่อาจกลายเป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมายโดยการบัญญัติของกฎหมาย ดังเช่นปรากฏในกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของไทย ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ได้เลย



[1] คำว่า บุตรของคนต่างด้าวนั้น หมายถึง คนต่างด้าวในรุ่นที่ 2

[2] Policy Manual: Citizenship and Nationalization, <http://www.uscis.gov/policymanual/HTML/PolicyManual-Volume12.html>.

[3]Sec. 301 “The following shall be nationals and citizens of the United States at birth

(a) a person born in the United States, and subject to the jurisdiction thereof; 

(b) a person born in the United States to a member of an Indian, Eskimo, Aleutian, or other aboriginal tribe: Provided, That the granting of citizenship under this subsection shall not in any manner impair or otherwise affect the right of such person to tribal or other property; 

(c) a person born outside of the United States and its outlying possessions of parents both of whom are citizens of the United States and one of whom has had a residence in the United States or one of its outlying possessions, prior to the birth of such person; 

(d) a person born outside of the United States and its outlying possessions of parents one of whom is a citizen of the United States who has been physically present in the United States or one of its outlying possessions for a continuous period of one year prior to the birth of such person, and the other of whom is a national, but not a citizen of the United States;  

(e) a person born in an outlying possession of the United States of parents one of whom is a citizen of the United States who has been physically present in the United States or one of its outlying possessions for a continuous period of one year at any time prior to the birth of such person; 

(f) a person of unknown parentage found in the United States while under the age of five years, until shown, prior to his attaining the age of twenty-one years, not to have been born in the United States;

(g) a person born outside the geographical limits of the United States and its outlying possessions of parents one of whom is an alien, and the other a citizen of the United States who, prior to the birth of such person, was physically present in the United States or its outlying possessions for a period or periods totaling not less than five years, at least two of which were after attaining the age of fourteen years: Provided, That any periods of honorable service in the Armed Forces of the United States, or periods of employment with the United States Government or with an international organization as that term is defined in section 1 of the International Organizations Immunities Act (59 Stat. 669; 22 U.S.C. 288) by such citizen parent, or any periods during which such citizen parent is physically present abroad as the dependent unmarried son or daughter and a member of the household of a person (A) honorably serving with the Armed Forces of the United States, or (B) employed by the United States Government or an international organization as defined in section 1 of the International Organizations Immunities Act, may be included in order to satisfy the physical-presence requirement of this paragraph. This proviso shall be applicable to persons born on or after December 24, 1952, to the same extent as if it had become effective in its present form on that date; and 

(h) a person born before noon (Eastern Standard Time) May 24, 1934, outside the limits and jurisdiction of the United States of an alien father and a mother who is a citizen of the United States who, prior to the birth of such person, had resided in the United States. 302 persons born in Puerto Rico on or after April 11, 1899

[4] Bringing Parents to Live in the United States as Permanent Residents, <http://www.uscis.gov/portal/site/uscis/menuitem.eb1d4c2a3e5b9ac89243c6a7543f6d1a/?vgnextoid=5d893e4d77d73210VgnVCM100000082ca60aRCRD&vgnextchannel=5d893e4d77d73210VgnVCM100000082ca60aRCRD>.


หมายเลขบันทึก: 532981เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2013 05:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2013 05:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท