โครงงานวิทยาศาสตร์


   โครงงานวิทยาศาสตร์  หมายถึง  งานวิจัยเล็ก ๆ  ของนักเรียนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  หรือการแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยของนักเรียนโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  และมีอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ควบคุมอย่างใกล้ชิด

    โครงงานวิทยาศาสตร์  หมายถึง  การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีหลักเกณฑ์และต้องสำเร็จรูปในตัว  ผู้ศึกษาจะต้องมีความละเอียด  รอบคอบ  มีการสังเกต  และบันทึกผลที่ได้จากการศึกษาไว้ตามลำดับทุกขั้น  การวางรูปแบบโครงงานควรจะต้องดำเนินการล่วงหน้าให้รัดกุม

    โครงงานวิทยาศาสตร์  หมายถึง  การศึกษาเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งที่นักเรียนสนใจ  โดยมีการวางแผนที่จะศึกษาภายในขอบเขตของระดับความรู้  ระยะเวลา  และอุปกรณ์ที่มีอยู่  ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จะต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา  เพื่อให้ได้ผลงานที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง

องค์ประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์

1.  เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

2.  นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจ ตามระดับความรู้ความสามารถ

3.  เป็นกิจกรรมที่มีการนำกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าเพื่อตอบปัญหาที่สงสัย

4.  นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษาค้นคว้า ตลอดจนดำเนินการปฏิบัติทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูล หรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งแปลผล สรุปผล และนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 

 คุณค่าของกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ พอสรุปได้เป็นข้อได้ดังนี้

1.  นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ สารและการเปลี่ยนแปลง แรงและการเคลื่อนที่ โครงสร้างและองค์ประกอบของโลก และอื่นๆอีกมากมาย โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ทำโครงงานวิทยาศาสตร์หรือสร้างชิ้นงาน

2.  สร้างสำนึกและรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ด้วยตนเอง

3.  เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคนได้พัฒนา และแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง

4.  ทำให้นักเรียนมีความสามารถพิเศษมีโอกาสแสดงความสามารถของตนเอง

5.  ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็น สนใจการเรียนวิทยาศาสตร์ และสนใจประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์

6.  ช่วยให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์

7.  นักเรียนได้รู้ถึงขั้นตอนการทำงานอย่างเป็นระบบจากการทำงานร่วมกับครูที่ปรึกษาโครงงาน

8.  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียนให้ดีขึ้นและช่วยกระตุ้นให้ชุมชนได้สนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

9.  ให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้จักแสดงความคิดเห็นของตนเอง และรู้จักแสดงออก


หมายเลขบันทึก: 532905เขียนเมื่อ 14 เมษายน 2013 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2013 07:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท