กระบวนการรับรู้และกระบวนการคิดด้วยโยนิโสมนสิการ


เราคิดอย่างไร เราก็เป็นเช่นนั้น ดังนั้นการคิดจึงเป็นตัว กำหนดบุคลิกภาพ และวิถีชีวิตของคนและสังคม

เราคิดอย่างไร เราก็เป็นเช่นนั้น ดังนั้นการคิดจึงเป็นตัว กำหนดบุคลิกภาพ และวิถีชีวิตของคนและสังคม เช่นเราคิดว่าคนๆนี้เป็นขโมย เราก็จะดูกิริยาอาการของคนๆนั้น ดูช่างเป็นขโมยไปหมดไม่ว่าคนๆนั้นจะทำอะไร พอเราพบของๆเราที่ทำหายไป เราก็เริ่มมองเขาแบบไม่ใช่ขโมย กิริยาอาการก็ไม่เห็นเป็นขโมย จะเห็นว่ากริยาอาการ ความรู้สึก ที่มีต่อสิ่งรอบข้างของคนเรานั้น เปลี่ยนไปตามความคิด เราคิดเช่นไร ก็เหมือนเราสวมแว่นสีนั้น  แล้วเราก็มองโลกผ่านแว่นที่เราใส่  สีของโลกขณะนั้นก็จะเพี้ยนไปตามสีของแว่น

จากแผนภูมิ(รูปที่ ๕.๒  เราจะพบว่า กระบวนการรับรู้จะเริ่มจาก อายตนะของเรา มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ของเราเป็นประตูให้ รูป เสียง กลิ่น รสสัมผัส อารมณ์ เข้ามาสู่ตัวเรา ทำให้ตัวเรารับรู้ต่ออารมณ์นั้นเป็น ได้เห็น ได้ยิน รับกลิ่น รู้รส รู้สัมผัส และรู้อารมณ์ ก็เกิดการรับรู้เกิดขึ้น (เช่น ตาพบดอกไม้ ตัวเราก็รับภาพ รับรู้ว่าเห็นดอกไม้) จากนั้นตัวเราก็เกิดอารมณ์ขึ้นมาว่า สุข - ทุกข์ - เฉย ๆ แล้วเกิดการจำได้หมายรู้ เมื่อจำได้ก็เกิดการคิดขึ้น (เช่น เกิดอารมณ์ ชอบเป็นสุขเมื่อเห็นดอกไม้ เกิดจำได้ว่าแบบนี้ซิฉันชอบ แล้วเกิดการคิดวิเคราะห์ว่าจะทำอะไรต่อไปดี)

ความคิดของคนเราจะมี ๒ อย่างคือ คิดปรุงแต่ง (คิดตามอารมณ์พาไป) กับคิดไม่ปรุงแต่ง (มองตามความเป็นจริงอย่างรู้เท่าทัน)  การคิดปรุงแต่งในทางตอบสนองตัณหา คือถ้ารู้สึกว่าดี รู้สึกชอบก็จะเกิดตัณหาอยากได้ ถ้ารู้สึกว่าไม่ดี ไม่ชอบ ก็เกิดตัณหาอยากหนีให้พ้น สุดท้ายก็เกิดการคับข้องทุกข์ใจขึ้น  การคิดไม่ปรุงแต่ง คือการรับรู้ตามความเป็นจริง  ก็จะได้ความรู้มาเพื่อแก้ปัญหาดับปัญหา โดยใช้สติปัญญา ใช้วิธีคิดแบบแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) ก็จะเกิดปัญญาองค์ความรู้ และนำความรู้ความรู้นั้นมาแก้ปัญหาต่างๆได้รูปที่ ๕.๒ : ระบบความปฏิสัมพันธ์ระหว่าตัวเรากับโลก

คำสำคัญ (Tags): #อายตนะ ๖
หมายเลขบันทึก: 532803เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2013 22:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2013 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท