ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การนำเสนออย่างมีตรรกะ


การนำเสนออย่างมีตรรกะ

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์

www.drsuthichai.com

  การนำเสนออย่างมีตรรกะ เป็นการสื่อสารด้วยคำพูด การเขียน อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งทำให้ผู้รับการฟังหรืออ่าน เกิดความเข้าใจ เกิดความศรัทธา เกิดความเชื่อถือในตัวของผู้พูดหรือผู้เขียน การนำเสนออย่างมีตรรกะจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรที่จะศึกษา เรียนรู้และฝึกฝนกัน

  สำหรับกระบวนการสื่อสารอย่างมีตรรกะ เราควรคำนึงถึง เรื่องของ 1.วัตถุประสงค์ของการนำเสนอ 2.วิธีการนำเสนอ 3.ความสัมพันธ์กับผู้ที่ต้องการจะสื่อสาร 4.เงื่อนเวลาหรือพื้นที่สื่อ

  1.วัตถุประสงค์ของการนำเสนอเป็นสิ่งที่ผู้นำเสนอจะต้องมีความเข้าใจว่าสิ่งที่นำเสนอในครั้งนั้น เราต้องการอะไร เช่น เราต้องการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องของความบันเทิง , เราต้องการการสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องของการจูงใจหรือเราต้องการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูล ให้ความรู้ ในการนำเสนอในครั้งนั้นๆ

  2.วิธีการนำเสนอ เมื่อเราทราบวัตถุประสงค์แล้ว สำหรับการพูด การเขียน เราจำเป็นจะต้องหาวิธีการเพื่อที่จะทำให้การนำเสนอของเราเกิดความน่าสนใจ เช่น หากเป็นการนำเสนอเพื่อให้ความรู้ในห้องฝึกอบรม เราก็ควรที่จะมีวิธีการนำเสนอที่หลากหลายเพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย มีกิจกรรม มีเกมส์ สลับสับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความสนุกสนานในห้องประชุม หรือ หากเป็นการนำเสนอด้วยการเขียน หากวัตถุประสงค์ในการเขียนในครั้งนั้นๆ เป็นการเขียนเพื่อความบันเทิง เช่นการเขียน นิยาย  เราก็ควรมีการใช้ภาษาที่ทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าการเขียนในงานวิชาการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ เป็นต้น

  3.ความสัมพันธ์กับผู้ที่ต้องการจะสื่อสาร มีความสำคัญมากต่อการสื่อสารเกือบทุกประเภท เพราะหากว่าเรานำเสนอได้ดีขนาดไหน แต่ผู้ฟัง ผู้อ่าน ไม่ชอบเรา มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตัวเราแล้ว ผลที่ออกมาจากการประเมินก็มักจะไม่ดีตามไปด้วย ฉะนั้นเราจึงไม่แปลกใจที่เราเห็นนักนำเสนอในยุคปัจจุบัน มักมีการสร้างแฟนคลับ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น Facebook , การจัดรายการทางโทรทัศน์ , การจัดรายการผ่านวิทยุ , การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ เป็นต้น

  4.เงื่อนเวลาหรือพื้นที่สื่อ  ในการนำเสนอทุกแห่ง มักมีเรื่องของการกำหนดเวลาพูดให้แก่ผู้พูดหรือพื้นที่สื่อให้แก่ผู้เขียน ดังนั้น เราควรนำเสนอหรือทำการบ้าน ว่าจะทำเสนอให้สั้น ยาว ย่อ ขยาย ในส่วนใดบ้าง เพื่อให้เหมาะสมกับเรื่องของเงื่อนเวลาหรือพื้นที่สื่อที่มีอย่างจำกัด

  Why  Why Why (ทำไม ทำไม ทำไม) เป็นคำถามที่นักนำเสนออย่างมีตรรกะ ควรใช้เป็นเครื่องมือในการตั้งคำถามและตอบคำถาม เพื่อการตั้งคำถาม ทำไม จะทำให้เราทราบถึง สาเหตุ ของปัญหา ยิ่งเราถามคำถามว่า ทำไม ซ้ำไปซ้ำมา หลายๆ เที่ยว ก็จะทำให้เราทราบต้นตอที่มีความลึกซึ้งยิ่งๆขึ้น

  เมื่อมีปัญหาในหน่วยงานหรือองค์กร ท่านลองตั้งคำถามว่า “ ทำไม” ดูซิครับแล้วที่จะพบคำตอบในการแก้ไขปัญหา และถ้าจะให้ดีท่านควรที่จะมีการสื่อสารโดยการพูดคุยกันต่อหน้า ซึ่งจะดีกว่าการนำเสนอโดยผ่านการรับโทรศัพท์ การส่งอีเมล์ การส่งแฟกซ์ เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่าง บริษัทโตโยต้า ได้นำ 5 Why  คือวิธีวิเคราะห์การทำงานมาใช้ในการทำงาน ซึ่งมีการถาม Why (ทำไม) ซ้ำไปซ้ำมาถึง 5 ครั้ง ทำให้เกิดกระบวนการปรับปรุงงานได้ดียิ่งขึ้น

  ศาสนาพุทธ โดยพระศาสดา พระพุทธเจ้า เป็นแบบอย่างที่ดีในการนำเสนอแบบตรรกะ ซึ่งเป็นการสอนแบบมีเหตุมีผล ซึ่งก่อนที่ศาสนาพุทธเกิด ก็ได้มี ศาสนา ความเชื่ออื่นๆ เกิดขึ้นมาก่อนมากมาย แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมกว้างขวางก็เพราะการสอนโดยการขาดความมีตรรกะหรือขาดความมีเหตุผล บางศาสนา บางความเชื่อ ก็สูญหายไปจากโลก ซึ่งตรงกันข้ามกับพุทธศาสนา ที่มีมาอย่างยาวนานถึง 2556 ปี

  อัลเบิร์ต ไอสไตล์ นักวิทยาศาสตร์เอกระดับโลก บุคคลที่มีความเป็นอัจฉริยะได้กล่าวก่อนเสียชีวิตว่า หากให้นับถือศาสนาใดศาสนาหนึ่ง เขาจะเลือกนับถือ ศาสนาพุทธ เขาได้ให้เหตุผลว่า เพราะศาสนาพุทธ สอนอย่างมีเหตุมีผล นั่นเอง

                  
หมายเลขบันทึก: 532681เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2013 10:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2013 10:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท