พายุฤดูร้อน กับการเตรียมการของเกษตรกรผู้ปลูกลำไย


"อย่ากลัวคนอื่นหัวเราะเยาะ หรือดูถูกถากถ่างเราเลยค่ะ ถ้าเราจะต้องทำอะไรๆ ที่แตกต่างไปจากที่คนอื่นๆ ที่เขาเคยทำกันมา และเมื่อถ้าเราคิดว่าสิ่งที่จะทำนั้นเหมาะสม ถูกต้องแล้ว ก็มุ่งมั่นทำต่อไปเถอะค่ะ นวัตกรรมใหม่ๆ ย่อมเกิดจากการกระทำที่แหวกแนวใหม่ๆ ซึ่งผิดแปลกไปจากปกติเสมอ...ค่ะ"

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

.

            เดือนมีนาคม-เมษายน ของทุกๆ ปี  จะเป็นช่วงเวลาที่ความกดอากาศสูงจากทางประเทศจีน  มีกำลังอ่อนลงเ่ลยถูกความกดอากาศต่ำยันกลับประเทศจีนไปแล้ว   ช่วงเดือนมีนาคม ลมตะวันตกเฉียงใต้จะพัดผ่านทะเลอันดามัน  และหอบความชื้นจากป่าไม้ในประเทศพม่า พัดเข้าหาเขตความร้อนในประเทศไทย 

            ที่มันร้อนเพราะไปตัดต้นไม้ทำลายป่ากันเยอะ  จนพื้นดินที่เก็บความร้อนสะสมในช่วงฤดูร้อน ได้คายความร้อนปริมาณมากออกมา แ่ละลอยตัวสูงอย่างรวดเร็ว  จึงเป็นเหตุให้ลมพายุดังกล่าวมีความเร็วลมสูงมาก และพัดกระแทกมาเป็นระยะๆ   

             เพราะอากาศทางภาคเหนือ และภาคอีสานกลางคืนหนาว  กลางวันร้อน  มีความแตกต่างของอุณหภูมิค่อนข้างสูง  เลยเป็นที่มาของลมพายุฤดูร้อน  ที่สร้างความเสียหายอย่างมากมายกับประชาชน และเกษตรกรที่ทำการเกษตร และกสิกรรม

            พอเข้าเดือนเมษาบน   ก็มักจะเจอกับหย่อมความกดอาการต่ำ ที่จะเกิดในบริเวณทะเลจีนตอนใต้ตอนล่าง เคลื่อนตัวจากทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่าน อ่าวไทย  เวียดนาม และกัมพูชาเข้ามาประทะกับความกดอากาศสูงกำลังปานกลาง ทำให้เกิดลมตะวันตกเฉียงใต้ พัดหมุนวนกลายเป็นลมพายุฤดูร้อน แบบหมุนวน  คือพัดมาได้ทุกทิศ ทุกทาง  และทำความเสียหายให้กับทรัพย์สินของประชาชน  และเกษตรกรทั่วประเทศ  

           โดยเฉพาะปีนี้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยแถวภาคเหนือ และภาคตะวันออกในจันทบุรี  โดนพายุพัดกระชากต้นลำไยอย่างหนักหน่วง  วันนี้มาขวา พรุ่งนี้มาซ้าย โยกไปมา ต้นลำไยของเกษตรกรหลายรายทนไม่ไหว  ทั้งเอียง ทั้งหัก ทั้งโค่น กันไปเป็นแถบๆ....เลยค่ะ  

           แต่ที่สวนลำไยของยุ้ยโชคดี ที่ปีนี้ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ เนื่องจากได้มีการศึกษาทิศทางของลมพายุไว้ล่วงหน้า ทั้งจากภาคทฤษฎีั และการสอบถามผู้เฒ่า ผู้แก่ที่ทำเกษตรกรรมมา  เพราะแม้ทิศทางจะมาทางเดิมก็จริง แต่ภูมิศาสตร์หน้าพื้นดิน ซึ่งประกอบด้วยภูเขา แนวสันเขา ป่าไม้  และส่วนเกษตรที่ปลูกขึ้นหนาแน่น  ทำให้ทิศทางของเมฆฝน และลมระดับล่าง แปรเปลี่ยนทิศทางได้เสมอ...ค่ะ  

           ปีนี้ได้เตรียมป้องกันไว้ล่วงหน้าเป็นอย่างดี ไม่เหมือนเมื่อปีที่ผ่านมา พัดหักโค่นทำความเสียหายไปเกือบ 10 กว่าต้นเลยทีเดียว

           วันที่ 28 มีนาคม 56  ที่ผ่านมา เป็นวันที่พายุเข้ามาครั้งหนึ่ง จำได้ก่อนหน้านั้นอากาศร้อนอบอ้าวมาหลายวัน ผิวหน้าดินของต้นลำไยแห้งแตกมาก  ฝนก็ไม่ยอมตกลงมาสักที เลยตัดสินใจเอาเครื่องสูบน้ำออกไปให้น้ำกับต้นลำไยซะหน่อย ต้นละ 30 นาที  กว่าจะรดน้ำเสร็จก็เย็น  พอรดเสร็จฝนตกเฉยเลย  เสียดายเงินค่าน้ำมันตั้ง 750.- วันนั้นไม่ได้อยู่ที่สวนลำไย เลยไม่รู้ไม่เห็นอะไร 

           วันที่ 31 มีนาคม ออกใส่ปุ๋ยเลยจำเป็นต้องรดน้ำไปด้วย รดไปจนเสร็จแ้ล้ว ดูดิ ฝนตกอีกแระ แต่คราวนี้มีลมพายุฤดูร้อนเข้ามาด้วยอ่ะค่ะ  ตอนนั้นอยู่ที่สวนลำไย เก็บข้าวของไม่ทัน ได้แต่หลบอยู่บนศาลา  ลมพายุพัดแรงมาก  ทำเอาใจหายเลย

           ยังจดจำภาพลมพายุที่พัดกระแทกต้นลำไย เป็นระยะๆ ตอนนั้นอยากไปเอากล้องถ่ายรูป มาถ่ายแล้วเอามาโพสต์ให้ดูกัน  แต่ว่ามันทำไม่ได้ค่ะ ลมพายุพัดแรงมากค่ะ   เดินต้านแรงลมพายุ และเม็ดฝนออกไปไม่ไหวจริงๆ  ลมพัดแรงมาก  ทั้งลม ทั้งฝนแรงจนต้องกระโดดหนีออกจากศาลาที่สร้างไว้  เพราะฝนมันสาดเปียกทั้งศาลา และแรงขนาดนั้น กลัวว่าจะพัดกิ่งไม้พุ่งเข้ามาใส่เราได้  เลยตัดสินใจวิ่งหนีหลบเข้าไปอยู่ในห้องน้ำ ซึ่งมีผนังก่ออิฐฉาบปูนป้องกันแรงลมได้..อ่ะค่ะ   จากนั้นก็อาศัยปินมองลอดช่องผนังระบายอากาศ เพื่อดูภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายนอก  

           ลมพายุที่พัดเหมือนลมจะพยายามกระชากต้นลำไยให้หักโต่นให้ได้เลยค่ะ  ฝนตกอยู่ประมาณ 1 ชั่วโมง ทั้งลม ทั้งฝน  ยังดีที่หน้าดินยังไม่อิ่มน้ำมากนัก  ถ้าดินอิ่มน้ำมากต้องระวัง  เพราะลมพายุช่วงต่อๆ มา  เขาจะพัดดึงกระชากเอารากต้นลำไยออกมาจากผิวดินเลย....ค่ะ   

            ความรุนแรงคล้ายๆ กับภาพที่หามาให้ดูค่ะ เอนกันแบบนี้เลย ยังโชคดีที่ไม่มีลูกเห็บตกใส่ หรือพัดหลังคากระเบื้องห้องน้ำที่อาศัยหลบพายุอยู่  พลอยปลิวไปด้วย

                                

               ภาพที่เอามาลงนี่ไม่ใช่ภาพที่สวนของยุ้ยหรอกค่ะ แต่สภาพมันใกล้เคีึยงกันมากเลย


ลิงค์ภาพวีดีโอ พายุฤดูร้อนลูกเล็กๆ ลูกหนึ่ง ที่บังเอิญเก็บภาพได้  เพราะหนีกลับบ้านไม่ทัน

ส่วนลูกหนักๆ กว่านี้  ไม่ได้เอากล้องติดมือไปด้วยค่ะ เ่ลยไม่มีภาพมาให้ดูกัน 

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2556 ที่ตกที่สวนลำไยของยุ้ย...ค่ะ

ตกทุกวันตามเวลา....เป๊ะ  ราวๆ 14.00 น.

https://www.facebook.com/photo.php?v=559853784037852&set=vb.100000397078840&type=3&theater

และ

https://www.facebook.com/photo.php?v=559851930704704&set=vb.100000397078840&type=3&theater

อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับพายุ ลูกนี้              

              ทุกๆ วัน  ที่บริเวณสวนลำไย  ฟ้าจะโปร่งสีฟ้า มีเมฆกระจัดกระจาย จะมีแต่แดด ซึ่งจะร้อนจัดมากตั้งแต่เช้า จนถึงเวลาประมาณ 13.00 น.  จากนั้นเมฆฝนก็จะก่อตัวจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และะพัดเข้ามาซัดสวนลำไยของยุ้ยในเวลาประมาณ 14.00 น.  ตามภาพข้างล่างที่ถ่ายรูปมาให้ดูนี่แหละ....ค่ะ

                                     

             โดยจะมีพายุฝน แ่ละลมพักกระชากแรงๆ ประมาณ 10-15 นาที   จากนั้นไปก็จะเป็นพายุฝนตกหนัก (แต่ลมจะไม่ค่อยรุนแรงเหมือนช่วงแรกๆ) ไปอีกประมาณ 30-60 นาที  และต่อเนื่องด้วยฝนตกพร่ำๆ ไปอีก 2-3 ชั่วโมง...ค่ะ

              เป็นอย่างนี้ทุกวัน  มา 3 สัปดาห์ต่อเนื่องแล้ว  ตั้งแต่ กลางเดือนเมษายน -ต้นเดือนพฤษภาคม 2556  จนวันนี้ 6 พฤษภาคม 2556 ก็ยังคงตกเหมือนเดิม  

              ฝนตกแบบนี้ทำให้ยอดดอกลำไยของยุ้ย กลายเป็นใบแทรกออกมาครึ่งสวนเลย...ค่ะ  คาดว่าปีนี้ คงจะไม่ได้กำไรตามเป้าหมาย  แต่อาจได้ทุนคืนมาเพียงบางส่วน...ค่ะ

           พอกลับไปที่หมู่บ้าน หลังคาสังกะสี ปลิวตกไปทั่วเลยค่ะ ชาวบ้านเขาบอกว่าิ ต่างคนต่างต้องวิ่งหลบแผ่นสังกะสีกันวุ่นวายไปหมด

                                 

                                  ภาพนี้ก็คล้ายๆ กันแหละ...ค่ะ  หลังคาเปิง วิ่งหลบสังกะสีกัน


                              

                  

               แต่ถ้าเป็นเกษตรกรผู้ปลูกลำไย แถวภาคเหนือ คงจะมีรายการลูกเห็บ ทั้งก้อนเล็ก ก้อนใหญ่  ตกหล่นทำลายหลังคาบ้าน  หรือหล่นใส่หัวคน จนได้รับบาดเจ็บสาหัสก็มีบ่อย  

               นอกจากนั้นลูกเห็บที่ตกลงมาในเขตการทำการเกษตร  ก็จะทำลายพืชผลทางการเกษตรหลายๆ ประเภท  ที่กำลังรอจะเก็บเกี่ยวผลผลิต  หรืออยู่ในช่วงระหว่างการเจริญเติบโต  สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจของทางภาคเหนือ และภาคอีสาน...ค่ะ 

          ในปีนี้เกษตรกรชาวสวนลำไย ทางภาคเหนือ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาที่เจอเข้ากับพายุฤดูร้อนลูกแรก กับลูกที่ 2 ก็โดนพายุไปเต็มๆ  ทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายอย่างหนัก...ค่ะ  ขอแสดงความเสียใจด้วย และขอเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไป...นะคะ

          สำหรับเกษตรกรที่เพิ่งเก็บผลผลิตไปในต้นเดือนมีนาคม ที่ตัดแต่งกิ่งหลังการเก็บผลผลิตแล้ว ก็ถือได้ว่าโชคดีไป...ค่ะ  ที่ต้นลำไยในสวนของท่าน ไม่ต้องรับแรงต้นทานลมอย่างรุนแรงมาก จากพายุฤดูร้อนลูกนี้

สวนลำไย 4 พ.ค.56 054.avi

คติสำหรับคนที่เก็บผลผลิตลำไยไปแล้วในช่วงต้นเดือนมีนาคมของทุกปี   

"ค้ำยันต้นให้แกร่ง แต่งกิ่งให้โปร่งไว้"...จะช่วยได้...ค่ะ


           แต่สำหรับสวนยุ้ย ทำอย่างนั้นไม่ได้ค่ะ เพราะเป็นกิ่งลำไย และใบชุดที่ 3 แล้ว และอยู่ในช่วงกำลังจะออกดอกด้วย  เลยต้องเก็บใบไว้  ซึ่งใบจำนวนมากดังกล่าว จะเป็นตัวต้านรับแรงลมเต็มๆ   พร้อมที่จะหักโค่นได้เสมอ   ดังนั้นจึงต้องใช้วิธีผูกไม้ไผ่ลำขนาดยักข์ๆ เลย   เพื่อช่วยพยุงต้นลำไย เป็นการถ่ายน้ำหนัก  ช่วยให้ลำไยสามารถต้านแรงลมพายุได้....ค่ะ


          ที่เล่ามานี้ เพื่อจะพอให้ได้เห็นภาพพจน์   ยิ่งถ้าใครได้มีโอกาสเห็นลมพายุพัดสวนลำไยตนเอง  ก้จะรู้เลยว่าช่วงเวลาที่ผ่านมานั้น  เกษตรกรได้มีการเตรียมการไว้สำหรับป้องกันเรื่องลมพายุฤดูร้อนนี้ ได้ดีมากน้อยเพียงใด

          ลำไยกว่าจะโต ก็ใช้เวลานานนะคะ ดังนั้นเกษตรกรควรให้ความใส่ใจในการเตรียมการป้องกันวาตะภัย เอาไว้ล่วงหน้าค่ะ


การเตรียมการป้องกันต้นลำไย เพื่อให้ลดความเสียหายอันเกิดจากพายุฤดูร้อน

            เมื่อลำไยเริ่มปลูกใหม่ๆ ควรที่จะได้มีการปักไม้ไว้ เพื่อใช้ผูกยึดกิ่งหลักของต้นลำไยไว้ด้วยเสมอ  ส่วนมากจะนิยมใช้ไม้ไผ่เหลา  หรือไม้กระถิน  และให้มั่นดูแลความแข็งแรงของไม้หลัก ทุกๆ ปี เพราะมันผุง่าย เมื่อพบให้ทำการเปลี่ยนซะด้่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือน กุมภาพันธ์  เพื่อเตรียมรับมือกับพายุในเดือนมีนาคม-เมษายน 

            ลำไย 1-2 ปี จะเริ่มมีลำต้น และทรงพุ่มขนาดใหญ่ สมควรที่เราจะต้องผูกหักแบบกระโจม 3 ขา หรือจะ 4 ขา ก็ตามแต่จะสะดวก เนื่องจากกิ่งก้านลำไยเติบโตเร็ว และแผ่ออกไปทุกทิศ ทุกทาง  ให้เกษตรกรผูกยึดโยงกิ่งต่างๆ เหล่านั้นกับหลักของกระโจมที่อยู่ใกล้ที่สุด ถ้าให้ดีก็ยึดสามหลักเลยจะช่วยต้านทานกับลมพายุได้ดีขึ้นค่ะ

                              

                                  นำไม้ลวก 3  ท่อน ตัดให้มีความยาวเผื่อไว้ประมาณ ท่อนละ 2 เมตร

                      ผูกเป็นกระโจม 3 ขา รวบเข้าด้วยกัน เพื่อยันกิ่งลำไยที่แข็งแรงที่อยู่สูงเกือบถึงยอด

       เกษตรกรควรปลูกไม้ลวกไว้ใช้เอง เพราะปลูกง่ายมากๆ  แ่ละต้องใช้ตลอดไป หาซื้อมีราคาแพงมาก

                                                          

                                                                  ปีถัดมา เมื่อต้นลำไยสูงขึ้น

                             ให้เกษตรกรปรับระดับของกระโจมค้ำยันให้สูงขึ้นตามความสูงของต้นลำไย

 

                              

                      การค้ำในระยะแรก สามารถผูกค้ำไม้รวกเ้ข้ากิ่งลำไยได้โดยตรงไม่้ต้องถึงกับแน่นมาก 

                              แต่อย่าผูกให้หลวมเกิน เนื่องจากเวลามีลมพายุพัด ต้นลำไยจะสีกับไม้ไผ่ 

                                                                   เกิดความเสียหายต่อลำไยได้ 

                                ในปีถัดมาเกษตรกรต้องหมั่นค่อยมาดูแลผูกปรับความแน่น ปีละ 1 ครั้ง

                             

                   ภาพต้นลำไยขนาดอายุ 2 ปี  ซึ่งมีการปรับระดับไม้ค้ำกิ่ง ที่ความสูงประมาณ 1.80 เมตร 

               เกษตรกรสามารถใช้ไม้ดังกล่าวเป็นตัววัดระดับความสูง เพื่อตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มเพียงปีละ 1 ครั้ง  

                         ที่ระยะความสูงทรงพุ่ม ระหว่าง 1.80 - 2.20 เมตรได้ โดยยังไม่ต้องเปลี่ยนไม้ค้ำ

            

              ลำไย 2-3 ปีขึ้นไป  เกษตรกรควรที่จะใช้ไม้ไผ่ลำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดอย่างต่ำ 2 นิ้ว ขึ้นไป ทำการผูกโยงเป็นกระโจม 3 ขา (เป็นอย่างน้อย) หรือถ้าให้ดี ก็ใช้ 4 ขาเลยค่ะ จะชัวร์มาก  ที่สวนยุ้ยตอนแรกใช้ 3 ขา แต่ตอนนี้ผูกใหม่แล้ว ใช้ 4 ขาเลย ได้ผลดีมาก ต้านแรงลมได้สุดๆ...ไปเลย เห็นมากับตาแล้วค่ะ

                             

                          กรณีที่เกษตรกร จะเริ่มผูกค้ำลำไย หากก่ำกึ่งอยู่ระหว่างความสูงที่ 1.50 ขึ้นไป

                                 สามารถเลือกใช้ไม้ไผ่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00-3.00 มาวางได้เลย 

                                โดยนำไม้ลวกเดิมที่ยังสภาพดี มาผูกด้านข้างเพื่อให้เกิดความแข็งแรง

                                แต่ผูกเสร็จใหม่ๆ อาจจะดูเว่ิอร์ไปบ้าง เหมือนที่ยุ้ยเคยโดนนินทามาแล้ว

                    ว่าใช้ไม้ค่ำใหญ่โตเกินไป  ทั้งที่เป็นการเลือกใช้ เพื่ออีก 1-2 ปีข้างหน้าก็ยังไม่ต้องเปลี่ยน

                           

                             

                                              เมื่อลำไยเข้าปีที่ 4-5 ไม้ไผ่ชุึดเดิมยังคงสภาพดีอยู่ 

                      เนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมาไม้ไผ่ผูกอยู่กับต้นลำไยที่ได้ผ่านการพ่นยากำจัดแมลง 

                          และยาป้องกัน และกำจัดเชื้อรามาโดยตลอด จึงสามารถอยู่ทนมาได้ยาวนาน


                            

                 ไม้ลวกขนาด 2 เมตรเดิมที่เคยตัดไว้ตั้งแต่ครั้งแรก สามารถนำมาผูกยืดระหว่างเสาหลักได้

                            

                                 ลำไยอายุ 5 ปีขึ้นไป จะมีขนาดทรงพุ่มสูงเลยระดับไม้ที่เราเคยผูกไว้ 

                                              ระยะนี้ เกษตรกรยังไม่จำเป็นต้องปรับระดับไม้ค้ำค่ะ 

                                                 แต่ควรน้ำเสาไม้ค้ำ มาผูกกระโจมเพิ่มเป็น 4 ขา

                                              จะทำให้แข็งแกร่ง สามารถรับแรงลมพายุได้มากขึ้น

                        

                 ลำไยขนาดอายุ 6 ปีขึ้นไป  ให้เปลี่ยนใช้ไม้ไผ่ค้ำยัน ที่ระดับความยาวไม้ 8 -10 เมตร 

          แล้วแต่ใจชอบค่ะ จะเผื่อไว้ระยายาวก็เลือกใช้ 10 เมตรไปเลย คงจะดูเว่อร์ ๆ  แบบระดับใหญ่

ภาพนี้ได้มาจากสวนลำไยคนอื่นที่อยู่ใกล้ๆ ที่เพิ่งเริ่มผูกกระโจมไม้ค้ำ ค่ะหลังจากเสียต้นลำไยไปหลายต้น

                เอาไว้ต้นลำไยที่สวนของยุ้ย อายุได้ 8-10 ปี จะผูกกระโจมแบบเว่อร์ๆ มาให้ดูกันค่ะ


            ลำไยต้นขนาดใหญ่ อายุ 10 ขึ้นไป  ส่วนมากเกษตรกรใช้ไม้ยึดกิ่งลำไย ในช่วงทำการลูกลำไย  ลักษณะดังกล่าวเป็นเพียงแบ่งเบาถ่ายเทน้ำหนักของผลลำไยเท่านั้น  เกษตรกรมักจะคิดว่าการผูกลักษณะดังกล่าวนั้น เป็นการยึดโยงต้านทานลมพายุด้วย ซึ่งในความเป็นจริงการผูกไม้ค้ำลักษณะดังกล่าวไม่ได้ช่วยในเรื่องของการต้านทานกระแสลมแต่อย่างใดเลย 

          

            ดังนั้นแม้ว่าลำไยขนาดอายุ 20-25 ปี จะมีไม้ค่ำกิ่งลำไยอยู่ระหว่าง 80-100 ลำ ก็ไม่ได้มีประโยชน์มากไปกว่าต้นลำไยที่มีการค้ำกิ่งแบบกระโจม 3 ขา หรือ 4 ขาเลยค่ะ  

                           

                การใช้ไม้ค้ำยันแบบเดิม จะช่วยในเรื่องของการถ่ายเทน้ำหนักของกิ่งลำไยสู่พื้นเท่านั้น

                                               ไม่มีคุณสมบัติในการรับแรงต้านของลมพายุค่ะ 

                     ถ้าลมพายุพัดหมุนวน เปลี่ยนทิศทางโอกาสที่ต้นลำไยจะโค่นล้มก็จะมีสูงขึ้นค่ะ

                                                         

                          

           เจ้าของสวนลำไยต้นนี้ ก็ประมาทเกินไป ใช้ไม้ค้ำยันเพียงไม่กี่ลำ อย่างนี้พายุมา โค่นแน่...ค่ะ

       

                                

                                      การค้ำยันของต้นลำใยต้นนี้  มองดูเผินๆ เหมือนผูกกระโจม

                                         แต่ที่จริงเป็นเพียงการค้ำยันรับน้ำหนักกิ่งลำไยเฉยๆ ค่ะ

                   จะต้านลมอยู่หรือไม่ ก็ต้องวัดดวงกันต่อไป...ค่ะ  แต่ถ้าลมหมุึนวนก็เอาไม่อยู่แน่นอน..ค่ะ

                 ทั้ง 3 ภาพข้างต้นนำมาจากอินเตอร์เน็ต   เป็นต้นลำไยสวนใคร ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย...ค่ะ  ที่วิจารณ์


                             

                    ภาพนี้ เป็นภาพลำไยที่อำเภอโป่งน้ำร้อนค่ะ โดนพายุฤดูร้อน เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554 

                                                          ต้นลำไยหักเสียหายไปเป็นจำนวนมาก  

 สังเกตนะคะไม่ค่อยมีไม้ไผ่ ค้ำยันต้นลำไยเลยค่ะ  จะมีก็น้อยมาก  ถือเป็นความประมาทของเจ้าของสวน


                             

                   สังเกตจากลักษณะ เป็นการหักบริเวณโคนต้น แต่ไม่ถอนราก ถอนโคนออกมาจากดิน

                        เชื่อได้ว่าเจ้าของสวนแห่งนี้ใช้ ลกิ่งพันธุ์ลำไย แบบเสียบยอด หรือทาบกิ่งมาค่ะ 

                                    เพราะมีรากแก้ว จึงมั่นใจในความแข็งแกร่ง  ใช้กิ่งค้ำยันน้อยมาก  

          แต่อย่างว่าละค่ะ ลำไยอายุมาก สภาพกิ่งก็จะไม่สามารถรับแรงต้านทานของลมพายุได้หรอกค่ะ 

                                                     ก็เหมือนกับคนชรา  แก่แล้วกระดูกเปราะ...ค่ะ 

        ทั้งสองภาพนี้ไม่ทราบว่า สงวนลิขสิทธิ์หรือไม่ ถ้ามีต้องอภัย และขออนุญาตใช้เพื่อการศึกษาเชิงวิชาการค่ะ

                        

            ถ้าต้นลำไยใหญ่มาก แนะนำให้เกษตรกรค้ำแบบกระโจมของกิ่งหลักๆ แต่ละกิ่งเลยค่ะ  และที่สำคัญกิ่งหลักกลางต้นสำคัญที่สุดให้ทำการผูกกระโจม 3 - 4 ขา  ค้ำยันกิ่งหลักให้มั่นคง  จะช่วยในการป้องกันไม่ให้พายุพัดโค่นต้นลำไยขนาดใหญ่ทั้งต้นได้ค่ะ  นอกนั้นกิ่งรองๆ ที่มีขนาดใหญ่ทุกกิ่ง ก็ให้ทำการผูกกระโจม 3-4 ขา ไว้ด้วย จะช่วยทั้งในเรื่องการรับน้ำหนักกิ่งลำไย และป้องกันลมพายุได้เป็นอย่างดี....ค่ะ 

             อาจเปลืองไม้ไผ่บ้าง และเสียเงินจำนวนมากบ้าง  แต่เชื่อจำนวนเงินที่จ่ายเพิ่มไปนั้น  เที่ยบไม่ได้กับเวลา อารมณ์ และรายได้ที่จะสูญเสียไป จากการต้นลำไย ที่โค่นล้มไปเพราะลมพายุ  โดยที่เราไม่ได้เตรียมป้องกันอย่างมั่นคงไว้ล่วงหน้า...ค่ะ    

            ตอนนี้ถ้าหาทุนซื้อไม้ไผ่ไม่ทัน  ก็หันไปเอากิ่งไม้ไผ่เดิมที่มีอยู่ต้นละเป็น 100 ลำนั้นแหละค่ะ  ผูกยึดซะใหม่เลย  ค้ำยันกิ่งหลักๆ ไว้ก่อน  จะแข็งแรงช่วยกิ่งอื่นไ ได้  แต่อาจซื้อเพิ่มไม้ไผ่ เพิ่มเติม อีกเล็กน้อยค่ะ

   

ยุ้ยมาตรวจงานจ้างคนงานผูกเสาหลักค่ะ  ผูกเองไม่ไหวไม่มีใครช่วย  ไม้ไผ่เจาะรูร้อยเชือกแล้วบิดเกลียวเข้าหากัน


  

วางเสาแต่ละทรงพุ่มในทิศทางเดียวกันให้ขายันกับทิศที่ต้านลมค่ะ ให้ระดับเสาสูงเท่ากัน จะแต่งความสูงกิ่งได้ง่าย


  

ระยะวางฐานเสาต้องไม่แปแบนราบจนเกินไป  ต้องมีระยะให้รถยนต์กระบะ 6 ล้อ สามารถเข้าในสวนได้ค่ะ


 

แต่ละเสาต้องมีไม้ลวกผูกยึดระหว่างเสาไว้ เพื่อความแข็งแรงค่ะ ยุ้ยมามาผูกกิ่งยึดลำต้นเขากับเสาค่ะ


เมื่อลำไยออกผลมา สามารถผูกโยงกิ่งที่มีลูกลำไยตกๆ ยึดกับเสาหลักได้

ทั้งหมดในภาพเป็นการผูกหลัก 3 ขา ของเมื่อปีที่ผ่านมา

แต่ปัจจุบันนี้ยุ้ย ได้ผูกเพิ่มเป็นหลัก 4 ขา ครบทุกต้นแล้วค่ะ


             ครั้งแรกที่ยุ้ยทำการผูกกระโจมนั้น  ชาวบ้านแถวนี้เขาก็หัวเราะเยาะ  แล้วบอกว่ายุ้ย  "เว่อร์" ค่ะ  ทำมากเกินไป ทำแล้วสวนลำไยรก  มองสวนแล้วไม่เห็นสวยเลย  เกะกะลูกตา    แต่ยุ้ยไม่สนใจหรอกค่ะ เพราะยุ้ย   รู้ว่าจะทำไปเพื่ออะไร   ถ้าอยากให้สวยก็แค่ปรับแต่งมุมในการวางเสาแต่้ละต้น  นอกจากจะให้ทิศทางเหมาะสมกับการต้านกระแสลมในแต่ละฤดูกาลแล้ว  ก็จัดวางให้แนวไม้ไผ่วางในทิศทางเดียวกัน   มีระดับมุมรวบยอดมีความสูงเท่ากันให้เป็นระเบียบ  สะดวกในการตัดแต่งกิ่งระดับความสูง ไม่ต้องค่อยเอาไม้มากะขนาด  แค่นี้ก็ดูสวยงาม..แล้วค่ะ

             วันนี้เจ้าของสวนลำไยใกล้ๆ กัน ที่เคยหัวเราะเยาะยุ้ย เขาน้ำตาตกแล้วค่ะ เพราะลมพายุฤดูร้อนได้พัดต้นลำไยของเขาหักโ่ค่นไปเป็นจำนวนมาก บางต้นที่ค้ำไม้ไว้ ก็ใช้เพียงไม้ไผ่รวกธรรมดา จึงไม่สามารถต้านทานแรงลมพายุฤดูร้อนในปีนี้ได้ค่ะ   ส่วนต้นลำไยที่ไม่มีค้ำไม้ และยังปลูกอยู่บริเวณขอบๆ รอบนอกของสวน        ต้องรับแรงปะทะกับลมพายุเต็มๆ  จึงเอนหักโค่นไปเืกือบทั้งหมด  ที่เหลือรอดอยู่ได้ ก็เห็นแต่จะเป็นต้นลำไยพวกที่ปลูกอยู่กลางๆ สวน อาศัยต้นลำไยต้นอื่นต้านลมไว้  รวมถึงต้นลำไยที่มีกิ่งไม้ลวกผูกยึดไว้มั่นคง  จึงจะรอด...ค่ะ

  

ภาพสวนลำไยที่อยู่ด้านหลัง ถัดไปจากสวนของยุ้ย อายุต้นราวๆ 7 ปี..ค่ะ

            สวนลำไยแปลงขนาดใหญ่ ที่อยู่้ใกล้ๆ สวนของยุ้ย จำนวนหลายสวน  มีต้นลำไยขนาดยักข์ อายุประมาณ 25 ปี  ซึ่งปกติในแต่ละปีจะทำรายได้ต้นละประมาณปีละหมื่นกว่าบาท/ต้น   ได้หักโค่นไป   รวมๆ กันแล้วเฉพาะชาวสวนที่รู้ๆ จักกันอยู่  ก็รวมๆ 200 กว่าต้นค่ะ   ตอนนี้เห็นเขาทะยอยตัดต้นกิ่งลำไยเอามาเผาถ่านขายกันแล้ว...ค่ะ น่าเสียดายแทนนะคะ

             สวนลำไยที่เริ่มปลูกใหม่ๆ 1-8 ปี  และสวนลำไยที่มีต้นลำไยขนาดใหญ่ๆ  ได้สั่งไม้ไผ่แบบเดียวกับที่ยุ้ยใช้  มากผูกทำตามแบบที่ยุ้ยทำแล้วค่ะ    รถกระบะบรรทุกขนไม้ไผ่วิ่งกันคึกคักไปหมดเลย   และราคาขายก็แพงมากด้วย   เพราะชาวสวนความต้องการไม้ไผ่มาก  ของก็มีน้อย (คนขายอ้าง)  

             ตอนนี้สวนลำไยเกือบทุกสวนในเขตนี้  ทำการผูกไม้ไผ่ยึดหลักกระโจมกันแทุกสวนแล้วค่ะ มีแบบแปลกๆ ไปตามความคิดเห็นส่วนตัวก็มีเยอะค่ะ  เขาเห็นว่า สวนของยุ้ยเป็นสวนลำไยที่อยู่กลางแจ้งริมถนน เพียงแปลงเดียว ที่ไม่ได้รับความเสียหายใดๆ จากพายุฤดูร้อนที่ผ่านเข้ามา 2 ลูกแรกในช่วงปลายเดือนมีนาคม-ต้นเมษายนนี้เลย  

              "อย่ากลัวคนอื่นหัวเราะเยาะ หรือดูถูกถากถ่างเราเลยค่ะ  ถ้าเราจะต้องทำอะไรๆ ที่แตกต่างไปจากที่คนอื่นๆ ที่เขาเคยทำกันมา  และเมื่อถ้าเราคิดว่าสิ่งที่จะทำนั้นเหมาะสม ถูกต้องแล้ว  ก็มุ่งมั่นทำต่อไปเถอะค่ะ   นวัตกรรมใหม่ๆ ย่อมเกิดจากการกระทำที่แหวกแนวใหม่ๆ  ซึ่งผิดแปลกไปจากปกติเสมอ...ค่ะ"

                                                                                                                         คติพจน์ยุ้ยเอง

ผิดถูก ก็จะได้เรียนรู้กันไป

หมายเหตุ :   ปีนี้คิดจะปลูกลำไย หรือทำสวนทำไร่  เราก็ควรหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันไว้บ้าง...นะคะ

เว็ปนี้แหละ...ค่ะ  ยุ้ยเปิดดูทุกวันเลย   http://www.tmd.go.th/index.php

ทุกๆ วันส่วนมากเน้นดูภาพดาวเทียมทางอากาศ  เว็ปนี้เลยค่ะ

http://www.sattmet.tmd.go.th/newversion/mergesat.html  

กด  25farme  ด้วยนะคะ จะได้ดูภาพทิศทางการเคลื่อนที่...ค่

หมายเลขบันทึก: 532445เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2013 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2014 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณพี่ๆ ผู้ใหญ่ ทุกๆ ท่านที่ให้กำลังใจ...ค่ะ

นู๋ยุ้ยจ๋า ป้าขอถามนิดนะจ๊ะ ลำไยที่สวนป้าลูกขนาดเกือบเท่ามะขือพวงถูกพายุลูกเห็บกระหน่ำร่วงประมาณ 40 %ที่เหลือบนต้น ป้าลองสำรวจดูมีผลลำไยช้ำอยู่เยอะพอสมควร(รอวันร่วงว่างั้นเถอะ) ป้าอยากจะรู้การดูแลบำรุงรักษาอย่างไรให้ลำไยที่เหลือเจริญเติบโตจนถึงวันเก็บเกี่ยว (สาร+ฮอร์โมนที่จะใช้บำรุงอะไรทำนองนี้) สวนป้าอยู่จังหวัดพะเยาจ๊ะ ถูกถล่มผ่านมาได้ 3 วันแล้วจ้ายังไม่ได้พ่นหรือบำรุงอะไรเลย แบบว่าไม่มีความรู้และประสบการณ์พึ่งทำสวนลำไยครั้งแรก รับดูแลให้คุณพ่อ ลำไยอายุ15-18 ปี  ช่วยป้าด้วยนะ ขอบใจนู๋ยุ้ยคนเก่งค่ะ

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

ก่อนอื่น ขอเเสดงความเสียใจด้วยจ้ะ ป้าเอาเท่าที่ได้ก่อนนะจ๊ะ หรือถ้าดูแล้วไม่คุ้มทุนที่ลงปีนี้ ก็เเล้วเเต่ป้าจะตัดสินใจเลยจ้ะ เพราะจะทำให้มันกลับสู่สภาพเดิมคงยาก เเต่ก่อนอื่นป้าต้องตัดเเต่งกิ่งที่เสีย(กิ่งฉีก ขาด)ตัดเเต่งใบที่ทะลุออกไปก่อนค่ะ แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงลูกบำลุงต้นตามปกติค่ะ สภาพอากาศมันคาดเดายากเนอะ 

ทางเรามีเสาพริกไทย ยาว2เมตร 2.5เมตรเเละ4เมตร สนใจติดต่อ0817376199 ได้ทุกวันคับ

ตอนนี้พี่เพิ่งลงลำไยไปร้อยกว่าต้นและกำลังจะไถที่ปลูกอีก แต่พี่ไม่่ค่อยมีความรูด้านนี้เลย ถ้าพี่จะขอไปดูงานที่สวนน้องบ้างจะได้หรือป่าว แล้วกิ่งพันซื้อได้ที่ไหน รบกวนด้วยครับ ชุดแรกปลูกมาได้ 8 เดือนแล้ว แต่กิ่งพันไม่ค่อยดีบางต้นก้อแคระแกลน ไปซื้อที่โป่งมา รบกวนขอคำปรึกษาครับ 087-0450492

สนใจไม้ไผ่ค้ำยันต้นลำใย ติดต่อได้นะครับ (0862379690) เจี๊ยบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท