สรุปการอบรมติดตามและประเมินผล โครงการ การพัฒนาเยาวชนจิตอาสาเพื่อเด็กออทิสติกในภาวะภัยพิบัติ จังหวัดปุทมธานี



การถอดบทเรียนจากการอบรมติดตามและประเมินผลครั้งที่ 1

เรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบุคคลออทิสติก

และแนวความคิดในการช่วยเหลือบุคคลออทิสติกทั้งภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ

คนพิการทุกประเภทต้องการการดูแลเอาใจใส่ในทุกสถานการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลออทิสติกซึ่งเป็นบุคคลที่มีความบกพร่องทางสังคม อารมณ์ และพฤติกรรม ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ และส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถทำกิจกรรมซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในกิจวัตรประจำวันได้ ดังนั้นจิตอาสาควรมีส่วนร่วมต่อสังคมโดยการให้ความช่วยเหลือบุคคลออทิสติกโดยการ

  1. เมื่ออยู่ในภาวะปกติควรชักชวนและจัดกิจกรรมหรือให้โอกาสบุคคลออทิสติกได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับสังคม

  2.เมื่ออยู่ในภาวะภัยพิบัติ บุคคลออทิสติกเป็นบุคคลที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองเมื่อเกิดอันตรายใดใดได้เลย ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายต่อตัวบุคคลออทิสติกเองและครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิดอีกด้วย ควรช่วยดูแลบุคคลออทิสติก เช่น

2.1การช่วยเจ้าหน้าที่ในการสำรวจค้นหาบุคคลออทิสติกที่ติดอยู่ในพื้นที่ประสบภัย เนื่องจากบุคคลออทิสติกส่วนใหญ่มักไม่สามารถสื่อสารทางภาษาพูดไม่สามารถเข้าใจภาษาพูดได้

2.2การช่วยดูแลบุคคลออทิสติกที่อยู่ในศูนย์พักพิงหรือพื้นที่ประสบภัย เพื่อให้บุคคลออทิสติกได้ผ่อนคลายในภาวะภัยพิบัติเพื่อลดภาวะตึงเครียดซึ่งอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ได้

2.3การช่วยครอบครัวของบุคคลออทิสติกในการแบ่งเบาภาระในการดูแลบุคคลออทิสติกในบางเวลา

การถอดบทเรียนจากการอบรมติดตามและประเมินผลครั้งที่ 2

เรื่อง การเป็นจิตอาสาและการมีภาวะผู้นำในภาวะภัยพิบัติ

การเป็นจิตอาสานั้นจำเป็นต้องมีความเป็นผู้นำในตนเองด้วยเนื่องจากเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ ผู้ประสบเหตุส่วนใหญ่ ขาดขวัญและกำลังใจ โดยเฉพาะบุคคลออทิสติกด้วยแล้วนั้นไม่มีความสามารถในการตัดสินใจใดใดได้จึงจำเป็นต้องมีจิตอาสาที่มีความเป็นผู้นำอย่างถูกต้องและเข้าใจ

1. มีความเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างของบุคคลออทิสติกให้เกียรติและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

2. มีส่วนร่วมและรับผิดชอบต่อบทบาทและหน้าที่ของจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือบุคคลออทิสติก

3. ไม่มีความประพฤติเห็นแก่ตัว เอาเปรียบและคาดหวังสิ่งตอบแทนจากผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กออทิสติก ควรช่วยเหลือด้วยความบริสุทธิ์ใจ

4. มีจิตใจที่เปิดกว้างยอมรับและรับฟังความเห็นที่แตกต่างของเพื่อนสมาชิกจิตอาสาบนฐานของความเข้าใจและพร้อมที่จะพัฒนา

5. เป็นผู้ที่ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการเข้าถึงสิทธิและประโยชน์ของบุคคลออทิสติก

6. มีจิตใจที่มุ่งมั่นในงานจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือบุคคลออทิสติกและมีความปรารถนาที่ดีให้บุคคลออทิสติกยืนหยัดได้ด้วยตนเอง

7.การเป็นจิตอาสาควรหาองค์ความรู้ใหม่ๆเกี่ยวกับคนพิการเพิ่มเติมอยู่เสมอเพื่อพัฒนาตนเองและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้

การถอดบทเรียนจากการอบรมติดตามและประเมินผลครั้งที่ 3

เรื่อง ความรู้ความเข้าใจในภาวะภัยพิบัติ

  ภาวะภัยพิบัติ คือ ภัยที่เกิดขึ้นแก่สาธารณชน ได้ อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย สึนามิ ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันเป็นสาธารณะ ไม่ว่าจะเกิดจากธรรมชาติหรือมีผู้กระทำให้เกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ การเตรียมความพร้อมในการรับมือกับภาวะภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญด้วยการมีสติ และความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ ดังเช่นเหตุการณ์มหาอุทกภัยที่ผ่านมากับพื้นที่จังหวัดปทุมธานีเมื่อปี ปลายปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมา ด้วยการขาดความรู้ความเข้าใจในภาวะภัยพิบัติ ก่อให้เกิดปัญหา และความเสียหายมากมายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งต่อคนปกติทั่วไปและคนพิการและบุคคลออทิสติก คนพิการหลายรายที่ไม่ได้รับการดูแลและช่วยเหลือตนเองไม่ได้จากภาวะภัยพิบัติทำให้มีสภาพความพิการเพิ่มมากขึ้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวหากมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเหมาะสมแล้วนั้นก็จะสามารถป้องกันหรือลดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

การถอดบทเรียนจากการอบรมติดตามและประเมินผลครั้งที่ 4

เรื่อง ความรู้ความเข้าใจในการจัดการข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยพิบัติและ

การออกแบบสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นในภาวะภัยพิบัติ

  1.ข้อมูลข่าวสารเป็นหัวใจและมีส่วนเกี่ยวข้องกับทุกกิจกรรมในการป้องกันและรับมือกับภัยพิบัติ ทั้งปริมาณ คุณภาพ และความทันเวลาของข้อมูลในช่วงวิกฤตมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในช่วงเวลาดังกล่าว

ข้อมูลข่าวสารที่มากเกินไป อาจทำให้อำนาจในการตัดสินใจเลือกใช้ข้อมูลแค่บางแหล่งเท่านั้น อีกประเด็นหนึ่งคือการส่งต่อหรือถ่ายทอดข้อมูลอาจไม่ครบถ้วนสูญหายไปในเครือข่าย การตัดสิน ใจอาจรับข่าวที่ออกมาในสื่อต่างๆ ซึ่งอาจจะให้ข้อมูลได้รวดเร็วกว่า แต่ทว่าไม่มีการสังเคราะห์ หรือมีรายละเอียดมากพอต่อการตัดสินใจก็จะเกิดผลเสียได้

  2.สิ่งประดิษฐ์หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตในช่วงภาวะภัยพิบัติโดยเมื่อสถานการณ์มหาอุทกภัยที่ผ่านมาของพื้นที่จังหวัดปทุมธานีและอาจจะเกิดขึ้นได้อีกกลุ่มเยาวชนจิตอาสาจึงลงความเห็นที่ต้องการองค์ความรู้ในการทำ ส้วมฉุกเฉิน และ เสื้อชูชีพจากขวดน้ำเหลือใช้ โดยเมื่อประดิษฐ์ชิ้นงานดังกล่าว ทางเยาวชนได้นำมอบให้ทางชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติกจังหวัดปทุมธานี และ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดปทุมธานี ไว้เพื่อส่งมอบต่อครอบครัวคนพิการเมื่อเกิดภาวะอุกทกภัยที่คาดว่าอาจะเกิดได้ในช่วงกันยายนของทุกปี

การถอดบทเรียนจากการอบรมติดตามและประเมินผลครั้งที่ 5

เรื่อง การปรับตัวและจัดการสภาพแวดล้อมเมื่อภัยพิบัติสิ้นสุดลง

  1.การปรับตัวเมื่อสถานการณ์ภัยพิบัติใกล้ผ่านพ้นไปควรเตรียมสภาพจิตใจให้พร้อม มีสติ ในการเตรียมตัวที่จะจัดการกับสิ่งต่างๆรอบตัว การเตรียมความพร้อมในการจัดการกับสถานการณ์ก่อนสิ้นสุดภัยพิบัติและเมื่อสิ้นสุดภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ต้องการการมีสติ ตรึกตรองว่าสิ่งใดควรทำก่อนหลัง ควรมีกำลังใจที่ดีในการเผชิญหน้ากับสิ่งที่สูญเสียไปกับเหตุการณ์ภัยพิบัติ หากพบว่าตนเองมีอาการซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาแพทย์

2.การระวังอันตรายจากสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น การชำรุดของเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอาจทำให้เกิดการรั่วของกระแสไฟฟ้า การหลบซ่อนตัวของสัตว์มีพิษหรือสัตว์ดุร้ายต่างๆที่ยังคงตื่นตระหนกกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ชำรุดหักพังเมื่อผ่านสถานการณ์ภัยพิบัติ ดังนั้น เมื่อสถานการณ์ดังกล่าวผ่านพ้นไปจึงควรตรวจสอบก่อนการนำกลับมาใช้อีกครั้งหรือหากตรวจสอบสภาพแล้วสภาพเสี่ยงอันตรายต่อการนำกลับมาใช้ใหม่ จึงไม่ควรเสี่ยงที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ สภาพแวดล้อมเมื่อผ่านสภาวะภัยพิบัติ ก็ควรช่วยกันปรับปรุง ฟื้นฟูให้กลับคืนดีดังเดิม ด้วยการร่วมแรงร่วมใจจากคนในชุมชน


หมายเลขบันทึก: 532249เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2013 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2013 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท