Fareeda
รอ.หญิง เบญจมาภรณ์ Fareeda Hua-jiem

ทำไมคนชอบพูดถึงธรรมาภิบาลกันน่ะ?


คิดแล้วยิ่งสงสัย???

                    ในสังคมปัจจุบันมีคนกล่าวว่าโลกเราหมุนเร็ว!!! กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆไปอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็นทางกาย ใจ อารมณ์ สังคมและจิตวิญญาณ โดยทั้งหมดทั้งสิ้นเริ่มทำให้สังคมเสื่อมโทรมลง แย่ลง. ข้าพเจ้าเคยมีความคิดที่ว่า"ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ ไม่มีหรอกคนดี100%" ท่านว่าจริงหรือไม่?  พอรู้อย่างนี้แล้วรู้สึกหดหู่ใจ.  ข้าพเจ้าในฐานะพลเมืองคนหนึ่งในสังคมไทย ที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมให้เป็นไปในเส้นทางที่ดี   อยู่มาวันหนึ่งได้ดูวิดีทัศน์เรื่องหนึ่งซึ่งมีเนื้อหาส่งเสริมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม และอาศัยหลักธรรมาภิบาลในการดำเนินเรื่อง โดยเรื่องที่ข้าพเจ้าสนใจนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง การบริหารประเทศ. น่าติดตามเป็นอย่างมาก ส่งเสริมจิตสำนึกที่ดีต่อสังคมทุกชนชั้น ซึ่งก็คือเรื่อง"นายก(หัวใจ)ประชาชน"นั่นเอง  ท่านที่สนใจลองให้หาดูกันน่ะค่ะ. (น่าจะดีกว่าที่จะไปดูซีรี่ย์โรแมนติก...จริงมั้ยค่ะ...555). 
จากการที่ได้ศึกษาทำให้ข้าพเจ้าได้ทรายถึงเนื้อหาความรู้ต่างๆมากมาย จึงต้องการที่จะแชร์ให้ทุกท่านที่สนใจได้ทราบอย่างทัั่วกันค่ะ...
โดยหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีประกอบไปด้วย 10 องค์ประกอบ ไว้ดังนี้
                       1) หลักประสิทธิผล (Effectiveness) หมายถึง ผลการปฏิบัติราชการที่บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนการปฏิบัติราชการตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ รวม ถึงสามารถเทียบเคียงกับส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันและมีผลการปฏิบัติ งานในระดับชั้นนำของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชน โดยการปฏิบัติราชการจะ ต้องมีทิศทางยุทธศาสตร์และเป้าประสงค์ที่ชัดเจน มีกระบวนการปฏิบัติงาน และระบบงานที่เป็น มาตรฐาน รวมถึงมีการติดตามประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
                        2)  หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง การบริหารราชการตามแนวทางการ กำกับดูแลที่ดีที่มีการออกแบบกระบวนการปฏิบัติงาน โดยการใช้เทคนิคและเครื่องมือการบริหาร จัดการที่เหมาะสมให้องค์การสามารถใช้ทรัพยากรทั้งด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติราชการตามภารกิจ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
                        3)  หลักการตอบสนอง (Responsiveness) หมายถึง การให้บริการที่สามารถ ดำเนินการได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและสร้างความเชื่อมั่นความไว้วางใจ รวมถึงตอบสนอง ตามความคาดหวัง/ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีความหลาก หลายและมีความแตกต่าง
                        4) หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) หมายถึง การแสดงความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่และผลงานต่อเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยความรับผิดชอบนั้นควรอยู่ในระดับที่สนองต่อความคาดหวังของสาธารณะ รวมทั้งการแสดงถึงความสำนึกในการรับผิดชอบต่อปัญหา สาธารณะ
                        5) หลักความโปร่งใส (Transparency) หมายถึง กระบวนการเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาชี้แจงได้เมื่อมีข้อสงสัย และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอันไม่ต้องห้ามตามกฎหมายได้อย่างเสรี โดยประชาชนสามารถรู้ทุกขั้นตอนในการดำเนินกิจกรรม หรือกระบวนการต่างๆ และสามารถตรวจสอบได้
                        6)  หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หมายถึง การกระบวนการที่ข้าราชการ ประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มมีโอกาสได้เข้าร่วมในการรับรู้ เรียนรู้ทำความเข้าใจ ร่วมแสดงทัศนะ ร่วมเสนอปัญหา / ประเด็นที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง ร่วมคิดแนวทาง ร่วมการแก้ไข ปัญหา ร่วมในกระบวนการตัดสินใจ และร่วมกระบวนการพัฒนาในฐานะหุ้นส่วนการพัฒนา
                        7) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) หมายถึง การถ่ายโอนอำนาจ การตัดสินใจ ทรัพยากร และภารกิจจากส่วนราชการส่วนกลางให้แก่หน่วยการปกครองอื่น (ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น) และภาคประชาชนดำเนินการแทนโดยมีอิสระตามสมควร รวมถึงการมอบอำนาจ และความรับผิดชอบในการตัดสินใจ และการดำเนินการให้แก่บุคลากร โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจในการให้บริการต่อผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปรับปรุง กระบวนการ และเพิ่มผลิตภาพ เพื่อผลการดำเนินงานที่ดีของส่วนราชการ
                        8)  หลักนิติธรรม (Rule of Law) หมายถึง การใช้อำนาจของกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับในการบริหารราชการด้วยความเป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ และคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                        9)  หลักความเสมอภาค (Equity) หมายถึง การได้รับการปฏิบัติและได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการแบ่งแยกด้านชาย /หญิงถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการสภาพทางกาย หรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ และสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษา การฝึกอบรม และอื่นๆ

                        10) หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) หมายถึง การหาข้อตกลงทั่วไปภายในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่เกิดจากการใช้กระบวนการเพื่อหาข้อคิดเห็นจากกลุ่มบุคคลที่ได้รับประโยชน์และเสียประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงซึ่งต้องไม่มีข้อคัดค้านที่ยุติไม่ได้ในประเด็นที่สำคัญโดยฉันทามติไม่จำเป็นต้องหมายความว่าเป็นความเห็นพ้องโดยเอกฉันท์

จากเนื้อหาต่างๆอาจเห็นว่าเป็นเรื่องที่หนักแต่เมื่อลองปฏิบัติสิ่งต่างๆด้วยจิตสำนึกที่ดี มีสติในการดำเนินชีวิตอยู่ตลอดเวลา ยืนบนทัดฐานของคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะแล้วล่ะก็ ชื่อเลยล่ะค่ะ ในสังคมใดที่มีคนกลุ่มนี้มากแล้วล่ะก็ สังคมนั้นย่อมมีแต่สิ่งที่ดีในสังคมอย่างแน่นอน แล้วท่านเคยคิดมั้ยว่าสังคมที่ท่านอยู่ล่ะ เป็นแบบใด????  

ปล.หากท่านใดที่ต้องการแชร์สิ่งดีๆ เชิญชวนกันได้เลยค่ะ. เพราะการแสวงหาความรู้ไม่มีวันสิ้นสุดค่ะ......

หมายเลขบันทึก: 531564เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2013 21:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2013 21:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท