ทำงานด้วยจิตว่าง แทนทำงานด้วยจิตวุ่น




ทำงานด้วยจิตว่าง แทนทำงานด้วยจิตวุ่น

  เลิกทำการด้วยความวุ่น แต่ด้วยความว่าง จนพบแสงสว่างในชีวิต

  ปุถุชนโดยทั่วไปจะทำงานด้วยจิตวุ่นกันเป็นพื้น ทั้งนี้เพราะมิได้ศึกษาธรรมะ มิได้นำธรรมะมาประยุกต์ใช้ในขีวิตและกิจการงาน จึงมีความทุกข์กันมากกว่ามีความสุข ซึ่งไม่คุ้มกันเลย กับการที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา

  พระพุทธ ศาสนาสอนวิธีทำงานด้วยจิตว่าง ซึ่งจะทำให้งานได้ผลคนได้สุข หรืองานสัมฤทธิ์ ชีวิตสำเร็จ แต่พวกเราชาวไทยส่วนใหญ่กลับทำตรงข้าม แล้วจะได้อะไรๆ

  อย่ามัวเสียเวลาทำงานด้วยจิตวุ่น จิตโลภ จิตมืด ท่านว่า ชีวิตจะบอบช้ำ เหนื่อยหนักทั้งกายและใจในขณะที่ผลงานก็หยาบ ไม่มีประณีต ไม่เรียบร้อย ไม่งดงาม

  เนื่องเพราะจิตที่วุ่น ด้วยความอยาก ความทะเยอทะยาน ความวิตกกังวลด้วยอำนาจของความโลภ จะส่งให้ผลงานออกมาไม่สวยงาม ดังที่หลวงตาแพรเยื่อไม้ (พระครูพิศาลธรรมโกศล) พระนักเทศก์ นักเขียนชื่อดังกล่าวไว้ว่า

  “ท่านว่าความวิตกกังวลด้วยอำนาจโลหะ เป็นการตรากตรำทางอารมณ์ ทำให้จิตใจมานซึมและด้านชา ความคิดอ่านไม่แจ่มใส

  ฉะนั้น ผลงานของผู้มีแต่ความวิตกกังวล จึงไม่ดี ไม่ผิดอะไรกับผลที่ออกมายังแกนๆ ไม่สมบูรณ์เปล่งปลั่งสดใส รสชาติจะดีไปได้อย่างไร ”

  หลวงตาแพรเยื่อไม้ท่านจึงแนะนำว่า

  “การทำงานที่เกิดผลดี ต้องทำด้วยใจเยือกเย็น ทำด้วยจิตว่างคือทำอย่างสบายๆ ไม่รีบไม่เร่ง ไม่เพ่งเล็งในลาภในผลอะไรทั้งนั้น คุมใจให้อยู่ในอำนาจของสติปัญญาได้แล้ว จะทำงานเพื่องานแล้วก็จะสนุกเพลิดเพลิน”

  แล้วเราจะทำงานด้วยจิตว่างแทนจิตวุ่น จิตโลภอย่างไร

  ผู้ที่สอนเรื่องการทำงานด้วยจิตว่างแทนจิตวุ่น จิตโลภอย่างไร

  ผู้ที่สอนรื่องการทำงานด้วยจิตว่างเป็นคนแรกของไทยก็คือ หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ ปรัชญาเมธีแห่งพุทธธรรม

  มีบทกวีบทหนึ่งของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ ที่ผู้เขียนยังจำได้จนบัดนี้ คือบทที่ว่า

เป็นอยู่ด้วยจิตว่าง

  จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง

  ยกผลงานให้ความว่างทุกอย่างสิ้น

  กินอาหารของความว่างอย่างพระกิน

  ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที

  ท่านผู้ใดว่างได้ดังว่ามา

  ไม่มีท่าทุกข์ทนหม่นหมองศรี

  เป็น “เคล็ด” ที่ใครคิดได้สบายเอย

  คำว่า ‘จิตว่าง’ คืออะไร หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุได้ให้ความหมายไว้ว่า

  “จิตว่าง ในที่นี้คือจิตที่ยังเป็นจิตอยู่เหมือนเดิม แต่ไม่เต็มอยู่ด้วยการปรุงแต่งที่เลวร้าย คือปรุงให้เห็นเป็นตัวตน ปรุงแต่งให้เป็นของตน อะไรจะมาบรรจุให้จิตไม่ว่าง ก็คือความรู้สึกว่าตัวตน ว่าของตนนั่นแหละพอเข้ามาแล้วมันก็เหมือนกับเอาอะไรบรรจุเข้าไปในจิตนั้น จิตมันก็ไม่ว่าง ถ้าเอาความรู้สึกว่าตัวตน ว่าของตนออกไปเสีย จิตมันก็ว่าง ไม่มีอาการอย่างอื่นที่น่ารังเกียจ เช่นว่า ไม่ร้อน ไม่มืด ไม่ถูกผูกพันหุ้มห่ม อิสระหรือปกติ ไม่มีอะไรมารบกวน ; ว่างจากการรบกวนนั้น คือความปกติ พอปกติมันก็ไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์

  จิตที่ว่างนั้นมันมีความหมายมาก ไม่ใช่เพียงแต่ว่ามันไม่คิดนึกอะไร คนเขาเจ้าใจว่าไม่คิดนึกอะไรแล้วก็เรียกว่าจิตว่าง นั้นคือคนที่ไม่รู้เรื่องจิตว่าง จิตมันคิดนึกอะไรไปได้ตามธรรมดาของจิต แต่อย่ามีความรู้สึกว่าตัวตนหรือของตน อย่ามีความรู้สึกที่เดือดขึ้นมาเป็นตัวกูหรือของกูก็แล้วกัน ก็ยังเรียกว่าจิตว่าง คิดนึกอะไรได้ ฉลาดเฉลียว รอบคอบ สามารถมาก นี่ประโยชน์ของความมีจิคว่าง”

  ขอให้ว่างจากกิเลสทุกชนิด ก็เรียกว่าจิตว่าง

  สรุปความคำว่า ‘จิตว่าง’ คืออย่างไร

  คำว่า ‘จิตว่าง’ หมายถึง จิตที่ว่างจากกิเลสตัณหา ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น ว่างจากตัวกูของกู เป็นจิตที่มีความรู้สึกยู่นั่นแหละ แต่เป็นความรู้สึกธรรมดา ไม่มีกิเลส ตัณหา อุปาทาน จะเป็นแบบถาวรหรือครั้งคราวก็ตาม ล้วนได้ชื่อว่าจิตว่างทั้งสิ้น

  การทำงานด้วยจิตว่างนั้น คือการทำงานด้วยความรู้สึกที่เสียสละไม่มีตัวกูของกู เป็นการทำงานชนิดที่ดิ่งไปเพื่องานจริงๆ ไม่มีเรื่องอื่นดังอุทาหรณ์ที่หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุยกมาอ้างและอธิบาย

  “ตัวอย่างเช่น เราอ่านเรื่องดาร์วิน ค้นเรื่องชีววิทยา ว่าคนมาจากสัตว์อะไรทำนองนี้ ได้ทราบว่า เขาก็ต้องใช้เวลาเพ่งคิด อย่างเดียวกับโยคีมุนีเหมือนกัน เช่น ดาร์วินแกไปยืนอยู่ในสวน เพื่อดูสัตว์ เอาไม้เท้าค้ำยันไว้ข้างหน้าเพื่อจะเพ่งดู นิ่งเหมือนตุ๊กตาหิน จนกระรอกหรือนกมาไต่อยู่บนตัวของเขา ลองคิดดูว่าความเพ่งคิดขนาดนั้นมันเป็นอย่างไร มันลึกมันหลวมเท่าไร แล้วมันเจออยู่ด้วยความหมายแห่งตัวกู-ของกูได้หรือไม่

  เข้าใจได้ว่า ถ้ามีความรู้สึกเป็นตัวกู-ของกูติดเจืออยู่ เขาจะคิดหรือเพ่งอย่างลึกซึ้งอย่างนั้นไม่ได้ มันกระสับกระส่าย ความคิดเกี่ยวกับตัวกู-ของกู ในกรณีนี้ถ้ามันมีอยู่ มันก็ต้องล้มเหลวนำมาซึ่งความล้มเหลวล้มละลาย ไม่เป็นสมาธิพอที่จะเพ่งจนมองเห็นความลับอันลึกซึ้งของธรรมชาติ

  คาร์วินเขาลืมทุกสิ่งทุกอย่าง ลืมตัวหมดตัวเขาชื่ออะไร อยู่ที่ไหนเป็นอะไร มีประโยนชน์ได้เสียอย่างไร ทำหน้าที่อย่างไร เพื่ออะไร นี้ลืมไปหมด มีแต่จิตล้วนๆ ที่ฝังตัวเข้าไปในธรรมชาติ คือตัวเขาหมดไปกลายเป็นธรรมชาติไป หมดความหมายที่เป็นตัวตนของตน ตัวกู-ของกูไม่เหลืออยู่เลย จิตกลายเป็นธรรมชาติล้วนๆ แล้วก็เพ่งลึกถึงที่สุดตามคุณสมบัติของมัน

  ฉะนั้น เขาจึงเจาะแทงลงไปได้ถึงความลับของธรรมชาติ รู้แนวตามความเป็นจริงของธรรมชาติตามที่เขาค้นพบ นี่คือตัวอย่างที่ทำงานด้วยจิตว่างจากตัวกู-ของกู

  เรื่องของนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ยังมีอีก เช่น ไอน์สไตน์ ซึ่งมีชื่อเสียงมาก...มันก็เป็นจิตอันแหลมลึกลงไปถึงธรรมชาติ เป็นอันเดียวกันกับธรรมชาติ ไม่มีวี่แววแห่งตัวฉัน ของฉัน เพื่อประโยชน์ของฉัน ได้เสียของฉัน อะไรเหลืออยู่ ด้วยเหตุนี้ไอน์สไตน์จึงคิดอะไรได้ถึงขนาดที่เรียกว่าเป็นอัจฉริยมนุษย์  จนคนโลกสมัยนี้ยกให้เป็นอัจฉริยมนุษย์ สูตรที่เอามาใช้ทำระเบิดปรมาณูได้ อะไรได้ ก็เป็นฝีไม้รายมือของบุคคลที่ ‘คิดด้วยจิตว่าง’ ชนิดที่เราพูดกัน

  ไม่ว่าจะเป็นนักคิด นักค้นคว้า นักพิสูจน์คนไหนก็ตาม ต้องทำงานด้วยจิตว่างทั้งนั้น ถ้ามีวี่แววแห่งตัวกูเมื่อไหร่ ก็เป็นอันล้มละลายทันทีเมื่อนั้น จะต้องออกจากฌานเมื่อนั้น จะต้องออกจากความคิดเมื่อนั้น เช่น คิดถึงบ้าน คิดถึงครอบครัว คิดถึงความสำเร็จ ความไม่สำเร็จ ที่จะทำงานครั้งนี้คืออย่างนี้งานจะล้มละลายทันที

  ความคิดเรื่องสำเร็จหรือไม่สำเร็จจะต้องไม่เข้ามาอยู่ในหัวเลย มันมีแต่ดิ่งลงไป-ดิ่งลงไป-ดิ่งลงไป จนว่าจะหมดเรี่ยวแรงของมีนสมองสำหรับ คิดในวันหนึ่งๆ รุ่งขึ้นก็ทำต่อไปอีก เขาไม่ได้คิดว่าเขาทำเพื่อใคร รับจ้างใคร เห็นแก่ใคร หรือมีความจำเป็นอะไรมาบังคับให้ทำ

  ถ้ามีการกระทำเพื่อรับจ้างใคร หรือเพื่อรับผิดชอบอยู่กับใคร ผูกพันอยู่กับใคร เขาต้องปัดทิ้งมันไปหมด แล้วต้องเป็นเรื่องที่คิดกันตกหรือว่าปลงตก หรือว่าได้วางรูปของเรื่องสำเร็จเสร็จสิ้นไปแล้ว โดยไม่ต้องไปคิดถึงอีก

  สมมติว่าไอน์สไตน์คิดทฤษฎีที่จะช่วยอเมริกา ที่มีบุญคุณแก่ไอน์สไตน์ เขาต้องปัดทิ้งไปหมด อเมริกาหรือยิว ของฉันหรือแก่ฉันบุญคุณหรือไม่บุญคุณ ต้องไปทิ้งไปหมด เหลือแค่จิตที่ว่างจากเรา จากเขาจากได้จากเสีย จากอันที่เป็นตัวกู-ของกูหมด จิตจึงเปลี่ยนสภาพเป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์ เข้าถึงธรรมชาติอันลึกซึ้งได้ อันนี้คือตัวอย่างของการทำงานด้วยจิตว่าง

  เขาอาจจะนึกว่า ที่เราทำนี้เพื่อใช้หนี้ประเทศอเมริกาที่มีบุญคุณแก่พวกยิว พอคิดท่านี้แล้วก็เลิกกัน ต้องรีบเลิกกัน ตัวกู-ตัวสูไม่ให้มาสูสีอีกต่อไป ให้เหลือแต่หน้าที่ แล้วก็ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ ดังนั้นจึงทำงานด้วจจิตว่าง อย่างแหลมลึกที่สุด เหมือนกับที่เรียกว่ามีตาเป็นไฟ มองไปทางไหนไหม้พินาศเป็นจุณ ทะลุปรุโปร่งเหมือนกับยักษ์ตัวที่เคยเล่าให้ฟังมาแล้วนั้น

  แต่เขาไม่ได้ทำเพื่อเอาประโยชน์เหมือนยักษ์ตนนั้น ยักษ์ตนนั้นมันเอาประโยชน์เพื่อตัวเอง เขาต้องดีกว่าไปอีก เขาทำงานเพื่องาน ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ เวลานั้น ไม่มีฉัน ไม่มีเรา ไม่มีของเรา ไม่มีใครเสีย เวลานั้นไอน์สไตน์ไม่ได้เป็นยิวที่เป็นหนี้บุญคุณอเมริกา เขาเหลือแต่จิตที่บริสุทธิ์เขาเหลือแต่ปัญญาที่บริสุทธิ์ เขาจึงพบอะไรที่คนธรรมดาไม่พบ ขณะนั้นเขาจึงลืมอะไรอย่างที่ไม่น่าเชื่อ ลืมสั่งที่ไม่จำเป็นทั้งหมด กินข้าวแล้วหรือยังอะไรอยู่ที่ไหน ไม่ต้องรู้ บนโต๊ะทำวานของเขารกยิ่งกว่ารังหนู ยิ่งกว่าโรงวัวเพราะจิตไม่มาคำนึงอยู่ที่เรื่องสวยงาม เรื่องอะไรๆ ที่บนโต๊ะทำงาน จิตมีแต่จะแทงให้ตลอดในสิ่งที่เขาเพ่งคิด

  อีกตัวอย่างหนึ่ง ถ้าความเพ่งคิดมันมากอย่างผลุนผลัน เป็นจิตว่างมาก เต็มไปด้วยสติปัญญามากอย่างผลุนผลัน เหมือนอย่างนักปราชญ์กรีกคืออาร์คิมีดิส คนที่คิดเรื่องความถ่วงจำเพราะออกนั้น เขาคิดออกในห้องน้ำจิตก็เพ่งทะลุปรุโปร่งอยู่แต่เรื่องนั้น จนวิ่งเปลือยกายออกมาข้างนอก ร้องว่า “พบแล้วโว้ยๆ” จิตว่างมีปัญญาเต็มที่ มันต้องมากถึงขนาดที่ลืมไปว่าผ้าไม่ได้นุ่ง ก็วิ่งออกได้นี้เขาลืมอะไรทุกอย่างหมด มันเหลือแต่ความคิดที่แหลมเป็นไฟกรดแทงทะลุปรุโปร่งทุกสิ่งที่เป็นความลับของธรรมชาติ

  นี่ตัวอย่างการทำงานด้วยจิตว่างแท้ๆ เป็นอย่างนี้ ถ้าเวลาอื่นซึ่งไม่ใช่เวลาทำงานก็อาจมีตัวกู มีครอบครัว มีลูกมีเมีย มีได้มีเสีย มีอะไรไปตามแบบของเขา นั้นมันคนละตอน คนละที คนละเรื่อง แต่ถ้าเมื่องานก็ต้องทำงานด้วยจิตว่าง ต้องไม่มีอะไรมาบังคับ ต้องไม่ไปมีข้อผูกพันกับเรื่องอื่นมันก็เป็นอยู่ด้วยความว่าง ทำงานด้วยจิตว่างนี้ได้ตลอดเวลา

  เดี๋ยวนี้คนทำงานไปพลางแล้วประหม่าไปพลาง คนทั่วไป ทำอะไรอยู่ก็ตาม มันประหม่าไปพลาง เช่น วิตกว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องด้วยตัวกู-ของกูบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นมันจึงปวดหัว ผู้จัดการคนนั้นจึงปวดหัวและเป็นโรคเส้นประสาทตาย เขาไม่ได้ตัดเรื่องประหม่าเรื่องวิตกกังวล เรื่องอะไรออกไปเสีย เขาจึงคิดมันไม่ได้ แล้วงานของเขามันก็ไม่มีระเบียบ มันสับสนวุ่นวายกันไปหมด...

  แม้แต่งานที่เลว หรือที่เรียกกันว่างานต่ำงานเลว โดยไม่ต้องใช้สติปัญญางานเช็ดถูปัดกวาดอย่างนี้ ถ้าเช็ดถูกปัดกวาดไปพลาง โมโหไปพลาง มันก็เหมือนตกนรกทั้งเป็น เช่น กวาดบ้าน กวาดเรือน กวาดห้อง ถูพื้นอะไรไปพลางนี้ แล้วโมโหอะไรไปพลาง แล้วจะเอาอะไรมาทำให้ดีได้

  หรือถ้าคิดว่าจะทำให้ถูกใจนาย จะได้รับรางวัล จะต้องมีความอยากมีความหวังเพื่อบากบั่นทำงานนี้ อย่างนี้มันก็ไม่พ้นที่จะเป็นทุกข์ แล้วงานนั้นมันก็ไม่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์

  เหมือนกับคนที่ลืมอะไรไปหมด มีแต่ใจจดจ่ออยู่แต่สิ่งที่กำลังทำเท่านั้น

  การทำงานโดยหวังจะได้อะไรตอบแทนมันเป็นเรื่องตัวกู-ของกูที่ทำกันจนเคยชิน ถ้ามีใครคอยดู คอยจะให้รางวัลอยู่ก็ทำดี พอไม่มีใครแอบดูอยู่ก็ทำอีกอย่างหนึ่ง หรือทำต่อหน้าคนที่มีอำนาจหรือคนรักใคร่แล้วก็ทำดี ลับหลังก็ทำอีกอย่างหนึ่ง มันก็เป็นคนไหว้หลังหลอก แล้วอย่าไปหวังว่างานนั้นมันจะดีหรือว่าดี 100 เปอร์เซ็นต์ได้ ในเมื่อทำด้วยจิตใจที่ฟุ้งซ่านมันมีจิตใจฟุ้งซ่านอยู่อีกแบบหนึ่งอีก มีความระแวงระวังว่าจะต้องทำให้ถูกใจคนที่เขาจะบันดาลอะไรให้ได้ ไม่ได้ทำด้วยกำลังใจทั้งหมด อย่างนี้ก็เรียกว่า ไม่ได้ทำด้วยจิตว่าง

  เมื่อไม่ได้ทำด้วยจิตว่างมันจะดีเท่ากับที่ทำด้วยจิตว่างเป็นไปไม่ได้แม้ทำงานอย่างเดียวกัน รายเดียวกัน

  ถ้าคิดจะทำให้ถูกใจ นายจ้างบ้าง คนรักบ้าง หรืออะไรก็ตาม คิดทีแรกพอ รู้สึกทีแรกก็พอ ตกลงใจทีแรกก็พอแล้ว พอลงมือทำเข้าจริงๆต้องทำด้วยจิตว่าง คือไม่มีกู มีสู ไม่มีเรา มีเขา มีแค่สติปัญญา แล้วก็แรงงานที่จะระดมลงไปพร้อมๆ กัน ใช้แรงงานด้วยสติปัญญาของจิตที่ไม่ฟุ้งซ่านแล้วจะทำได้ดีกว่า

  แม้แต่งานเช็ดบ้านถูบ้าน แล้วในที่สุดผลมันจะวกกลับมาเป็นการถูกใจนายจ้างหรือคนรัก 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเขาทำด้วยจิตใจวุ่นอยู่ด้วยความฟุ้งซ่านอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว มันต้องมีเผลอ ต้องมีเผลอส่วนนั้นส่วนนี้จะเหลือขี้ฝุ่นไว้เป็นทางๆ ก็ไม่แน่

  การทำงานด้วยจิตวุ่น มันมีเผลอแน่ มันต้องมีเผลอ เพราะว่าจิตไม่ได้มุ่ง 100 เปอร์เซ็นต์ในการทำงาน วุ่นคิดไปตามความอยากความหวังอยู่

  ฉะนั้นถ้าเราจะทำงานให้มีผลดี พอลงมือทำงานละ ก็ต้องเป็นเรื่องจิตว่างจากตัวกู ตัวสู จากเขาจากเรา จากได้ จากเสีย จากขาดทุน จากการมีกำไร จากอะไรทั้งหมดแล้วจะไม่ปวดหัว แล้วงานก็ไม่มีความหมายเป็นการงาน แต่จะเป็นของสนุกเหมือนของเล่น”

  หารยกผลงานให้ความว่าง หมายถึงเอาผลงานเป็นของตัว แต่ยกให้ความว่างดังที่ท่านหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า

  “ผู้ที่ยังต้องปฏิบัติเพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่นอยู่ ยังกำลังเผชิญปัญหาต่างๆ อยู่เป็นประจำวันนี้ ยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ ฉะนั้นในการที่จะมีชีวิตว่างและทำงานด้วยจิตว่าง ก็เพื่อจะไม่เป็นทุกข์ การงานจะไม่เป็นทุกข์ การงานจะกลายเป็นของสนุก เขาก็จำเป็นต้องระวัง ที่จะไม่ย้อนเอาผลของงานมาเป็นของตัว ให้มันคงสนุกต่อไปเป็นสุขต่อไป

  วิธีที่จะทำงานด้วยจิตว่างมีอยู่อย่างไร มันก็ต้องเอาวิธีนั้นมาใช้กันโดยเฉพาะที่จะไม่ไปยึดเอาผลงานมาเป็นของตัว ให้มันสมกับการทำงานด้วยจิตว่าง ทำงานด้วยจิตที่เป็นธรรมชาติ บริสุทธิ์ ไม่เจืออยู่ด้วยตัวกู-ของกู ผลได้มาก็ต้องยกให้ธรรมชาติทั้งนั้น คือให้เลย ไม่ใช่เพียงแต่ฝากไว้แล้วทำอย่างไรมันจึงจะมีส่วนนำมาใช้สอยผลงานนั้นเลี้ยงชีวิต?

  ถ้าพูดอย่างตัวกู-ของกู มีตัวกู-ของกู ผลได้มาก็ต้องยกให้ธรรมชาติทั้งนั้น คือให้เลย ไม่ใช่เพียงแค่ฝากไว้แล้วทำอย่างไรมันจึงจะมีส่วนนำมาใช้สอยผลงานนั้นเลี้ยงชีวิต ถ้าพูดอย่างตัวกู-ของกู มีตัวกู-ของกูมันก็ไม่มีปัญหาอย่างนั้น แต่ถ้าโดยจิตใจ ที่ไม่มีตัวกู-ของกู มันก็ไม่มีปัญหาอย่างนั้น คือจะไม่มีผู้กินผู้ใช้ต่อไปด้วย

  มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ มีปฏิกิริยาเกิดขึ้น แล้วก็มีอะไรที่จะต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาตินั้นโดยที่ไม่เกิดตัวกู-ของกู ในความรู้สึกคิดนึกนั้นขึ้นมา

  แต่เดี๋ยวนี้ เนื่องจากว่าจิตนี่มันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ หรือกลับกลอกได้แล้ว แต่เหตุปัจจัยที่ปรุงแต่ง และยังอยู่ใต้อำนาจของเหตุปัจจัยที่มาปรับปรุง มันก็ต้องระวังกันอยู่เรื่อย อันนี้ก็เลยต้องมีบทเรียนต่อๆ ไปเพื่อกำกับกันไว้รอบด้านหรือตลอดเวลา เพื่อไม่ให้มันล้มเหลว หรือเป็นผลร้ายขึ้นมาในภายหลังสำหรับคำว่ายกผลงานให้ความว่าง มันก็ยังเหลือแต่ที่ ระวังอย่าให้ย้อนกลับไป มีตัวกู-ของกู แย่งเอาผลงานนั้นจากธรรมชาติมาเป็นของกู

  ทีนี้คำว่า ‘ผลงาน’ มันไม่ใช่ผลเฉพาะขณะนั้น มันหมายถึงสิ่งต่างๆที่ยังคงอยู่ต่อไปด้วย  เช่น ทรัพย์สมบัติหรืออะไรที่เขาถือว่าเป็นทรัพย์ของบุคคลนั้น ภาษาธรรมะนี้ บุตร ภรรยา สามี ก็ถือว่าเป็นทรัพย์สมบัติ

  มันก็ไม่มีอะไรที่จะไม่เรียกว่าทรัพย์สมบัติในบรรดาสิ่งที่มันเกี่ยวข้องกันอยู่กับบุคคลผู้นั้น คำว่า ‘ผลงานให้แก่ความสว่าง’ มันก็กินความมาถึงการที่จะไม่ถือว่าทรัพย์สมบัติใดๆ เป็นของเรา เรามีอยู่ มีทรัพย์สมบัติเหล่านั้นอยู่ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานทั้งสิ้นนั้น ต้องถือว่าได้ยกให้แก่ความว่างเสียแล้วมันจึงจะเป็นการยกผลงานให้แก่ความว่างโดยสมบูรณ์

  นี้มันแยกออกไปนิดเดียว คือส่วนที่เป็นผลเกิดขึ้น

  ที่จริงชีวิตแท้ๆ มันไม่ใช่ตัวกูไม่ใช่ของกู และมันก็ไม่ใช่ชีวิตของกู 

  ถ้าชีวิตมันไม่ใช่ของกู อื่นๆ มันก็ต้องพลอยสลายไปโดยอัตโนมัติโดยหลักที่ว่า เมื่อตัวกูไม่มีแล้ว ของกูมันจะมีมาแต่ไหน เมื่อตัวเราไม่มีแล้ว บุตร ภรรยา สามี ทรัพย์สมบัติอะไรของเราจะมีมาแต่ไหน

  ถ้ามองเห็นความจริงข้อนี้อยู่ มันก็ง่าในการที่จะยกผลงานทั้งหมดให้ความว่าง หรือว่ามันเป็นการยกให้แล้วอยู่ในตัวโดยอัตโนมัติ ไม่ต้องไปยกอะไรอีก

  อย่างนี้หมายถึงปุถุชนที่ขี้ลืม ขี้สะเพร่า ที่มักปล่อยไปตามอารมณ์ตามเหตุตามปัจจัย คอยแต่จะปรุงแต่งกลับมาเป็นตัวกู-ของกูใหม่ ย้อนหลังไปยึดครอง เอานั่น เอานี่ การกระทำก็ดี ผลของการกระทำก็ดี เรียกว่า ‘ว่ามันลืมไป’

  ที่เรียกว่ามีสติอันหลงลืม คือมันสูญเสียสติ ถ้าไม่มีสติมันก็เรียกว่ามีสติอันหลงลืมเสียแล้ว เพราะฉะนั้น ความสำคัญของการปฏิบัตินี้มันก็อยู่ที่ไม่ลืมสติ ไม่เผลอสติ สำหรับผู้ยังต้องปฏิบัติอยู่ก็คือไม่เผลอสติ สำหรับผู้ปฏิบัติเสร็จแล้วมันมีสติสมบูรณ์ตลอดเวลา ปัญหามันก็ไม่มีที่จะเผลอสติ

  กินอาหารของความว่างอย่างพระฉัน หมายถึง ให้กินอาหารเหมือนอย่างที่พระฉัน พระท่านฉันอาหารเพื่อยังมีชีวิตให้เป็นไปเท่านั้น มิใช่เพื่อความเอร็ดอร่อย หรือเพื่อทำนุบำรุงบำเรอในทางกาม ดังที่ท่านอาจารย์กล่าวว่า

  “ให้นึกถึงบทปัจจเวกขณะนั้นอยู่เสมอว่า สิ่งที่กินก็ดี สิ่งที่ถูกกินก็ดี เป็นความว่าง เป็นของว่าง ตัวผู้ที่กินนั้นก็เป็นของว่าง เพราะไม่ใช่สัตว์ไม่ใช่บุคคล สิ่งที่ถูกกินก็เป็นของว่าง หรือเป็นสักแต่ว่าธาตุตามธรรมชาติ การกินก็เลยเป็นความว่าง เพราะไม่มีตัวที่กินและตัวที่ถูกกิน

  คำว่า ‘กินอย่างพระฉัน’ มันแสดงชัดอยู่แล้วว่า ฆราวาสหรือคนทั่วไปเอาอย่างพระหรือว่าเป็นพระ

เหมือนพระ หรือเป็นพระไปเสียเลย ถ้ายังรู้สึกตัวเป็นฆราวาสอยู่มากๆ ก็พยายามกินอย่างพระ ถ้าไม่ถือตัวว่า

เป็นพระหรือฆราวาส ต้องกินตามวิธีที่พระฉัน คือมีความว่างอยู่ตลอดเวลา

  มาถึงตรงนี้อยากจะขอแทรกเป็นคำเตือนอยู่เสมอทุกครั้งว่าการปฏิบัติในพระพุทธศาสนานั้น ที่ถูกก็ไม่

ต้องมีพระหรือฆราวาส คือทำเหมือนกันหมด พระก็ทำอย่างนี้ ฆราวาสก็ทำอย่างนี้ นี่เป็นความจริงหรือเป็นข้อ

เท็จจริง แต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปไม่เป็นอย่างนั้น เขาแยกเป็นพระเป็นฆราวาส และมิหนำซ้ำแยกห่างออกจากกัน จนจะให้กลายเป็นเดินคนละทาง ทำคนละอย่าง

  เหมือนดังที่พูดกันอยู่เดี๋ยวนี้ในกรุงเทพฯ ที่เจริญด้วยการศึกษาเขาว่าให้พระทำอย่างหนึ่ง ให้ฆราวาสจะต้องเป็นผู้อยู่ในโลกๆ มีอะไรอย่างที่เรียกว่าโลกๆ เป็นโลกิยะ ส่วนพระก็จะให้ทำอย่างที่อยู่ในป่า เป็นไปเพื่อเหนือโลก หรือที่เรียกว่านิพพานแล้วก็แสดงการคัดค้านไม่ให้ชาวบ้านทำอย่างพระ คนที่ไม่รู้ก็ไม่รู้ว่าจะเชื่ออย่างไร จะทำอย่างไร

  ที่จริงจะเป็นใครก็ตาม พระหรือฆราวาสก็ตาม ต้องทำอย่างเดียวกันโดยหลักเกณฑ์อันเดียวกัน หัวข้ออย่างเดียวกัน เพียงแต่ว่าทำมากกว่ากันทำน้อยกว่ากัน ทำสูงกว่ากัน ไม่ได้ทำอย่างแยกหรือตรงกันข้ามการที่จะให้พระฉันด้วยความว่าง ฆราวาสจะต้องกิน ด้วยความยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวกู-ของกูอย่างนี้มันเป็นเรื่องผิด ทำให้มีผลเสียหาย มีความทุกข์

  ฆราวาสก็ต้องกินตามทำนองพระฉัน คือทำด้วยความว่าง ด้วยจิตว่าง...ด้วยความรู้สึกว่าง...แม้เป็นฆราวาสมีภารยาก็เหมือนกับไม่มีภรรยามีทรัพย์สมบัติก็เหมือนไม่มีทรัพย์สมบัติ มีสุขมีทุกข์เหมือนกับไม่มีสุขมีทุกข์ ซื้อของที่ตลาดก็อย่าเอาอะไรๆ มา “ คำสอนนี้สอนฆราวาสแท้ๆมันเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องสูงสุดอย่างเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นพระหรือฆราวาสก็ต้องปฏิบัติอย่างนี้ อย่ายึดถือในการมีการเป็น

  มาถึงปัญหาเรื่องการกิน ก็คือการบริโภคสิ่งที่หาได้ หรือมีอยู่เก็บไว้ซึ่งจะต้องทำด้วยจิตว่าง ซึ่งเรียกว่ากินอาหารของความว่าง ซึ่งเรียกว่ากินอาหารของความว่างอย่างพระกิน เมื่อถามว่า กินของใคร กินของความว่างที่เก็บไว้โดยบุคคลสะสมไว้โดยบุคคลนั้น ถ้าเขาทำถูกมาแล้ว ก็หมายความว่าสะสมด้วยจิตว่าง คือสะสมไว้ในฐานะที่ไม่ได้เป็นของกู แต่เป็นการทำหน้าที่อะไรอย่างนั้น ทำหน้าที่ด้วยจิตที่ไม่ได้ยึดถือสำคัญว่าเป็นตัวกูหรือของกู ก็เลยเหลืออยู่เป็นสต็อกใหญ่ของความว่าง เป็นคลังใหญ่ที่สะสมของความว่างแล้วก็กินจากนั้น นี่พูดอย่างสมมติภาษาคน...

  ที่จริงมันยิ่งกว่านั้น คือถ้ากินด้วยจิตว่างแล้ว มันก็คือกินของความว่าง เพราะฉะนั้นเมื่อเวลากินก็ทำจิตอย่างเดียวกับพระ คือมีความรู้สึกสำนึกสติสัมปชัญญะว่า ของที่กินนี้เป็นของว่างจากตัวตน คือเป็นธาตุตามธรรมชาติคือกินแล้วว่างจากตัวตน คือธาตุตามธรรมชาติ พูดอย่างนี้เลยนะ เกิดมีคำที่พวกคนไม่เข้าใจเป็นนักล้อหรืออยากล้อ เมื่อไม่เข้าใจก็ไปล้อด้วยความโง่ของเขาเองว่า ธาตุกินธาตุ พูดว่าธาตุนี้ไม่ใช่ทาส ข้าทาส ธาตุกินธาตุหมายความว่า ธาตุที่เป็นบุคคล พูดว่าธาตุที่เป็นอาหาร สำหรับผู้ที่มีความรู้มีสติปัญญาจะเข้าได้ หรือเป็นพระอรหันต์ในที่สุด มีความรู้สึกอย่างนั้นว่า ธาตุกินธาตุ ก็กลายเป็นความถูกต้อง เป็นคำพูดที่ถูกต้อง และเป็นความจริง”

  ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที หมายถึง กิเลสตัณหา อุปาทาน ตัวกู-ของกู ตายไปจากชีวิต โดยที่ยังมีชีวิตเดินเหินอยู่บนโลกนี้ได้อีก ท่านอาจารย์ได้อธิบายความตรงนี้ไว้ว่า

  “คำว่า ‘ตาย’ ในที่นี้หมายถึงตายอีกชนิดหนึ่ง คือตายโดยที่ร่างกายไม่ต้องตาย ชีวิตยังไม่แตกดับแต่ก็ตาย หมายถึงตายอีกชนิดหนึ่งคือตายโดยที่ร่างกายไม่ต้องกาย ชีวิตยังไม่แตกดับ แต่ก็ตายหมายถึงตัวกู-ของกูตายหมด

  ในคำโบราณที่พูดไว้ว่า นิพพานนั้นคือตายเสียก่อนตาย หรือตายเสียก่อน แต่ร่างกายตาย นี้อะไรตาย? ก็คือกิเลสที่เป็นเหตุให้รู้สึกว่ามีตัวกู-ของกูนั่นแหละ กิเลสต้องตายเสร็จก่อนร่างกายตาย จึงจะเรียกว่านิพพาน

  พูดว่าจงตายเสียให้เสร็จสิ้นในตัวเสียแต่ทีแรก ก็หมายความว่า อย่ามีความรู้สึกว่าตัวกูของกูมาเสียแต่ทีแรก ให้ตลอดเวลาไปเลย นี้เรียกว่าตัวกู-ของกูมันตาย ไม่มีส่วนเหลือตั้งแต่ทีแรก หรือตลอดเวลา

ที่ว่าตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวทีนี้ ชาวบ้านที่เป็นคนธรรมดาสามัญจนเกินไปที่ไม่เคยได้ยินก็กลัว พวกที่เข้าใจเรื่องจิตว่างแบบอันธพาลเขาไม่เข้าใจ เขาก็กลัว กลัวความตายไปทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่เข้าใจว่าความคายชนิดนี้หมายความว่าอย่างไร

  คือความตายชนิดนี้มันช่วยแก้ปัญหาความตายชนิดโน้น ความตายที่เป็นทุกข์หมายถึง ความตายของจิตที่ยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวกู-ของกู มันกลายเป็นสิ่งที่ดับทุกข์ แล้วก็ไม่มีความทุกข์อีกต่อไป ความตายชนิดนี้ควรจะศึกษาให้เข้าใจกันไว้

  ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที มันเป็นเรื่องลดลงไปสู่ความสงบราบคาบเรียบร้อยเย็นสนิท

  “ตายเสร็จสิ้นแล้วในตัวแต่หัวที” นี้มีความหมายว่าเป็นอยู่ด้วยชีวิตที่เย็นสนิท ถ้าตรงกันข้ามจากนี้ มันก็คือความร้อน ร้อนเป็นไฟเผาอยู่ตลอดเวลา เป็นการทำบาปอยู่ตลอดเวลา ในตัวมันเอง มันเป็นเรื่องที่น่ากลัวยิ่งกว่าสิ่งใดหมด เป็นการทำบาปอยู่ตลอดเวลาในตัวมันเอง น่ากลัวหรือไม่น่ากลัว ไปลองคิดดู เป็นบาปร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่ในตัวตลอดเวลาที่เป็นอยู่ด้วยกิเลสตัณหานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ แต่ถ้ามันขจัดออกไปเสียได้ให้มีกายใจที่บริสุทธิ์อยู่เท่าที่เราจะทำได้ มันก็ตรงกันข้าม มีความเย็น อยู่ตลอดเวลา เอาไปเปรียบดูก็แล้วกัน

  เป็นอย่างไรบ้างสำหรับเทคนิคการทำงานของหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุที่ให้ทำงานด้วยจิตว่าง ถ้าเราทำได้จนตลอดชีวิต เราคงมีความสุขตลอดเวลามันเป็นศิลปะสำหรับดำชีวิตอยู่บนโลกอย่างชาญฉลาดเลยทีเดียว   

ข้อมูลจากหนังสือ ธรรมชนะความโลภ ขากสำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ http://www.satapornbooks.co.th/Book/BookDetail.aspx?id=2115


คำสำคัญ (Tags): #ธรรมะ
หมายเลขบันทึก: 531269เขียนเมื่อ 25 มีนาคม 2013 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2013 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท