ถอดเทปการ ประชุมเพื่อระดมสอง เรื่องข้อเท็จจริง และตัวเลขเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ และผู้มีปัญหาสถานะบุคคล : นโยบายและทางออก จัดโดยสถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556 เรื่องนโยบายต่อผู้อพยพลี้ภัยของประเทศไทย


           การประชุมเพื่อระดมสอง เรื่องข้อเท็จจริง และตัวเลขเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ และผู้มีปัญหาสถานะบุคคล : นโยบายและทางออก จัดโดยสถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2556

            ในการประชุมครั้งมีมีการพูดคุยถึงหลายๆประเด็นเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ และผู้มีปัญหาสถานะบุคคล หนึ่งในประเด็นที่มีการพูดคุยกันคือ เรื่อง นโยบายต่อผู้อพยพลี้ภัยของประเทศไทย นำเสนอโดย ฉัตรชัย บางชวด คณะอนุกรรมการด้านสถานะบุคคลของผู้ไร้สัญชาติ ไทยพลัดถิ่น ผู้อพยพ และชนพื้นเมือง

             นโยบายต่อผู้อพยพลี้ภัยของประเทศไทย

ขอนำเสนอตามหัวข้อที่กำหนดไว้โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 2กลุ่มคือ

-  กลุ่มของชาวโรฮิงยา

-  กลุ่มผู้หนีภัยการสู้รบจากพม่า

              ประเด็นแรกประเด็นเรื่องของชาวโรงฮิงยาหลบหนี้เข้าเมือง การหลบหนี้เข้าเมืองมาจำนวนมากในครั้งนี้ เกิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศต้นทาง โดยการเข้ามาในครั้งนี้จะแตกต่างจากการเข้ามาในอดีต ที่มีแต่ผู้ชายทั้งหมด  แต่การเข้ามาครั้งนี้พบว่ามีเด็กและผู้หญิงด้วย

               ทางราชการได้ดำเนินการ ในบางเรื่อง เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและยึดหลักกฎหมาย ในส่วนนี้เองมีข้อสรุปอย่างชัดเจนว่าคนเหล่านี้เป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง ที่ต้องดำเนินการ ตามกฎหมาย คนเข้าเมือง ของประเทศไทย แม้จากองค์ประกอบและเงื่อนไขต่างๆจะเป็นผู้ลี้ภัยแต่เนื่องจาก ประเทศไทยยังไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาผู้ลี้ภัยอย่างกรณีชาวกระเหรี่ยง เราก็ได้เรียกว่าผู้หนีภัยการสู้รบ  แต่ในทางปฏิบัติ ก็ได้คำนึงถึงหลัก มนุษยชน โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่ใช่หน่อยงานความมั่นคง นั้นก็คือ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  มาดูแลกลุ่มผู้หญิงและเด็ก  โดย มีหลักสำคัญอันหนึ่งคือ หลักครอบครัว พ่อ แม่ ลูก ตามหลักการจะต้องไม่แยกจากกัน ถ้าเป็นบุคคลคนอีกส่วนหนึ่งจะมีหน่วยความมั่นคงมาดูแล

                ตรงนี้ทางราชการได้เข้ามาดำเนินการ และมีหลักสำคัญอีกอันหนึ่ง ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหา โดย มอบหมายให้กระทรวงต่างประเทศ ไปหารือกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง  โดยหารือร่วมกันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาของคนเหล่านี้ โดยเฉพาะการเจรจากับประเทศต้นทาง และการการดูแลในระยะเฉพาะหน้าคือ การดูแลระหว่างที่คนเหล่านี้ยังไม่สามารถเดินทางกลับไปไปที่ประเทศต้นทางได้ นี่เป็นแนวทางที่ภาครัฐดำเนินการในช่วงเวลาที่ผ่านมา

                  ในช่วงที่ผ่านมาท่าทีขององค์การระหว่างประเทศ เช่น UNHCR IOM ก็มีการประสานกับหน่วยทางราชการก็มีแนวทางที่เห็นพ้องกันว่า ต้องการให้ทุกฝ่าย รัฐบาลไทย รัฐบาลกัมพูชา รัฐบาลพม่า รัฐบาลมาเลย์เซีย รัฐบาลอินโดนีเซีย และ บังกลาเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ต้องเข้ามามีส่วนร่วม  ในระดับ พหุภาคีเพื่อปัญหาร่วมกัน และมีการให้องค์กรระหว่างประเทศคือ UNHCR  เข้าไปเก็บข้อมูลชาวโรฮิงยาว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร บ้านอยู่ที่ไหน ประเทศต้นทางอยู่ไหน มีความสัมพันธ์กับคนที่อพยพมาก่อนอย่างไร แม้กระทั่งชาวโรฮิงยาที่อยู่ในมาเลย์เซียก็ต้องไปเก็บข้อมูลเพื่อดูความเชื่อมโยงกันนำไปสู่การแก้ปัญหาในอนาคต

                    ในส่วนของภาครัฐมีหลักการสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินการต่อชาวโรฮิงยา ในช่วงที่ผ่านมาและช่วงปัจจุบัน คือ 

             ประการแรก ประเทศไทยมีอำนาจเด็ดขาดในการ ดำเนินการต่อผู้บุกรุกอธิปไตยซึ่งเป็นไปตามหลักกฎหมาย  และคงไว้ซึ่งสิทธิในการปฏิเสธการเข้าประเทศ ตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง

             ประการที่สองดำเนินการต่อผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยมีการดำเนินการที่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล และกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากไทยเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย ความปลอดภัยในชีวิตในทะเล 1974  และนี่ก็เป็นเงื่อนไขอันหนึ่งที่ในหลักการต้องคำนึงถึงอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย

             ประการที่สามการดำเนินการต่อคนเหล่านี้ ต้อง คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม และคำนึงถึง เด็ก สตรี และคนป่วยเป็นอันดับแรก  โดยดำเนินการให้มีมีความเหมาะสม เป็นไปตามหลักสากล การคำนึกถึงความปลอดภัย การดำเนินการให้มีสิทธิขั้นพื้นฐานตามความจำเป็น

             ประการที่สี่ ต้องมีการซักถามตรวจสอบรายละเอียดว่าคนเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร

             ประการที่ห้าคำนึงถึงหลักความสมดุลระหว่างเรื่องสิทธิมนุษยชน และความมั่นคง

             ประการสุดท้ายในการแก้ปัญหา ยึดหลักการแก้ปัญหาร่วมกันโดยเฉพาะในประชาคม อาเซียน

                       นอกจากนี้ยังมีกรณีเฉพาะชาวโรฮิงยาที่เข้ามาล่าสุด ซึ่งก็มีแนวทางเพิ่มเติมอีก 5 ประเด็น

1.   ถือว่าคนเหล่านี้เดินทางเข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมาย ต้องดำเนินคดีตามกฎหมายไทย

2.   ยึดตามหลักสากลถือปฏิบัติตามหลักมนุษยชน และหลักมนุษยธรรม

3.  รัฐไม่มีนโยบายตั้งศูนย์พักพิงในประเทศไทย แต่จะมีรูปแบบอื่นๆ คือให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม ได้มีทีการที่พักพิงชั่วคราว อย่างที่ผู้ลี้ภัยชาวกระเหรี่ยง นอกจากนี้ มีความคัดกรองแยกเด็ก กับสตรีและยึดหลักครอบครัว โดยให้อยู่เป็นครอบครัว

4.  หากมีการติดต่อมาขององค์กรระหว่างประเทศ ทางการไทยต้องกำหนดขอบเขตหน้าที่ หลักการสำคัญอันหนึ่งคือ จะไม่ให้มีการกระทำที่นำไปสู่การกำหนดสถานะ

5.  เร่งเจรจากับประเทศต่างๆโดยเฉพาะประเทศต้นทาง เพราะจะเป็นจุดที่เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

6.  จัดการกับกระบวนการนำพา ตรวจสอบเครือข่ายต่างๆ

                            กรณีผู้ลี้ภัยจากพม่า จำนวนประมาณ 100,000 คนซึ่งได้เข้ามาตั้งแต่ปี 2547 ในช่วงที่ผ่านมาทางการไทย มีการให้ความช่วยเหลือแม้ไม่ได้เป็นภาคีในอนุสัญญาว่าด้วยคนลี้ภัยปี 1951   แต่ก็ดำเนินการตามหลักผู้ลี้ภัยตามสมควร เรามีหลักอยู่สองสามประการนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน

   1  ดำเนินการตามหลักการ  คือการเดินทางกลับประเทศต้นทางโดยสมัครใจมีความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินของคนเหล่านั้น  สามารถดำรงชีวิตในประเทศต้นทางได้อย่างเหมาะสม ในช่วงที่ผ่านมา

    2  ในระหว่างที่สามารถกลับประเทศได้ทางการไทยก็ได้มีการดำเนินการ ควบคุมไว้ในพื้นที่ที่ทางการกำหนด และได้มีการแบ่งเบาภาระบางประการของฝ่ายราชการที่มีข้อจำกัด โดยให้องค์กรที่เกี่ยวข้องเข้าไป ดำเนินการช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมและหลักมนุษยชน และ พยายามที่จะมีการเจรจา แก้ปัญหากับประเทศต้นทาง เพื่อนำไปสู่การส่งกลับประเทศต้นทางในอนาคต นำไปสู่การแก้ปัญหาร่วมกันได้

ในช่วงที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหามีอยู่กรรมการกลไกอยู่สองระดับคือ ระดับเชิงนโยบาย และระดับพื้นที่

-  การแก้ปัญหาระดับเชิงนโยบาย คณะอนุกรรมการควบคุม ผู้หนีภัยการสู้รบ มีท่านเลขาธิการ สปช เป็นประธาน

-  การแก้ปัญหาระดับพื้นที่ มีคณะกรรมการจังหวัด มีผู้ว่าเป็นประธาน มีหน่วยงานต่างๆที่สำคัญในกรรมการชุดนี้ ได้มีตัวแทนของ UNHCR เข้ามาร่วมเป็นกรรมการด้วย เป็นกลไกลที่จะขับเคลื่อนคุ้มครองคนเหล่านี้นำไปสู่การส่งกลับในอนาคต

            ในช่วงที่ผ่านมา ทางการไทย ได้มีการดำเนินการดูแลในด้านต่างๆหลายเรื่อง  มีการอนุญาตให้ NGO เข้าไปดูแลในเรื่อขั้นพื้นฐานต่างๆ ในที่พักพิง นอกจากนี้ยังมีโครงการมากมาย  ที่ดูแลเรื่องอนามัยของแม่และเด็กและเรื่องการวางแผนครอบครัว เรื่องการศึกษามีการจัดให้ให้มีการเรียนภาษาไทย ควบคู่ไปกับการจัดฝึกอบรมอาชีพ

    3  มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย  ถึงเรื่องสถานะ ถึงเรื่องขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีของประเทศไทย ที่ต้องปรับให้เหมาะสมสอดคล้อง ในขณะที่มีการดำรงชีวิตอยู่ในไทยก็มีการตั้งศูนย์ข้อมูล ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย มีรายได้ในที่พักพิงโดยภาคเอกชนนำวัตถุดิบต่างๆเข้าไป ให้ผลิตสินค้าให้มีรายได้เพิ่มเติม เป็นการเตรียมตัวก่อนเดินทางกลับในอนาคต

             ส่วนการทำงานนอกพื้นที่ มีข้อจำกัดที่ทำให้ทางการไทยไม่มาสามารถอนุญาตได้อยู่ 3 ประการ

1 โครงการฝึกอาชีพที่มีอยู่ในที่พักพิง มีการนำวัตถุดิบต่างๆเข้าไปในที่พักพิงอยู่แล้ว สามารถผลิตสินค้าได้ข้างใน ไม่จำเป็นต้องออกมาภายนอกก็สามารถมีรายได้ได้

2 การเดินทางออกไปข้างนอกในทางปฏิบัตินั้น จะให้มีการตรวจสอบ ควบคุมได้ยาก อาจจะไปพันกับเรื่องของ แรงงานต่างด้าวที่เป็นประเด็นอยู่ ทำให้ไม่สามารถแยกบุคคลต่างๆได้นี่คือเหตุผลที่ไม่ให้ออกยกเว้นมีกรณีจำเป็นจริงๆ ซึ่งต้องดูเป็นกรณี กรณีไป

 4 เพื่อให้ทราบข้อมูล ณ ปัจจุบันมีการจัดทำข้อมูลเพื่อให้ทราบที่มาของ  เป็นการตรวจสอบข้อมูลแต่ไม่ได้มีการขึ้นทะเบียน ดำเนินการช่วง พฤษภาคม พ.ศ.2556 ถึง มิถุนายน พ.ศ.2556 เพื่อสอบถามข้อมูลของกลุ่มคนต่างๆที่อยู่ในที่ เพื่อเป็นฐานข้อมูลของส่งเขากลับในอนาคต ดูแลเรื่องอาชีพ เรื่องการเตรียมตัวในอนาคตมีการให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงไปดำเนินการ   

              สำหรับการส่งกลับ  ขึ้นอยู่กับปัจจัยสถานการณ์ภายในประเทศต้นทาง  หรือสถานการณ์บริเวณชายแดนซึ่งต้อง นำมาประกอบกันโดยเฉพาะ ประเทศต้นทาง จะมีความพร้อมในช่วงไหนอย่างไร ในหลักการก็คือว่าประเทศต้นทางไม่ได้ปฏิเสธในการดำเนินการเรื่องนี้  เพียงแต่ว่าต้องมีความพร้อมที่เหมาะสม ที่สำคัญต้องมีการเตรียมแผนร่วมกับฝ่ายไทย และองค์กรที่เกี่ยวข้องร่วมกันดำเนินจัดการ โดยเฉพาะพื้นที่ที่คนพวกนี้ไปอาศัยอยู่ในประเทศต้นทางดูแลเรื่องพื้นที่อย่างไร ในการจัดกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกเรื่องอาชีพ ที่พักในประเทศต้น ให้มีความปลอดภัยในการดำรงชีวิตได้ ก็เป็นเรื่องที่ต้องมีการเตรียมการ ทั้งหมดถือว่าเป็นแนวทางในเชิงนโยบายอาจจะมีการแทรกแนวปฏิบัติไปบ้าง


หมายเลขบันทึก: 531172เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2013 15:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2013 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท