เผยแพร่ผลงาน วิทยานิพนธ์


 วิทยานิพนธ์ 

ชื่อเรื่อง  : สภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา

 บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้  เป็นการศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา  โดยจำแนกเป็นสภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวที่อยู่ในความดูและของกรมอุทยานแห่งชาติ  สัตว์ป่า  และพันธุ์พืช  และ สภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานอื่น  ในการศึกษาผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากเอกสาร  ข้อมูลภาคสนาม  โดยวิธีการสังเกตและสัมภาษณ์  แล้วเสนอผลการศึกษาโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์  และมีภาพประกอบบางตอน  ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

สภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวที่อยู่ในความดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  ปรากฏว่า  ด้านที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆและชุมชนเมือง  ด้านสภาพจุดเด่นส่วนใหญ่มีภูมิทัศน์ธรรมชาติสวยงามอุดมไปด้วยพืชพรรณและสัตว์ป่า  ด้านการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนใหญ่  การคมนาคมขนส่งสะดวกที่พักยังมีไม่เพียงพอ  ร้านอาหารมีอยู่บางพื้นที่  การนำเที่ยวและความปลอดภัยค่อนข้างดี  สาธารณูปโภคพร้อม  ส่วนแนวทางในการพัฒนานั้น   ควรพัฒนาสภาพภูมิทัศน์ธรรมชาติอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า    ควรพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านที่พัก   การบริการนำเที่ยว  ความปลอดภัย  เป็นต้น  ด้านการบริหารจัดการ  ควรมีการศึกษาวิจัย  ประชุมสัมมนา  สนับสนุน งบประมาณและให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

สภาพและแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อการท่องเที่ยวที่อยู่ในความดูและของหน่วยงานอื่น   ปรากฏว่า  ที่ตั้งใกล้แหล่งท่องเที่ยวอื่นและชุมชนเมือง  ด้านสภาพจุดเด่นมีภูมิทัศน์ธรรมชาติที่สวยงาม      ด้านการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก  การคมนาคมขนส่งสะดวก  สาธารณูปโภคบางอย่างไม่พร้อม  ไม่มีที่พัก  ร้านอาหารมีบางพื้นที่  ขาดการบริการนำเที่ยว  ความปลอดภัยต้องดูแลเพิ่มขึ้น  ส่วนแนวทางในการพัฒนานั้น  ด้านจุดเด่นเน้นสภาพ    ภูมิทัศน์   ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเน้น  การบริการนำเที่ยว  การประชาสัมพันธ์  ความปลอดภัย  และการบริหารจัดการเน้นการเพิ่มงบประมาณและการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

บทคัดย่อ 

CONDITIONS  AND  APPROACHES  TO  DEVELOP  NATURAL TOURIST     ATTRACTION  RESOURCES  FOR  TOURISM  IN  CHANGWAT SONGKHLA

This  research  was  to  study  conditions  and  approaches  to  develop  natural  tourist  attraction  resources  for  tourism  in  Songkhla  Province.  The  resources  were  classified  as  the  ones  under  the  control  of  the  National  Parks,  Wild  Animals  and  Plants  Department  and  those  under  the  controls  of  other  departments.  Data  were  collected  from  documents,  field  data,  descriptive  analysis  methods  and  photographic  illustration.  Following  are  research  findings.

Concerning  conditions  and  approaches  to  develop  natural  tourist  attraction  resources  under  the  control  of  the  national  Parks,  Wild  Animals  and  Plants  Department,  it  was  found  that  their  locations  were  close  to  other  tourist  attractions  and  city  communities.  Most  of  them  possessed  outstanding  features  such  as  beautiful  natural  scenery,  plants  and  wild  animals.  As for  services  and  facilities,  these  resources  were  easy  to  be  reached  with  full  public  utilities  but  with  limited  numbers  of  accommodations.   There were food  services  in  some  areas  and  could  provide   good  tour  guides  and  security.  Concerning  approaches  for  their  developments,  these  tourist  attractions  should  concentrate  on  improving  natural  scenery,  forest  and  wild  animal  reservation,  public  utilities  and  accommodations  as  well  as  tour  guides  and  securities.  As  for  resource  managing,  research  and  seminars  concerning  the  development  of  these  resources,  budget  support  and  public  participation  should  be  considered.

As  for  the  conditions  and  approaches  to  develop  natural  tourist  attraction  resources  under  the  controls  of  other  departments,  it  was  found  that  these  resources  were  close  to  other  tourist  attraction  resources  and  city  communities  with  beautiful  natural  scenery.  They  were  easy  to  be reached  but  lacked  tour  guides  and  needed  more  security  cares.  Concerning  approaches  to  develop  these  natural  tourist  attraction  resources,  it  should  be  focused  on  natural  scenery,  utilities,  tour  guides,  public  relations,  and  securities.  And  as  for  managing  the  resources,  more  budgets  should  be  provided   and  public  participation  should  be  considered.

 

 

 

 

 

สถานที่: จังหวัดสงขลา

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 529185เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2011 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2013 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท