ใครเซ็น กับ ไคเซ็น


      สมัยผมเป็นหนุ่ม  คำถามในวงเหล้าว่า ใครเซ็น เป็นคำถามที่หาคนรับผิดชอบสภาพหนี้จากเจ้าของร้าน
      ถ้าคำถามนี้เป็นคำถามในหน่วยงาน  ก็คงเป็นคำถามจากข้อกังขาของหลายฝ่าย  เช่น  ฝ่ายร่างหนังสือ  ฝ่ายพิมพ์  หรือฝ่ายต้นเรื่อง (คนรับผิดชอบเสนอเรื่อง) แสดงว่าการบริหารในหน่วยงาน ขาดความชัดเจนในการจัดองค์กร (Organization) ไม่รู้ว่า  ใคร?  ทำอะไร?  อยู่ที่ไหน (ตำแหน่ง)?  ขึ้นกับใคร?  สายการบังคับบัญชาเป็นอย่างไร? 
      เรื่องการ “เซ็น” (โปรดระวัง ไม่มี ต. การันต์) นี่มีนิทานมหาดไทยเล่าต่อๆ กันมาว่า  เจ้าหน้าที่ (ผู้สะเพร่า) พิมพ์หนังสือเสนอผู้ว่าราชการจังหวัด  เพื่อขออนุมัติ  โดยลงท้ายว่า
“ขอแสดงความนับถืออย่างไร ?” แทนที่จะ “ขอแสดงความนับถืออย่างสูง”
ผู้ว่าราชการจังหวัดอ่านแล้ว  เซ็นบันทึกว่า “จะแสดงความนับถืออย่างไรก็แล้วแต่  เรื่องที่ขอมาอนุมัติ”
      ส่วนคำว่า “ไคเซ็น” (Kaizen) เป็นภาษาญี่ปุ่น  หมายถึง  การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง  และยังหมายถึง  วิธีการดำเนินการปรับปรุง  ที่เกี่ยวข้องกับทุกคน  ทั้งผู้บริหาร  และผู้ร่วมงาน  ปรัชญาของไคเซ็น  ถือว่า  วิถีชีวิตของคนเรา  เป็นชีวิตแห่งการทำงาน  ชีวิตทางสังคม  และชีวิตทางครอบครัวที่ควรจะได้รับการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
      ไคเซ็น  เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยเป็นค่อยไป  และสม่ำเสมอ
      ไคเซ็น  คือการปรับปรุงคุณภาพ  การทำงานทันเวลา  การบริหารงานโดยไม่บกพร่อง  การร่วมมือกันทำงาน  การปรับปรุงผลิตภาพ ฯลฯ
      ไม่ว่า “ใครเซ็น” หรือ “ไคเซ็น” ล้วนแล้วแต่สำคัญสำหรับการบริหารทั้งสิ้น

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5290เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2005 14:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตลอดเวลาที่ติดตามอ่าน blog ของท่านคณบดีคณะศึกษาศาสตร์แล้ว นอกจากได้สาระที่ไม่เคยรู้มาก่อน ยังรู้สึกสนุกสนาน ดีมากๆ เลยค่ะ...ชอบ ชอบ ชอบ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท