การเคาะปอดเพื่อระับายเสมหะในเด็กเล็ก


การเคาะปอดเพื่อระับายเสมหะในเด็กเล็ก
 
   
 
จัดทำโดย
โครงการส่งเสริมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเด็ก
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
โทรศัพท์ 02-201-1727
เนื้อเรื่อง : คุณธิติดา  ชัยศุภมงคลลาภ
อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.พญ.อรุณวรรณ  พฤทธิพันธุ์์
ภาพประกอบ : คุณสุรพล  แสงโสภิต
ออกแบบรูปเล่ม :
คุณเมตตา ขำอินทร์

ประกอบด้วย

  1. การจัดท่าเด็ก (postural drainage)
  2. การเคาะปอด (percussion)
  3. การสั่นสะเทือน (vibration)
  4. การไออย่างมีประสิทธิภาพ (effective cough)
  5. การดูดเสมหะ (เฉพาะเด็กเล็กหรือเด็กที่ไม่สามารถไอบ้วนเสมหะได้เอง)

หลักการทั่วไป

  1. การจัดท่า  เพื่ออาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กส่วนปลายเข้าสู่หลอดลมใหญ่ตรงกลาง  เมื่อเด็กไอเสมหะจะถูกขับออกมาได้มากขึ้น 
  2. การเคาะ  ใช้อุ้งมือ (ดังรูป)  ไม่ควรใช้ฝ่ามือ  ควรทำมือให้เป็นลักษณะคุ้ม  นิ้วชิดกัน ที่เรียกว่า cupped hand เคาะบริเวณทรวงอกส่วนที่ต้องการระบายเสมหะ
  3. ใช้ผ้ารองบนส่วนที่จะเคาะ
  4. การเคาะแต่ละท่าควรใช้เวลาโดยเฉลี่ยประมา 1-3 นาที หรือนานกว่านั้นถ้ายังมีเสียงเสมหะมากอยู่ 
  5. ขณะเคาะหากเด็กไอ  ควรใช้ การสั่นสะเทือนช่วย โดยใช้มือวางราบ พร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขนและหัวไหล่ทำให้มือสั่น ในระหว่างที่กำลังไอหรือช่วงที่เด็กหายใจออก
  6. ฝึกการไอ ให้มีประสิทธิภาพ  (ทำได้เฉพาะเด็กที่ รู้เรื่อง สามารถเข้าใจและทำตามคำอธิบายได้) ฝึกได้โดยให้เด็กหายใจเข้าเต็มที่ช้า ๆ  กลั้นไว้สักครู่  และไอออกมาโดยเร็วและแรง
  7. ควรทำการระบายเสมหะ ก่อนมื้อนมหรืออาหาร หรือขณะท้องว่าง หรืออย่างน้อย 2 ชั่วโมง หลังอาหาร เพื่อป้องกันการสำลักและอาเจียน

การจัดท่าเคาะปอด

ท่าที่ 1   ปอดกลีบซ้ายบนส่วนยอด
จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลังประมาณ 30°เคาะบริเวณด้านบน  เหนือทรวงอกด้านซ้าย ระหว่างกระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก

ท่าที่ 2  ปอดกลีบซ้ายบนด้านหลัง
จัดท่าให้เด็กนั่งคร่อมตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อย (30°) บนแขนของผู้ให้การบำบัด  เคาะบริเวณด้านหลังตอนบนเหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอและหัวไหล่

ท่าที่ 3   ปอดกลีบซ้ายบนด้านหน้า
จัดท่านอนหงายราบ เคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไหปลาร้าเล็กน้อย

ท่าที่ 4   ปอดกลีบซ้ายส่วนกลาง
จัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ 15° และตะแคงด้านซ้ายขึ้นมาประมาณ ? จากแนวราบ  และเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย

ท่าที่ 5   ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านหน้
จัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำหน้า ศีรษะต่ำ 30°ประคองทรวงอกบริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมา  เล็กน้อยเคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้างตอนหน้าต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย

ท่าที่ 6    ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านข้าง 
จัดท่าศีรษะต่ำ 30o  นอนตะแคงเกือบคว่ำเคาะบริเวณด้านข้างเหนือชายโครงระดับเดียวกับท่าที่ 5  ใต้ต่อรักแร้ของเด็ก

ท่าที่ 7 ปอดกลีบซ้ายล่างส่วนหลัง
จัดท่าศีรษะต่ำ 30° นอนคว่ำ  เคาะบริเวณด้านหลังต่ำจากกระดูกสะบักลงมาในระดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า

หมายเหตุ :  

ในภาพเป็นการแสดงท่าระบายเสมหะจากปอดด้านซ้าย   สำหรับการระบายเสมหะจากปอดด้านขวาให้จัดท่าแบบเดียวกันแต่สลับข้างจากซ้ายเป็นขวาถ้าทราบว่า พยาธิสภาพอยู่ที่ปอดส่วนไหนให้เน้นเคาะที่ตำแหน่งนั้นเป็นพิเศษ

 

ที่มา http://www.thaipedlung.org/mustknow_mar21032007.php

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 528557เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2011 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2011 23:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท