การจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชน


จัดการโดยชุมชน
         การจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชนเป็นแนวทางการจัดการทรัพยากรประมงแบบใหม่ โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรประมงด้วยตนเอง ซึ่งเป็นแนวทางที่หลายๆประเทศโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาได้นำหลักการมาใช้บ้างแล้ว และยังเป็นการสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ปี 2540) ของประเทศไทยในอันที่จะกระจายอำนาจในการบริหารและการจัดการทรัพยากรไปสู่ชุมชนท้องถิ่นโดยทั่วกันอย่างเป็นธรรม 
         ในประเทศไทย โดยกรมประมงได้นำหลักการการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนมาทดลองใช้ใน 3 พื้นที่ด้วยกัน คือ อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์    ต.คลองเคียน  จ.พังงา  และ อ.ปะทิว จ.ชุมพร ซึ่งมีวิธีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน โดยเป็นไปตามความต้องการของชุมชน ส่วนการดำเนินงานในพื้นที่ อ.ปะทิว จ.ชุมพร เป็นการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมประมงโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลางกับศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ(กปร.) ได้จัดทำแผนปฏิบัติการโครงการภายใต้ชื่อ “โครงการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร” ( Locally Based Coastal Fisheries Resources Management in Pathew District, Chumphon Province, LBCRM-PD) ซึ่งเป็นโครงการนำร่องในการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งโดยชุมชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
         กรมประมงได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนกลาง ร่วมกับศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นผู้จัดทำแผนการดำเนินงาน และดำเนินงานโครงการตามกิจกรรมต่างๆที่กำหนดไว้ 5 ปี ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2544 เป็นต้นมา ในขณะนี้การดำเนินงานในระยะที่  1 หนึ่งได้เสร็จสิ้นลงแล้วและได้ดำเนินการในระยะที่ 2 เป็นเวลา 2 ปี
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 5244เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2005 13:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท