ความสนใจในศาสนธรรมที่เปลี่ยนไป


พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์


ผมจำที่อดีตสันติกโรภิกขุ หรือ Robert David Larson ชาวอเมริกัน ผู้ก่อตั้งเครือข่ายพุทธศาสนิกสัมพันธ์เพื่อสังคม (INEB) พูดถึงความเป็นไปในวงการพุทธศาสนาของไทยได้บางตอนเด็ดๆ อย่างเช่น “เพราะไปให้ความสำคัญกับพรหมจรรย์เกินไป โดยที่คนมาบวชส่วนใหญ่ไม่ตั้งใจจะถือพรหมจรรย์ด้วย ผม(สันติกโร) มั่นใจว่า พระ(ไทย) 95% ถ้าแต่งงานได้ก็ไม่ปฏิเสธ” นี่เขาพูดไว้อย่างนี้ ถือว่าเป็นประเด็นร้อนแรงมากในห้วงเวลานั้น แค่เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

และผมก็คิดว่ามันยังคงร้อนแรงมาแม้จนกระทั่งถึงตอนนี้  ด้วย เหตุที่สถานการณ์ทางด้านพระศาสนาอยู่ในขั้นเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะรู้ตัวกันหรือไม่ก็ตาม โดยเฉพาะเมื่อกระแสความสนใจในหมู่ชาวตะวันตก อย่างชาวอเมริกันเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกวัน

ทุก วันนี้ ตามร้านหนังสือในอเมริกา มีหนังสือแนวพุทธออกมาวางจำหน่ายมากมาย ศาตร์ตะวันออกแขนงพุทธศาสน์ กำลังได้รับความสนใจ จากคนอเมริกันหลายกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นพุทธสายมหายานและสายตันตระยาน  ซึ่ง สายหลังนี้ คนอเมริกันได้รับอิทธิพลจากองค์ดาไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำทางการเมืองของธิเบตที่เดินทางมายังอเมริกา ค่อนข้างบ่อย

ดา ไลลามะ เข้าพบนักการเมืองและบุคคลสำคัญของอเมริกันหลายครั้งหลายครา ถึงกระทั่งมีสถาบันทางวิชาการศาสนาอย่างมหาวิทยาลัยนาโรปะเกิดขึ้น เพื่อสอนความรู้เกี่ยวกับนิกายพุทธตันตระมานานหลายปี

สะท้อนถึงการเปิดเสรีทางการศึกษา หรือด้านวิชาการที่เป็นอยู่ในประเทศนี้ ตราบเท่าที่ผู้ที่ต้องการเปิด  ดำเนินกิจการสามารถอยู่ในกฎเกณฑ์ที่เป็นตัวบทกฎหมายการจัดตั้งสถาบันการศึกษา  กรณีของสถาบันการศึกษาสายธิเบต นาโรปะ”  นับว่าควรค่าแก่การเป็นแบบอย่างของเถรวาทนิกายในแง่ของการให้การศึกษากับผู้ที่สนใจด้านการศาสนาและวัฒนธรรมธิเบต  โดยที่สายเถรวาทของเรา (ซึ่งมีหลายประเทศเข้าไปเผยแผ่พุทธศาสนา เช่น ไทย ศรีลังกา พม่า ลาวเขมร)  ยัง ไม่จัดการงานเผยแผ่พระศาสนาในเชิงลึก หากมุ่งเอาวิธีการแบบฉาบฉวยด้วยการแข่งกันสร้างวัด แต่เพียงอย่างเดียว ส่วนพระสงฆ์ที่อยู่ประจำ จะมีคุณภาพกันเพียงใด ย่อมไม่เป็นที่สนใจของชาวบ้านและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากเท่าใดนัก หากปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม กลุ่มใคร กลุ่มมัน เอาความคิดเสรีแบบไทยเข้าถูข้าง

ผมไม่ทราบขอบเขตการทำงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือ พ.ศ. ว่ามีมากน้อยเพียงใด ต่องานเผยแผ่พุทธศาสนาในต่างแดน อย่างน้อย  น่าจะศึกษาความเปลี่ยนแปลงว่าด้วยบริบททางศาสนาของคนอเมริกัน  เพราะเวลานี้พุทธศาสนาได้รับความนิยมค่อนข้างมาก และมีแนวโน้มได้รับความสนใจมากขึ้นในอนาคตอันใกล้

แทน ที่จะมุ่งเน้นงานเผยแผ่ด้วยการสร้างศาสนวัตถุ ศาสนสถานเพียงอย่างเดียว แต่หันมาสร้างสถาบัน เพื่อส่งเสริมการศึกษาพุทธศาสนา ที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของสังคมอเมริกันน่าจะจะดีกว่าหรือไม่?

พ.ศ. เองที่มีหน้าที่โดยตรงน่าจะ นำเรื่องราวทำนองนี้ไปศึกษา และเสนอรัฐบาล ส่วนรัฐบาลจะทำหรือไม่นั้น ก็ต้องดูและมาวิจารณ์กันอีกครั้งหนึ่ง หากรัฐบาลกึ๋นไม่ถึง  และเรื่องนี้ก็น่าจะคาบเกี่ยวไปถึงมหาเถรสมาคมที่รับผิดชอบต่อคณะสงฆ์ของไทยด้วยเช่นกัน

ความ สนใจของอเมริกันต่อศาสนาพุทธกันนั้น พวกเขาต้องการแก้ปัญหาชีวิตเสียเป็นส่วนใหญ่ หมายถึงปัญหาทางด้านจิตใจ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปถึงเรื่องอื่นๆ เช่น เรื่องทางด้านวัตถุได้ด้วย

การประสบปัญหาทางด้านเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา และกำลังเป็นไปอยู่นี้ ก็เป็นเหตุให้คนอเมริกันกันหาทางออกให้กับชีวิตมากขึ้นเช่นกัน  น่าเสียดายที่เราไม่มีกลไกบริหารจัดการด้านพุทธศาสนาในต่างแดนกันเลย แต่มุ่งไปในทางการสร้างวัตถุมากกว่า การสร้างการศึกษา

หรือแม้กระทั่งสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับพุทธศาสนา ในประเทศไทยทั้งฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาสก็กำลังละเลยโอกาสนี้  ,ยังความเปลี่ยนแปลงในเรื่องโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจอาเซียน( ASEAN)เราก็ต่อจิ๊กซอว์ ในเรื่องการศาสนาไม่ได้ ว่าควรจะเดินหน้าไปอย่างไร ปล่อยให้ต่างคนต่างทำกันไป เหมือนๆที่ผ่านมา

อย่าง ที่บอกความสนใจทางด้านศาสนาของอเมริกันส่วนหนึ่ง มาจากความเดือดร้อนทางจิตและพยายามหาทางออก ความสนใจนี้จึงมีผลต่อการจัดการหรือวางสถานภาพของตัวเอง(น่าจะส่วนใหญ่)ใน ฐานของการเป็นคนธรรมดา หรือฆราวาส หาใช่ในสถานะของนักบวชไม่ น่าคิดว่า นี่คือ ความเป็นไปหรือกระแส ซึ่งแม้แต่ในเมือ งไทยก็กลับมีกระแสที่ว่านี้นี้ด้วยซ้ำ คือ คนหันมาสนใจทางพุทธศาสนากันมากขึ้น ขณะที่จำนวนนักบวช โดยเฉพาะจำนวนพระสงฆ์ลดลงเรื่อยๆ (ในเมืองไทยมีปัญหาเรื่องสถานภาพของนักบวชหญิง ทั้งภิกษุณีและแม่ชี ที่กำลังเป็นประเด็นอยู่จนถึงเวลานี้  โดย หากนักบวชหญิงเหล่านี้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของข้อเรียกร้องรับรองสถานภาพ ทางด้านข้อกฎหมาย เชื่อว่า จำนวนของนักงบวชหญิงในไทยจะเพิ่มสูงขึ้นมาก ขณะที่จะอย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขดีเลิศเพียงใด จำนวนนักบวชชายก็มีแนวโน้มลดลงอย่างน่าใจหาย)

เรื่องหน่วยงานด้านการศึกษาพุทธศาสนา และสถาบันสงฆ์  รวม ถึง พ.ศ.น่าจะที่จะไปลองทำการวิจัยปัญหาที่เกิดขึ้นดูว่า เนื่องจากสาเหตุใด และควรแก้ที่จุดไหน อย่างไร เพื่อให้การจัดวางสถานภาพนักบวชประเภทต่างๆ โดยเฉพาะพระภิกษุ อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมกับความเป็นไปร่วมสมัย โดยที่ปปฏิเสธ ไม่ได้ว่ากฎหมายคณะสงฆ์เองและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการชำระเพื่อความหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

การ จัดวางสถานภาพที่เกื้อกูลต่อความใส่ใจในศาสนธรรมเชิงพุทธ ยังหมายถึง ความสามารถในการศึกษาและการปฏิบัติธรรม โดยใช้ชีวิตตามปกติวิสัย ทำงาน ใช้ชีวิตประจำวันหรือครองเรือน ตามปกติ การปฏิบัติธรรมเป็นไปเชิงการเกื้อกูลต่อตนเองและสังคมที่คนเหล่านั้นอาศัย อยู่

หาก จะศึกษากันให้ดี ในเวลานี้ในอเมริกา มีชุมชนพุทธอเมริกันอยู่จำนวนไม่น้อย และมีผู้สนใจใฝ่รู้พุทธธรรมจำนวนมาก ปัญหาคือ เราในฐานะประเทศต้นแบบทางพุทธประเทศหนึ่งจะต้องทำอย่างไร เพื่อสอดใส่พุทธธรรมให้คนเหล่านี้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ต้องอาศัยทั้งในส่วนบุคคลและในระดับสถาบันหรือองค์กรในประเทศและต่างประเทศ

อาจจะนอกเหนือบริบททางการทูต ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศ  แต่ ในแง่งานด้านกงสุล ย่อมจะต้องคาบเกี่ยวกับงานด้านพระศาสนาอยู่บ้างไม่มากก็น้อย หากบุคคลที่เป็นกงสุลเหล่านี้ ไม่คร่ำเคร่งแต่เรื่อง เอาอกเอาใจ บรรดา ช้างเหยียบนาพระยาเหยียบเมือง” ทั้งหลาย ที่ทะยอยมาลิ้มลองท่องเที่ยวกันจนหัวกระไดสำนักงานกงสุลไม่แห้ง หรืออาจถึงขั้นหัวกระไดลื่นเอาด้วยซ้ำ

เราทุ่มเถียงกันมากพอแล้ว ในเรื่องส่งพระธรรมทูตมาอเมริกาแล้วหาย หรือสิกขาลาเพศไป หลังจากได้ใบเขียว, เป็นเรื่องของหน่วยงานสงฆ์และพ.ศ. ที่จะต้องใคร่ครวญถึงการแก้ไขปัญหาข้อนี้

ไม่ใช่พลังบางอย่างที่เก็บกดไว้อย่างเดียวตามที่อดีตสันติกโรว่า  หาก แต่ยังสาเหตอย่างอื่นหรือไม่ที่ทำให้การเผยแผ่สัทธรรมในอเมริกาเป็นไปแบบ เชื่องช้า ไม่ทันการณ์ และออกนอกเส้นทาง คลำไม่เจอเป้าเสียที

แถมยังต้องมาฟังคำพูดที่พูดใส่หูอยู่เสมออีกตะหากว่า “ของเราดีกว่าของเขา ของเราดีกว่าของเขา” …พุทโธ่ !!!

หมายเหตุ : สันติกโร เคยมา เป็นอาสาสมัครของหน่วยอาสาสมัครเพื่อสันติภาพของอเมริกา (Peace Corps) ในเมืองไทยเมื่อปี 2523  บวช ที่วัดชลประทานรังสฤษฏ์ โดยท่านปัญญานันทภิกขุเป็นพระอุปัชฌาย์จากนั้นออกเดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ วัดป่านานาชาติ จ.อุบลราชธานี กว่า 2 เดือน แล้วกลับมาศึกษาธรรมะที่สวนโมกขพลารามหลายปี ก่อนสิกขาลาเพศไป.


หมายเลขบันทึก: 521910เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2013 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2013 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณบันทึกที่สะท้อนแนวคิดการบริหารจัดการแนวลึกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท