ศีลธรรมเชิงจารีตและเชิงก้าวหน้าของอเมริกัน


พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ 

ในการแข่งขันทางการเมือง เพื่อชิงตำแห่งประธานาธิบดีของคนอเมริกัน ระบบศีลธรรม ได้ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นหาเสียงทุกครั้งทั้ง 2 พรรค คือ เดโมแครตและรีพับลิกัน  ที่อ้างเสมอว่าใส่ใจกับศีลธรรมอันดีของตนเองและผลักดันนโยบายเชิงศีลธรรม แม้ว่าระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญของอเมริกันกำหนดให้ศีลธรรมหรือศาสนา แยกออกไปจากการเมืองการปกครองก็ตาม

  ข้อเท็จจริง คือ ทั้ง 2 พรรค ต่างผูกติดกับระบบคำสอนของศาสนาคริสต์ไม่มากก็น้อย ต่างฝ่ายต่างมีเป้าหมายทางศีลธรรมที่แตกต่างกัน  จนเกิดมีการแยกฝ่ายในเรื่องนี้ อย่างชัดเจน ได้แก่ฝ่ายที่เรียกว่า pro-life กับฝ่ายที่เรียกว่า pro-choice

ฝ่ายแรก หมายถึง พรรครีพับลิกันและฝ่ายที่สองหมายถึงพรรคเดโมแครต

คำว่า “บาป” ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องในการประกาศตน(จุดยืน)ทางการเมืองของแต่ละแคนดิเดท ในแต่ละพรรค พรรคอนุรักษ์นิยมอย่างรีพับลิกัน ปฏิเสธไม่เห็นด้วยกับนโยบายการทำแท้ง รักร่วมเพศ(ของเพศที่สาม) และความสำส่อนทางเพศเชิงการมีมากกว่าผัวเดียวเมียเดียว รวมถึงการปฏิเสธในเรื่องการประโลมโลก ของชุมชนฮอลลีวูด ,จึงไม่แปลกที่ไม่ว่าในยุคสมัยใดโดยส่วนมากแล้ว พรรครีพับลิกัน จะไม่ได้เสียงสนับสนุนจากชาวฮอลลีวูด ยกเว้นแต่เพียงดาราบางคน อย่างอดีตผู้ว่ารัฐ แคลิฟอร์เนีย อาร์โนลด์ ซวากสเนกเกอร์ และดาราเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

พรรครีพับลิกัน จึงถูกกล่าวหาว่า เป็นพรรคฝ่ายเสรีนิยมขวา ไม่เป็นที่ประทับใจคอการเมืองชนกลุ่มน้อย(minority group)อีกด้วย เว้นเสียการกล่าวเลยไปจากการได้รับการเลือกตั้งของสส.ผิวขาวบางคนอย่าง Dana Rohrabacher  แห่งออร์เร้นจ์ เค้าน์ตี้ ที่ครั้งหนึ่งเขาเคยบอกผมทำนองว่า เขาเข้าถึง Asian sense หรือเข้าถึงความรู้สึกของคนเอเชียในเขตของเขา Huntington beach area

แต่คนไทย โดยเฉพาะในเขตแคลิฟอร์เนีย ยิ่งในแอล.เอ.ด้วยแล้ว ย่อมไม่มีทางเข้าใจ Conservative  morality senses หรือความรู้สึกด้านศีลธรรมแนวอนุรักษ์นิยมได้ง่ายๆ หากคนไทยส่วนใหญ่ถูกกล่อมเกลาโดย “สำนึกชนกลุ่มน้อย”จากวาทกรรมเชิงตรรกะ “รีพับลิกันไม่มีทางเข้าใจคนจน เอาใจแต่คนรวย เพราะผู้บริหารพรรคส่วนใหญ่ เป็นคนรวย ดังนั้น  พรรคนี้จึงจะไม่ช่วยเหลือคนจน หรือไม่มีวันเข้าใจหัวอกคนจน” ซึ่งการพิสูจน์ดำเนินต่อมาตราบเท่าการเทคโอเวอร์ของนักการเมืองแดโมแครต  ดังมี ผู้ว่าการรัฐ Gray Davis เป็นอาทิ กระทั่งรัฐเดียวกันนี้ถึงกับล้มละลาย บนกอง(ระบบ)สวัสดิการอันไพบูลย์ ,เอเชียนอเมริกันที่เมืองเฟรสโนบางคน หากินกับบรรดาลูกๆ นับโหลหรือมากกว่านั้นของเขา โดยไม่ทำงานเป็นเวลานับสิบๆปี

การอ้างระบบศีลธรรมของฝ่ายรีพับลิกัน โดยเฉพาะในส่วนตัวของมิทท์ รอมนีย์ แคนดิเดทประธา นาธิบดีของพรรค ที่มีเงื่อนเงาทะมึนของนิกายมอร์มอนทอดทับอยู่นั้น ไม่เพียงแต่ทำให้ต่อมความรู้สึกของเอเชียนอเมริกันหรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่นในอเมริกาพาลนึกถึงเมือง Salt Lake City มลรัฐ Utah ศูนย์กลางของนิกายแล้ว แม้แต่ชาวรีพับลิกันด้วยกันเอง ก็อดประหวั่นเรื่อง “ความเคี่ยว เชิงจารีต” ของรอมนีย์ไปด้วยไม่ได้ ดีหน่อยที่แบคกราวด์ของรอมนีย์ ไม่ได้“เคี่ยว”เชิงจารีต เท่าที่คนในนิกายมอร์มอน ควรจะเป็น แต่ Image ของอดีตผู้ว่าการรัฐแมสสาซูเซสส์ “ขวากลาง” ก็ชัดว่า เขา pro-life อย่างไม่สามารถเลี่ยงได้ ,เพื่อนผมที่ลาสเวกัส แซวว่า หากรอมนีย์ไปเวกัส เขาคงไม่ อบายมุข –temptation enjoys จากเกมพนันที่มีอยู่เกลื่อน หากแต่จะเลือกเพียงไวน์ชั้นดีในห้องส่วนตัวที่ Bellagio ไม่ก็ในบ่อนอื่นในเครือข่ายเอ็มจีเอ็ม

ขณะที่ในอีกฝ่าย “กลยุทธ์หาเสียงกับคนจนยังใช้ได้ผล” บารัก โอบามา ขวัญใจโรบินฮู้ด ก็มุ่งทำงานหาเสียงอย่างขะมักขะเม้น

ใช่แน่นอนถ้าจะบอกว่า โอบามา คือ ผู้ลบภาพเชิงลบของ “คนผิวสี”ในอเมริกาออกได้บางส่วน อย่างน้อยก็ต่อคนส่งทูโกคนไทยในเขตแอล.เอ. ที่เขาเคยผ่านประสบการณ์จากคนผิวสี อเมริกัน-แอฟริกันมาอย่างใจหายใจคว่ำ เมื่อผู้ชายผิวดำร่างยักษ์จับข้อเท้าของเขายกขึ้น เอาหัวห้อยลง  แล้วเขย่าตัวกรุ๊งกริ๊ง เพื่อปล้นเอาแม้กระทั่งเหรียญเพนนีเล็กๆ ตอนที่เขาไปส่งทูโกในวันหนึ่ง

อิมเมจเชิงศีลธรรมของโอบามา แตกต่างจากอิมเมจเชิงศีลธรรมของรอมนีย์ อย่างแทบสิ้นเชิง เพราะว่าแท้จริงแล้ว คนนิกายเดโมแครตส่วนหนึ่งและจำนวนกำลังโตขึ้นอย่างมากนั้น พวกเขาประกาศตนเองด้วยซ้ำว่า “ไม่มีศาสนา” ซึ่งโอบามาเองถูกเคลือบแคลงจากมหาชนอเมริกันเช่นกันว่า “เป็นไปได้อย่างไรที่โซเชียลลิสต์ จะนับถือพระเจ้า”

กระนั้น ก็เป็นที่ถูกใจของเสรีชน สุขนิยม โดยเฉพาะสุขนิยมทางเพศชาวฮอลลีวูด พวกเขาส่งสัญญาณที่ดีว่าจะเลือกยืนข้างโอบามาก ไม่ต่างจากเพศที่สาม, การณ์เป็นไปถึงขนาดว่า ศิลปินนักร้องจำนวนหนึ่งตั้งท่ายื่นฟ้องต่อรอมนีย์ ฐานนำเพลงของเขาไปเปิดนำ (introduce) ขณะหาเสียงบนเวที  , แสดงให้เห็นว่า รอมนีย์ ยังคับแค้น ถึงขนาดต้องวิ่งขอลิขสิทธิ์เพลงเพื่อเปิดนำบนเวทีหาเสียงด้วยความลำบากยากเข็ญ

ฐานแห่งการเป็นpro-choice ของเดโมแครตและโอบามา ถูกนักวิจัยความสุขที่นิวยอร์คกระตุกเมื่อไม่นานมานี้ เมื่อดัชนีความสุขที่เป็นผลของการวิจัย บ่งว่า พวกpro-life มีความสุขมากกว่าพวก pro-choice จากเหตุผล เงื่อนไขทางศีลธรรมและความตั้งมั่นในสถานภาพ และเพศสภาพ โดยชาวprolife ไม่มีการตั้งคำถามกับชีวิตและสังคม มากมายเหมือนชาว pro-choice ส่วนหนึ่งของความทุกข์ถูกมองว่า เกิดจากวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)

ชาว pro-life จึงพอใจในสภาพที่ตนเองเป็นอยู่มากกว่าชาว pro-choice รวมถึงความพอใจในระบบการใช้ชีวิตแบบครอบครัวผาสุก ผัวเดียวเมียเดียว จึงไม่ต้องสงสัยว่า เรื่องของ บิล คลินตัน โมนิกาเลวินสกี้ กลายเป็นโจ๊กโอเปร่ามาแสนนาน แม้คลินตัน จะได้ชื่อ Golden Tiger –เสือทอง ก็ตาม

ประเด็นทางด้านศีลธรรมจึงทำให้นักการเมืองอเมริกันที่คาดกันว่า จะมีอนาคตรุ่งโรจน์ต้องเสียคนมานักต่อนักแล้ว

แต่รอมนีย์ ก็คงจะนึกไม่ออกว่า โอบาม่า มีอะไรเสื่อมเสียทางศีลธรรม และคนรวยอย่างเขาผิดตรงไหน ทั้งๆที่เขาเองก็มีที่มาไม่ต่างจาก Harry Reid  ประธาน Senator(สว.) เสียงข้างมากของแดโมแครต Reid นั้น เป็นถึงลูกชายของเจ้าของเหมืองแร่ใหญ่ ณ เมือง Searchlight รัฐทะเลทราย เนวาดา

แน่นอนว่า ศีลธรรมเป็นเรื่องปัจเจกบุคคล ตราบเท่าไม่นำระบบศีลธรรมไปบีฑา หรือบังคับให้คนอื่นเชื่อในระบบศีลธรรมแบบเดียวกับตน เหมือนที่ รอมนีย์กำลังเชื่อศีลธรรมกระแสหลัก(คริสตธรรม) และโอบามากำลังเชื่อศีลธรรมกระแสรอง(อัตตธรรม/ไร้ศาสนา)

เพราะการไปโบสถ์ ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง ,หรือการไปโบสถ์ของบุคคลสำคัญทางการเมืองและของนักการเมือง ไม่ได้บ่งเสมอไปว่า เขาผู้นั้นเป็นคนดีมีศีลธรรม!


หมายเลขบันทึก: 521906เขียนเมื่อ 10 มีนาคม 2013 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2013 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท