ส้อม มีด ตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน


                                                 

                                                            ส้อม มีด ตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน

                                                          นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

ส้อม เป็นเครื่องครัว ที่ประกอบไปด้วยด้ามจับและปลายแหลมหรือเงี่ยงหลายซี่ที่อีกด้าน โดนปกติมีประมาณ 2-4 ซี่. ส้อมเป็นอุปกรณ์ในการช่วยรับประทานอาหารที่พบเห็นได้ทั่วไปในประเทศตะวันตก ขณะที่เอเชียตะวันออกจะใช้ตะเกียบเสียมากกว่า ซึ่งปัจจุบันนี้เอเชียตะวันออกก็ใช้ส้อมอย่างแพร่หลายแล้วเช่นกัน เครื่องใช้นี้มักทำมาจากโลหะใช้ในการตักอาหารเข้าปาก ซึ่งอาหารที่ถูกตักจะสามารถยกขึ้นได้ด้วยการใช้เงี่ยงแทงเข้าไป หรือใช้ตักอาหารโดยให้อาหารอยู่ข้างบนเงี่ยงนั้นแล้วถือด้ามจับในแนวนอน ซึ่งการจะใช้ส้อมตักแบบนี้ได้มักเป็นส้อมที่มีลักษณะงุ้มขึ้นตรงปลาย นอกจากนี้ส้อมยังใช้ในการช่วยกลับอาหารขณะปรุงอาหาร หรือใช้ในการตัดอาหารด้วย

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า ช้อนกึ่งส้อม (spork) อันเป็นเครื่องใช้ในครัวที่มีลักษณะกึ่งช้อนกึ่งส้อม อันเป็นการพยายามออกแบบให้เป็นเครื่องใช้ในครัวเพียงชิ้นเดียวที่ใช้ในการรับประทานอาหารแต่ละมื้อ เพื่อลดความยุ่งยากในการมีเครื่องใช้ในครัวหลายชิ้นลง โดยเฉพาะมีด ด้านหลังของช้อนกึ่งส้อมออกแบบเป็นรูปทรงคล้ายช้อนซึ่งสามารถใช้ตักอาหารหรือแม้แต่ของเหลวได้ ขณะที่ตรงปลายมีเงี่ยงเล็กๆ คล้ายส้อมช่วยในการจิ้มอาหาร ทำให้สะดวกต่อการรับประทานอาหาร อุปกรณ์ชนิดนี้ได้รับความนิยมในการรับประทานอาหารจานด่วนและใช้ในกองทัพของชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก

ในวัฒนธรรมไทย ไม่ปรากฏชัดการนำส้อมเข้ามาใช้ว่ามีมาแต่เมื่อใด แต่เนื่องจากมีการใช้ช้อนอย่างแพร่หลายในการตักข้าวอยู่แล้ว ส้อมจึงอยู่ในฐานะในอุปกรณ์ที่ช่วยในการรับประทานอาหารอันมีหน้าที่ช่วยเกลี่ยอาหารในจาน ช่วยตัดชิ้นเนื้อ และช่วยจิ้มอาหารเท่านั้น มิได้มีหน้าที่ตักเป็นหลักอย่างที่ชาวตะวันตกใช้แต่อย่างใด ส่วนช้อนกึ่งส้อมนั้นปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง แต่เนื่องจากชาวไทยมิได้ทานเนื้อเป็นหลัก และนิยมใช้ช้อนสั้นโลหะซึ่งสามารถตัดเนื้อได้อยู่แล้ว ช้อนกึ่งส้อมจึงไม่ได้รับความนิยมจากชาวไทยอย่างชาติตะวันตก

มีด คือเครื่องมือชนิดแรกๆที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันมาอย่างยาวนาน เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแทบจะทุกกิจกรรม ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธุ์หรือกลุ่มสังคมใดๆ ก็ตาม มีดเป็นเครื่องมือตัดเฉือนเหมาะสมสำหรับจับถือด้วยมือเดียวประเภทของมีดตามการใช้งานชนิดมีคมสำหรับใช้ สับ หั่น เฉือน ปาด บางชนิดอาจมีปลายแหลมสำหรับกรีด หรือแทง

ใช้เป็นอาวุธ

มีดต่อสู้ หรือมีดสั้น (combat knife, fighting knife, tactical knife) มีดที่ออกแบบมาเพื่อใช้ต่อสู้ระยะใกล้

ดาบปลายปืน หรือมีดปลายปืน (knife bayonet) เป็นมีดใช้ติดที่ปลายของอาวุธปืนเช่นปืนยาว

มีดสนามเพลาะ (trench knife) มีดที่สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์เฉพาะอย่าง พบได้ในสงครามสนามเพลาะ (trench warfare) เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1

มีดพกสปริง (switchblade) มีดที่ใบมีดซ่อนอยู่ในตัวด้าม และถูกปล่อยออกมาโดยการกดปุ่มหรือด้วยกลไกอื่นของมัน

มีดโบวี (Bowie knife) มีดในฝักขนาดใหญ่ มีลักษณะเฉพาะ ออกแบบโดยพันเอก จิม โบวี (Colonel Jim Bowie)

มีดผีเสื้อ (butterfly knife) หรือบาลิซง (balisong) มีดพับที่ด้ามแยกออกเป็นสองข้าง มีต้นกำเนิดมาจากฟิลิปปินส์

ชิฟ (shiv) คำสแลงเรียกอาวุธมีคมทุกชนิด ชื่อเรียกอื่นเช่น แชงก์ (shank)

ใช้เป็นเครื่องครัว มีดโต้แบบจีนและแบบอเมริกาเหนือ

มีดเชฟ (chef's knife) หรือมีดฝรั่งเศส (French knife) มีดที่ใช้สำหรับเตรียมอาหาร ใช้สำหรับหั่นเป็นต้น

มีดตัดขนมปัง (bread knife) มีดที่มีฟันเลื่อยใช้ตัดขนมปัง

มีดปาดหน้าเค้ก (frosting spatula) มีดที่ไม่มีคมใช้สำหรับตกแต่งครีมบนเค้ก บางแห่งเรียกมีดชนิดนี้ว่า palette knife

มีดเลาะกระดูก (boning knife) มีดที่ใช้เลาะกระดูกหรือก้างออกจากเนื้อเป็ดไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อปลา

มีดแล่ (carving knife) มีดขนาดใหญ่ใช้สำหรับเฉือนอาหารออกเป็นชิ้นบางๆ มีดชนิดนี้บางกว่ามีดเชฟ ไม่เหมาะกับการหั่น

มีดโต้ (cleaver) มีดอีโต้ หรือมีดปังตอ เป็นมีดขนาดใหญ่ ใบมีดหนา ใช้ตัดเนื้อที่ติดกระดูก หรือใช้สับ

มีดปอกผลไม้ (Utility knife, Paring knife) มีดขนาดเล็ก ใบมีดยาวตั้งแต่ 3-5 นิ้ว ใช้ปอกผิวผลไม้ หรือหั่นตัดผักผลไม้ชิ้นเล็กๆ

มีดไฟฟ้า (electric knife) เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีใบมีดเป็นใบเลื่อย

มีดบนโต๊ะอาหารเช่น มีดปาดเนย (butter knife)มีดสเต๊ก (steak knife)

ใช้เป็นเครื่องมือ

มีดผ่าตัด (scalpel) มีดทางการแพทย์เพื่อใช้ในการผ่าตัด

มีดโกน (straight razor) ใบมีดขนาดบางบนด้ามที่พับได้ ใช้สำหรับโกนขนหรือผม

มีดผสมสี (palette knife) หรือเกรียงผสมสี เป็นมีดทื่อใช้สำหรับผสมสีในงานวาดภาพ

มีดคัตเตอร์ (utility knife / box cutter) มีดอเนกประสงค์เพื่อใช้ตัดวัสดุแผ่นบางเช่น กระดาษ กระดาษแข็ง เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องเขียน

มีดพับสวิส (Swiss Army knife) หรือมีดพับ มีดที่รวมเครื่องมืออื่นๆ ไว้ด้วยกัน ต้นกำเนิดมาจากกองทัพสวิตเซอร์แลนด์

มีดอีเหน็บ มีดพื้นบ้านของไทยขนาดใหญ่อยู่ในฝักมีลักษณะเฉพาะปลาบแหลมท้องใบกว้างโคนใบแคบ

ส่วนประกอบของมีด

ใบ

ด้าม

ปลาย

สัน

คม

ประวัติของมีดในประเทศไทย ค้นพบครั้งแรกราว 30,000 ปี ตามแหล่งโบราณคดีต่างๆ โดยวัสดุที่ใช้ทำมีดจะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย มีดในยุคหิน มักทำจากกระดูกหรือหินที่กะเทาะให้มีความแหลมคมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือและอาวุธ โดยมีหลักฐานจากแหล่งโบราณคดีในภูมิภาคต่างๆเช่น

แหล่งโบราณคดีถ้ำหลังโรงเรียน จังหวัดกระบี่

ถ้ำในอำเภอไทรโยค ถ้ำต่างๆในบริเวณลุ่มน้ำแควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี

ถ้ำผีแมนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

เพิงผาช้างที่อุทยานแห่งชาติ ออมหลวง จังหวัดเชียงใหม่

แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี

แหล่งโบราณคดีโนนป่าหวาย แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

แหล่งโบราณคดีโคกเจริญ แหล่งโบราณคดีโนนนกทา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

แหล่งโบราณคดีโนนเก่าน้อยในด้านตะวันออกของหนองหาน อำเภอกุมภวาปี

แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี

มีดในยุคสำริด ทำจากวัสดุสำริด ขึ้นรูปโดยการหล่อและการตี มักพบตามแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ซึ่งเป็นสายแร่ทองแดงเช่น

แหล่งโบราณคดีภูโล้น ริมฝั่งแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย ซึ่งมีช่วงอายุประมาณ 3,750-3,425 ปี

แหล่งโบราณคดี บ้านนาดี อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานีพบการหล่อสัมฤทธิ์เป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีอายุประมาณ 2,700-2,400 ปี

แหล่งโบราณคดีในลุ่มน้ำมูล ที่มีการใช้สำริด เช่นที่บ้านประสาท บ้านหลุมข้าว อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา

แหล่งโบราณคดีแหล่งศูนย์การทหารปืนใหญ่ พบการใช้สำริดทำเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีอายุประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว

แหล่งโบราณคดีโนนป่าหวาย บ้านห้วยโป่งอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี เป็นแหล่งใหญ่ในการผลิตแร่ทองแดงประมาณ 3,500-3,000 ปีมาแล้ว

อ่างเก็บน้ำนิลกำแหง อายุประมาณ 3,301-2,900 ปี

ตะเกียบ คืออุปกรณ์ในการรับประทานอาหารมีลักษณะเป็นแท่งสองแท่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ใช้เป็นอุปกรณ์หลักในการกินอาหาร ในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม ในประเทศไทยใช้สำหรับอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว ตะเกียบนิยมทำมาจาก ไม้ ไม้ไผ่ โลหะ และพลาสติก บางชนิดทำมาจากงาช้าง ในประเทศจีนสมัยโบราณกษัตริย์มีการใช้ตะเกียบที่ทำจากเงินเพื่อใช้ในการตรวจสอบยาพิษ (ประเภทออกไซด์ของโลหะ) โดยเชื่อว่าถ้ามียาพิษในอาหารตะเกียบจะเปลี่ยนจากสีเงินเป็นสีดำ

ไม้จิ้มฟัน คือชิ้นไม้หรือพลาสติกหรือวัสดุอื่น ลักษณะเป็นแท่งสั้นๆ ขนาดเล็ก มีปลายแหลมหนึ่งหรือสองข้าง เป็นอุปกรณ์เพื่อใช้กำจัดเศษอาหารหรือสิ่งสกปรกตามซอกฟัน โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร ในประเทศไทยไม้จิ้มฟันมักทำมาจากไม้ไผ่ โดยการฝานไม้ไผ่ให้บาง ตัดพอดีชิ้น สุดท้ายลับและเหลาให้คม ปัจจุบันมักผลิตโดยเครื่องจักร

ประวัติ ไม้จิ้มฟันมีมานานหลายพันปีแล้ว และอาจจะเป็นอุปกรณ์ทำความสะอาดฟันที่เก่าแก่ที่สุด ในหลายวัฒนธรรมต่างก็รู้จักและใช้ไม้จิ้มฟัน ก่อนที่แปรงสีฟันจะถูกประดิษฐ์ขึ้น ผู้คนรู้จักการใช้ชิ้นไม้ที่แข็งหรืออ่อนเพื่อทำความสะอาดฟัน ไม้จิ้มฟันที่ผลิตจากทองสำริดถูกค้นพบในสุสานก่อนประวัติศาสตร์ ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลีและทางตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของอารยะธรรมเมโสโปเตเมีย

ไม้จิ้มฟันที่ผลิตจากเงินและไม้ยางเรซินถูกค้นพบในสถานที่ที่เคยเป็นจักรวรรดิโรมันมาก่อน และในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีการผลิตไม้จิ้มฟันให้มีความหรูหรา เช่นทำจากโลหะมีค่า ประดับด้วยอัญมณี วาดลวดลายให้วิจิตรบรรจง และมีการเคลือบให้เงางามคงทน

ในทุกวันนี้ ไม้จิ้มฟันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในศาสตร์ทันตกรรมสมัยใหม่ การใช้ไหมขัดฟันหรือแปรงสีฟันเป็นสิ่งที่ทันตแพทย์แนะนำ อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตไม้จิ้มฟันยังมีความสำคัญอยู่ ไม้จิ้มฟันจึงยังคงเป็นที่นิยมต่อใครหลายๆ คน

  
หมายเลขบันทึก: 521817เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2013 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มีนาคม 2013 20:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท