วิชาการทางพระพุทธศาสนาเพื่ออะไร?


พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ [email protected]

ปัจจุบันเรามีมหาวิทยาลัยของรัฐทั้งในส่วนที่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ และมหาวิทยาลัยของรัฐตามปกติ จำนวนไม่น้อยที่เปิดสอนสาขาพุทธศาตร์ หรือแม้แต่สาขาปรัชญาที่มีเนื้อหาคาบเกี่ยวกัน  โดยวัตถุประสงค์ของสถาบันการศึกษาในระดับนี้แน่นอนว่าย่อมเกี่ยวข้องกับงาน ทางด้านวิชาการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เป็นงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาโดยตรงนั่นเอง

  น่าสนใจว่ากระบวนทัศน์เกี่ยวแก่งานวิชาการ (Academic matter  การที่เกี่ยวกับความรู้โดยเฉพาะ การแห่งความรู้แจ้ง) เกี่ยวกับพระพุทธศาสนานั้น สมควรที่จะมุ่งเน้นไปทางด้านไหนมากกันเพื่อเกิดประโยชน์กับตัวผู้ศึกษาเอง คนรอบข้าง สังคม และเพื่อเป็นฐานต่อยอดองค์ความรู้ในอนาคตกาลอันถือเป็นอารยธรรมออกไปอีก อย่างกว้างขวางมาก ในอันที่จะให้เกิดประโยชน์กับอนุชนรุ่นหลังๆต่อไปอีกด้วย

  ในความเห็นของผู้เขียน ขึ้นชื่อว่า วิชาการ  น่าจะอยู่เหนือไปจากบริบทด้านใดก็ตามที่ยังไม่สามารถพิสูจน์และสืบค้นได้ อย่างเช่น กรณีวิชาการด้านพระพุทธศาสนา น่าจะอยู่นอกเหนือไปจากบริบทระดับแห่งผลการปฏิบัติภายในที่ยังไม่สามารถ พิสูจน์ หรือยืนยันให้ทราบชัดด้วยหลักฐาน ใดๆก็ตาม  หรือหมายถึงการอ้างหตุแห่งพุทธดำรัสที่ว่า  “พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว  ผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล  ควรเรียกให้มาดู  ควรน้อมเข้ามาในตนอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน” (ที.มหา.ไทย10/159/103 มหาจุฬา)  โดยเฉพาะสิ่งที่ “อันวิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน” ไม่ได้ นี้น่าจะเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ควรอยู่นอกเหนือไปจากบริบทของงานทางด้านวิ ชการเชิงพุทธ เช่น  การอ้างถึงการระดับการบรรลุธรรรมของตนเองหรือของคนโน้นคนนี้ ไม่จัดอยู่ในบริบทเชิงวิชาการ คือ ไม่รู้จะไปพิสูจน์อย่างไร สร้างเครื่องมือ หลักฐาน ตลอดถึงการตั้งค่าตัวแปรขึ้นมาพิสูจน์รองรับไม่ได้  

แต่หากพูดถึงปัจจัยหรือองค์ประกอบแห่งการบรรลุธรรม  หรือกระทั่งการพิสูจน์ถึงแนวทางการปฏิบัติกับผลที่ได้จากการปฏิบัติธรรม  เช่น ความสุขสงบ โดยใช้ตัวแปรต่างๆ(ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ผลการเรียนดีขึ้น เป็นต้น) อ้างได้ ก็สามารถจัดให้อยู่ในบริบททางวิชาการได้ อย่างนี้เป็นต้น  หรือบางทีอาจพูดไปได้ว่า งานทางค้นคว้าวิจัย หรืองานวิชาการย่อมหาทางพิสูจน์สิ่งภายในอยู่เช่นกัน แม้แต่ประเด็นยากๆที่มักกล่าวกันว่าไม่มีทางเป็นไปได้ อย่างเช่น ระดับชั้นการบรรลุธรรมถึงขั้นไหนแล้ว  แต่นั่นมองอีกมุมก็จะกลายเป็นสิ่งเลยความเป็นปัจจัตตังไปเสีย ก็จะไปแย้งกับพุทธพจน์ “ปัตจัตตัง”ที่หมายถึงส่วนที่จะต้องอาศัยการเข้าถึงด้วยการปฏิบัติและรู้ภาย ในของแต่ละปัจเจกเท่านั้น

  แต่ กระบวนการทั้งหมดทางด้านพุทธศาสนา ไม่ได้มีแต่เพียงเท่านี้ กระบวนการที่สมบูรณ์ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้  แต่หากเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิชาการก็น่าจะเป็นความเกี่ยวข้องในข้อแรก คือ ปริยัติ ถึงขนาดที่ทรงกำหนดเป็นวินัย ให้ภิกษุที่ไม่รู้เรื่องปริยัติ ต้องบำรุงหรือดูแลภิกษุที่รู้เรื่องปริยัติที่อยู่ในอาวาสเดียวกัน หรือที่ท่านเรียกว่า ภิกษุพหูสตร (วิ.ม.ไทย 4/163/244 มหาจุฬา)  แสดงว่าทรงให้ความสำคัญกับการปริยัติอย่างมาก

  อีกประการที่เห็นควรนำมากล่าวถึง ความศรัทธา หรือคนประเภทที่มีศรัทธาจริตสูงต่อคำสอนหรือการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา งานวิชาการนั้น หากให้มบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ต้องเลยขั้นศรัทธาไปให้ได้  ไม่เช่นนั้นผลงานที่จะออกมาย่อมไม่ตรง เช่นการตั้งข้อสงสัยแล้วทำการพิสูจน์ อาจได้ค่าที่เบี่ยงเบนไป จากตัวคติหรือจริตที่ผู้ทำการวิจัยงานวิชาการนั้นเอง หรือแม้แต่วาทกรรมการโต้แย้งหาเหตผลด้วยศรัทธาคติหรือศรัทธาจริตก็เช่นเดียว กัน  ทำให้ไม่ได้ข้อเท็จจริงที่ควรจะได้ อย่างน้อยก็อาจเป็นข้อสรุปในช่วงขณะนั้นๆ จึงน่าที่จะแยกส่วนศรัทธาให้ออก ไปเป็นอีกประเด็นหนึ่ง

  และนี่เป็นเหตุผลที่ว่าทำไม นิสิต นักศึกษาผู้สนใจด้านพระพุทธศาสนา จึงมุ่งขวนขวาย แสวงหาความรู้และคำตอบ ซึ่งต้องพิสูจน์เชิงวิชาการจากมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านนี้  หาไม่เช่นนั้นแล้ว ก็คงหาความรู้จากแหล่งใดๆ ก็ได้ โดยเฉพาะปัจจุบันมีแหล่งความรู้ที่หลากหลายยิ่งกว่าเมื่อก่อนมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าบทบาทของสถานศึกษา ที่เปิดการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป ก็คือ การเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้เรียน ให้ความรู้เชิงกระบวนการหรือวิธีการค้นคว้าและวิจัย ให้งานเชิงวิชาการนั้นอยู่ในหลักเกณฑ์(กรอบ)อันควรแก่ประโยชน์ มีความสมบูรณ์ทั้งอรรถะและพยัญชนะ และลุล่วงไปได้ด้วยดี 

ก็แล้วงานวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนา จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร จากกรอบความคิด และกรอบการค้นคว้าทางด้านวิชาการข้างต้น? 

 ผู้เขียนขอแยกให้เห็นดังต่อไปนี้

1.ตอบสนองต่อความอยากรู้ของตัวผู้วิจัยค้นคว้าเอง ข้อนี้เป็นสิ่งที่แน่นอนอยู่แล้วว่า งานค้นคว้าวิจัย ต้องตอบสนองต่อความสนใจของตัวผู้ดำเนินการค้นคว้าวิจัย เป็นส่วนใหญ่

2.ตอบคำถามหรือความอยากรู้ของสังคมในประเด็นต่างที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา หมายถึง ผู้ค้นคว้าวิจัยหลายคนเลือกเอาประเด็นที่กำลังเป็นที่สนใจ หรือจับตาของสังคมในช่วงขณะนั้นๆ เป็นประเด็นที่สังคมกำลังคำตอบ หรือกำลังตั้งคำถาม

3.เป็นการต่อยอดทางความคิด  การค้นคว้าและวิจัย หรือที่เรียกว่า อารยธรรมหรือภูมิปัญญา ที่มีการทำมาแล้วในอดีต และงานวิชาการที่ได้นี้จะเป็นฐานสำหรับการค้นคว้าและวิจัยในอนาคต

4.เป็นการบูรณาการสังคมชาวพุทธอย่างหนึ่ง เรื่องนี้นับว่าสำคัญและเกี่ยวเนื่องกับงานทางด้านวิชาการด้านพระพุทธศาสนา อย่างมาก ด้วยเหตุที่งานวิชาการแต่ละชิ้นย่อมนอกจากตอบสนองต่อ 3 ข้อแรกแล้ว การคำนึงถึงผลทางด้านการบูรณาการสังคม เป็นสิ่งที่จะเกื้อกูลให้สังคมเดินไปได้อย่างถูกทาง และเกิดสันติสุขจากความเข้าใจผลของงานวิชาการดังกล่าว  หมายถึงงานวิชาการใดที่ตอบสนองต่อวิถีชีวิตของผู้คนในสังคมที่กำลังดำเนิน อยู่ในเวลานั้น ก็จะมีส่วนให้เกิดการใช้ประโยชน์ ทางใดทางหนึ่งจากงานวิชาการนั้นทันท่วงที  เช่นการนำมากล่าวอ้างอิง หรือใช้งานผ่านสื่อต่างๆได้ เป็นต้น

5.เป็นตัวขับเคลื่อนสังคม นี่เป็นประเด็นที่ต่อเนื่องจากงานบูรณาการสังคมของงานวิชาการด้านพระพุทธ ศาสนา ซึ่งจะก่อให้เกิดกระแสใดๆขึ้นมาก็เป็นได้ เช่น กระแสความสนใจ(นิยม)ต่อปฏิบัติภาวนา กระแสต่อความเข้าใจในเรื่องอัตตาที่เกี่ยวข้องกับความเห็นแก่ตัวในองค์กร หรือชุมชน เป็นต้น ข้อนี้น่าคิดด้วยว่า ผู้ศึกษาเองมุ่งเพียงเอาวุฒิการศึกษาไว้ประดับตัวเอง หรือใช้ปรับวุฒิในการทำงานด้วยความเห็นแก่ตัว หรือต้องการแสวงหาองค์ความรู้ด้านที่สามารถเกื้อกูลให้แก่ผู้อื่น หรือให้แก่สังคมได้ด้วย

6.สามารถอธิบายตอบโต้ปรัปวาทได้ ปรัป วาท คือ ลัทธิศาสนาอื่น  หรือคำสอนที่คลาดเคลื่อน หรือวิปริตผิดเพี้ยนไปเป็นอย่างอื่น(จากพจนานุกรมพุทธศาตร์ ฉบับประมวลศัพท์ โดยพระพรหมคุณาภรณ์-ป.อ.ปยตฺโต) เฉพาะในเวลานี้ ผ่านสื่อที่มีอยู่หลากหลายจำนวนมาก มีการวิพากษ์ต่อหลักธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างผิดๆ หรือผิดบ้างถูกบ้างอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน บ้างก็เป็นสัทธรรมปฏิรูป(สัทธรรมปลอมที่ปนอยู่)ก็มี การแก้ข้อกล่าวหาหรือแก้ต่างแทนชาวพุทธ หรือทำความเห็นตรง(ทิฎฐุชุกรรม – หนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ10) ให้เกิดขึ้นกับคนที่วิพากษ์เหล่านั้น รวมถึงคนส่วนอื่นๆพลอยได้รับฟังก็จะได้รับประโยชน์ไปด้วย ทำให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนาและต่อชาวพุทธเอง

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในข้อนี้ นักวิชาการ หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านพระพุทธศาสนา แม้กระทั่งพระสงฆ์ที่ทรงความรู้จำนวนไม่น้อย ไม่สามารถนำความรู้ที่ตนเองมีอยู่นั้นไปใช้ได้ในการตอบโต้กับปรัปวาทที่ใน ปัจจุบันมีอยู่จำนวนไม่น้อย นำเสนอความคิดเห็นผ่านสื่อต่างๆ ยังความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้นกับผู้รับสื่อ ดังนั้น นอกเหนือไปจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวแล้วผู้รู้หรือนักวิชาการเหล่านี้จะ ต้อง เอาองค์ความรู้มาใช้ได้ในสถานการณ์จริง ในการปกป้องหลักธรรมอันเป็นของแท้ของจริง ( คือ มีที่อ้างมีที่มาถูกต้อง) ของพระพุทธศาสนาอีกด้วยและเมื่อสืบเนื่องต่อไปถึงการใช้สื่อให้เป็น เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ก็นับว่าเป็นส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน

ในอดีตเมื่อดูจากประวัติศาตร์พระพุทธศาสนาในหลายยุคหลายสมัย  นับแต่ครั้งพุทธกาลมาแล้วมีการท้าโต้วาทีในทางธรรมวาทีเพื่อเอาชนะกันมาตลอด แม้แต่พระพุทธองค์เองก็หลายครั้ง เช่น กับสัจจกะนิครนถบุตรซึ่งเป็นนักโต้วาทีในสมัยนั้น (ม.มู. ไทย 12/364- 389/401-420 มหาจุฬา) พระที่ท่านบรรลุธรรมแล้ว ท่านก็ยังต้องมารับคำท้าโต้ธรรมวาทีนี้อยู่เสมอๆ ดังเช่น ในสมัยของพระนาคเสน ที่โต้ตอบปัญหาทางธรรมกับกษัตริย์มิลินท์ เป็นต้น เรียกว่าท่านไม่ได้ทิ้งเรื่องพวกนี้ ไปหาความสงบสุขจากการปฏิบัติธรรม แต่เพียงอย่างเดียว

7.ประโยชน์ต่อทัศนะการมองชีวิต มองสังคมและมองโลก งานวิชาการพุทธศาสนา  จะเกิดประโยชน์ต่อการปรับทัศนะหรือการมองสิ่งต่างๆ ทั้งหมด แม้กระทั่งการมองและประเมินตัวเอง ไม่ติดอยู่ในกรอบความคิดของตนเอง หรือกรอบความคิดของใครคนใดคนหนึ่งโดยถ่ายเดียว หมายถึงการเปิดกว้างทางความคิด เพราะหากไปยึดกรอบแบบเดิมเพียงอย่างเดียวแล้ว งานค้นคว้าและวิจัยหลายๆเรื่องก็เดินหน้าไปไม่ได้ ตัวอย่างเช่น การให้ค่าของคนทางศีลธรรมโดยนัยเปรียบเทียบ ระหว่างคนที่ดื่มเหล้าทุกวันกับคนที่คอรัปชั่นประเทศใครชั่วกว่า  คนที่ทำบุญตักบาตรทุกวัน แต่ลับหลังประพฤติผิดศีลธรรม  ฯลฯ การมองประเด็นต่างๆต้องเลื่อนไหลไปตามเหตุปัจจัย ส่วนกรอบหรือกฎเดิมๆ หมายถึง ทัศนะการมองแบบตีขลุมนั่นเอง เช่น ความเข้าใจต่อคนที่เห็นสวดมนต์หรือไปทำบุญเสมอๆ  แล้วสรุปว่าเป็นคนดีโดยเที่ยงแท้แน่นอน  ดังนี้เป็นต้น

  8.การตั้งข้อสงสัยต่อการกระทำใดก็ตามที่กระทบต่อสังคมหรือส่วนรวมในมุมมองเชิงพุทธ โดยอิงจากหลักธรรมที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา นี่ก็ถือเป็นมุมหนึ่งของประโยชน์ที่เกิดจากงานวิการเชิงพุทธเช่นกัน เช่น การปฏิวัติรัฐประหารในทัศนะทางพระพุทธศาสนา การสั่งให้ทหารทำสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรัฐหรือผู้บัญชาการทหาร  การเก็บกักตุนสินค้าที่จำเป็นในการบริโภคเพื่อเก็งกำไร การออกกฎหมายที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในทัศนะทางพุทธศาสนา  การนำธุรกิจสุราหรือเบียร์เข้าตลาดหลักทรพย์  เป็นต้น  

9. ส่งผลต่อนโยบายของรัฐและองค์กรเอกชนด้านพระพุทธศาสนา  หากว่างานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาไปเกี่ยวข้องในส่วนของนโยบายรัฐและองค์กร เอกชนก็จะส่งผลให้รัฐ หรือองค์กรเอกชนเหล่านั้นสามารถใช้ประโยชน์จากงานค้นคว้าวิจัยได้ เช่น ด้านแนวทางการเผยแผ่พระธรรมคำสอนขององค์กรต่างๆ  ด้านการศึกษา(วิชา)พระพุทธศาสนา การกำหนดหลักสูตรการศึกษาทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ ด้านการกำหนดงบประมาณที่ใช้ในการเผยแผ่  ฯลฯ ก็เป็นประโยชน์จากงานค้นคว้าวิจัยโดยตรงเช่นกัน

10. ประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายคณะสงฆ์ และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง  ข้อมูลและข้อเท็จจริงของงการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการสามารถนำมาใช้กับสถาบัน สงฆ์ในแง่ของการ ใช้วินิจฉัยเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความร่วมสมัย เพื่อให้องค์กรคณะสงฆ์และบรรดาพระสงฆ์สามารถดำรงบทบาทอย่างเหมาะสมอยู่ใน สังคมได้ ขณะเดียวกันก็เกื้อกูลต่อการปฏิบัติธรรม และการสั่งสอนพุทธบริษัทอีกด้วย

11. ปรับปรุงแก้ไขในส่วนของงานแปลพระไตรปิฏก อรรถถาและหนังสืออธิบายชั้นรองๆลงไป  บางแห่งหากพบว่าการแปลดังกล่าวไม่ถูกต้องก็อาจต้องแก้เสียให้ถูกต้อง หรืออธิบายใหม่ในรูปแบบภาษาร่วมสมัย

12. ประโยชน์ด้านสุนทรียภาพ งานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาได้ชื่อว่าทำให้เกิดสุนทรียภาพกับตัวของผู้ รังสรรค์งานเอง และต่อคนอ่านงานหรือคนที่ได้เอางานวิชาการเรื่องนั้นๆไปใช้ประโยชน์ นอกจากจะได้ประโยชน์โดยตรงในแง่ขององค์ความรู้ที่อยู่ตามเนื้องานตมปกติอยู่ แล้ว ทำให้สภาพจิตใจเกิดสุนทรียะได้มากกว่างานวิจัยค้นคว้าในประเภทอื่นๆเสียด้วย ซ้ำ ซึ่งก็น่าที่จะแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภท คือ อย่างแรก สุนทรียภาพของงานวิชาการที่เป็นองค์ความรู้เพียวๆ หรือหมายถึงเนื้องาน ที่ได้จากการค้นคว้าวิจัย กับ อย่างที่สอง คือ  สุนทรียภาพของงานวิชาการที่มีธรรมะปนอยู่กับเนื้องานในส่วนแรกด้วย

สรุป  ก็คือ งานวิชาการทางด้านพระพุทธศาสนานั้น  นั้นก่อให้เกิดประโยชน์เหลือคณาแก่ผู้ที่ค้นคว้าศึกษาตามเหตุและปัจจัยอยู่ แล้ว เป็นวิธีการเข้าถึงความจริงอย่างหนึ่งเช่นเดียวกันกับวิธีอื่นๆที่มีอยู่ใน หลักคำสอนของพระพุทธศาสนา  ทั้งสามารถโยงเข้าสู่การปฏิบัติตนทั้งในระดับปัจเจก และระดับส่วนรวมได้อีกด้วย แม้ว่าจะไม่ได้หมายถึงการปฏิบัติด้านสมถะ และวิปัสสนา(ซึ่งผลได้จากการปฏิบัติในสองด้านนี้ ก็เป็นเรื่องภายใน-ปัจจัตตังของแต่ละบุคคล) ตามความหมายตรงก็ตาม แต่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการด้านบุญกิริยาวัตถุและเป็นการเจริญปัญญา ให้ยิ่งขึ้นไป อันเป็นข้อที่ต้องผ่านข้อสำคัญสำหรับเป้าหมายของการเป็นพุทธศาสนิก

เพียงแต่ขึ้นอยู่กับตัวนักศึกษาผู้ค้นคว้าวิจัย ที่ทำงานด้านนี้เองว่า จะสามารถค้นคว้าหาเนื้องานมานำเสนอ แล้วให้ประโยชน์กับตัวเองและสังคมส่วนรวมมากน้อยขนาดไหน


หมายเลขบันทึก: 521603เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2013 05:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มีนาคม 2013 05:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผู้เขียนอนุญาตให้นำบทความของผู้เขียนที่ปรากฎในเว็บไซต์นี้ (http://www.gotoknow.org) ไปใช้ในงานวิจัย และงานเขียนประเภทอื่นได้ แต่ต้องระบุแหล่งที่มาหรืออ้างอิงกำกับด้วย

พีรพร พงศ์พิพัฒนพันธุ์


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท