รสเเห่งวรรณคดีไทยเรื่องอุณรุท


รสแห่งวรรณคดีเรื่อง อุณรุท 

เสาวรจนี (เสาว ว. ดี, งาม. + รจนี ก. ตกแต่ง, ประพันธ์; ว. งาม) รสนี้เป็นการชมความงาม ชมโฉม พร่ำพรรณนาแลบรรยายถึงความงามแห่งนาง ทั้งตามขนบกวีเก่าก่อนแลในแบบฉบับส่วนตัว ตัวอย่างเช่น 

พิศพักตร์งามพักตร์ผุดผ่อง                    ดั่งแว่นทองทิพมาศฉายฉาน

พิศเกศเกสรสุมณฑาน                                            ปานเกศแก้วกัลยาณี

พิศขนงโก่งกันดั่งคันศิลป์                                         พิศเนตรดั่งนิลจำรัสศรี

พิศทรงราสาไม่ราคี                                               ดั่งขอแก้วมณีพรายพรรณ

พิศโอษฐ์งามเอี่ยมเทียมจะแย้ม                                   พิศแก้วเปรียบปรางทองสวรรค์

พิศกรรณเพียงกลีบบุษบัน                                        พิศศอคอสุวรรณหงส์จร

                นารีปราโมทย์ (นารี น. หญิง + ปราโมทย์ น. ความบันเทิงใจ, ความปลื้มใจ, ปราโมช ก็ว่า) คือ การทำให้ "นารี" นั้น ปลื้ม "ปราโมทย์" ซึ่งรูปแบบหนึ่งก็คือ การแสดงความรักผ่านการเกี้ยวแลโอ้โลมปฏิโลม. อันคำว่า "โอ้โลมปฏิโลม" นี้ ความหมายอันแท้จริงของคำก็คือ การใช้มือลูบไปตาม (โอ้) แนวขน (โลมา) และย้อน (ปฏิ) ขนขึ้นมา เมื่อโอ้โลมไปมา ในเบื้องปลาย นารีก็จักปรีดาปราโมทย์

            สุดเอยสุดสวาท                                         วรนาฏเนื้อทิพย์ของพี่

อย่าหยิกข่วนนักเลยพระเทวี                                     เสียดายเล็บมารศรีจะหักไป

ว่าพลางอิงแอบแนบชิด                                           จุ่มพิศด้วยความพิสมัย

เชยดวงมณฑาสุมาลัย                                            หอมหวานซ่านไปในวิญญาณ

 

          พิโรธวาทัง (พิโรธ ก. โกรธเกรี้ยว ไม่สบอารมณ์ + วาทัง น. วาทะ คำพูด) คือการแสดงความโกธรแค้นผ่านการใช้คำตัดพ้อต่อว่าให้สาใจ ทั้งยังสำแดงความน้อยเนื้อต่ำใจ, ความผิดหวัง, ความแค้นคับอับจิต แลความโกรธกริ้ว ตามออกมาด้วย

                        เมื่อนั้น                                        ท้าวกรุงพาณยักษี

ได้ฟังลูกรักร่วมชีวี                                                อสุรีกริ้วโกรธดั่งไฟกัลป์

จะไหม้มอดไปทั้งไตรจักร                                        ฮึดฮัดเฉียวฉุนหุนหัน

โจนจากแท่นแก้วแพรวพรรณ                                   กุมภัณฑ์สำแดงแผลงฤทธา


 สัลลาปังคพิไสย (สัลล น. ความโศกโศกาเศร้าร่ำน้ำตานอง, ความเจ็บปวดแปลบ ๆ แลบแล่นในเนื้อใจ, การครวญคร่ำรำพันรำพึง / สัลลาป น. การพูดจากัน + องค์ น. บท, ชิ้น อัน, ตัว + พิไสย น. ความสามารถ ฤาจะแผลงมาจาก วิสัย ซึ่งแปลว่า ธรรมชาติของสิ่งนั้น ๆ ฤาสันดาน ก็อาจเป็นได้) คือ การโอดคร่ำครวญ หรือบทโศกอันว่าด้วยการจากพรากสิ่งอันเป็นที่รัก. มีใช้ให้เกลื่อนกล่นไปในบรรดานิราศ (ก. ไปจาก, ระเหระหน, ปราศจาก, ปราศจากความหวัง


เมื่อนั้น                                                  นางสุจิตรามารศรี

ได้ฟังพระจอมโมลี                                                          เทวีสลดระทดนัก

ซบพักตร์กอดเบื้องบทเรศ                                     ทวีทุกข์เพิ่มเทวษเพียงอกหัก

ชลนัยคลอคลองนองพักตร์                                               นงลักษณ์รำพันโศกา

 

หมายเลขบันทึก: 521586เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2013 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มีนาคม 2013 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท