วัณโรคกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


                                          วัณโรคกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

                                                นายอานนท์ ภาคมาลี (หมอแดง)

สถานการณ์วัณโรคในปัจจุบัน จากรายงานของ WHO พบว่า 1 ใน 3 ของประชากรทั่วโลกติดเชื้อวัณโรค โดยมีความชุกของผู้ป่วยวัณโรคปอดประมาณ 14 - 15 ล้านคน แต่ละปีจะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ประมาณ 9.2 ล้านคน ร้อยละ 95 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา เนื่องจากพบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 90,000 ราย ครึ่งหนึ่งยังพร้อมแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น

ปัจจุบันวัณโรค กลับมาแพร่ระบาดอีกครั้งมาจากสาเหตุ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ หรือโรคเรื้อรัง ปัญหาติดเชื้อวัณโรคแอบแฝง ปัญหาการดื้อยาในผู้ป่วยวัณโรค ซึ่งที่มาของปัญหาวัณโรคดื้อยา เกิดจากผู้ป่วยรับประทานยา เมื่อกลับมารับประทานยาใหม่ เชื้อวัณโรค จะดื้อยา และเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดรุนแรงขึ้น

ด้วยเหตุนี้หน่วยงาน ภาครัฐ จึงได้มีแผนงานการควบคุมวัณโรค เพื่อลดอัตราป่วยและเสียชีวิต และลดการแพร่เชื้อ นอกจากนี้ยังได้สร้างกลไก ความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อควบคุมป้องกันวัณโรค ตามพื้นที่ชายแดนและการเฝ้าระวังปัญหาเกิดจากการดื้อยา

ในสังคมปัจจุบัน มีการพูดถึงอาเซียนในการเปิดการค้าเสรี แต่ไม่พูดถึงวัณโรคกับการเปิดการประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ความเป็นจริงจากสภาพแวดสิ่งแวดล้อมรอบด้าน ประชาชนชาวไทยยังมีกลุ่มเสี่ยงกับการติดเชื้อวัณโรครอบด้าน โดยขอยกตัวอย่างพอสังเขปหรือชี้นำ  คาดกันว่าหนึ่งในสามของประชากรโลกติดเชื้อ M. tuberculosis สามารถเกิดโรคที่อวัยวะในร่างกายก็ได้ แต่อวัยวะที่สำคัญคือปอด และมีการติดเชื้อใหม่ เกิดขึ้นในอัตราหนึ่งคนต่อวินาที มีการประเมินว่ามีกรณีมีฤทธิ์เรื้องรัง และมีผู้เสียชีวิต ส่วนมากในประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ คนในประเทศกำลังพัฒนาติดต่อวัณโรคมากกว่า เพราะระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง มีแนวโน้มอันตรายมากกว่าเนื่องจากอัตราโลกเอดส์ที่สูงกว่า การกระจายของวัณโรค  ติดต่อได้โดยการหายใจเอาละอองเสมหะขนาดเล็กที่มีเชื้อโรคอยู่ ที่ลอยอยู่ในอากาศรอบๆตัวผู้ป่วยเข้าไปในปอด ละอองเสมหะเหล่านี้ จะเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการไอ หรือแม้แต่พูด ละอองเสมหะที่มีอยู่ขนาดเล็กนี้สามารถลอออยู่ในอากาศเป็นวัน เชื้อวัณโรคจะถูกทำลายได้ง่ายถ้าถูกแสงแดด และความร้อน ดังนั้นวัณโรคจึงมักแพร่ได้ง่ายในที่ร่มหรือบริเวณที่คับแคบ อากาศมีการไหลเวียนน้อย เช่น รถปรับอากาศ (รถยนต์รับส่งนักเรียน รถยนต์โดยสารต่างๆ) หรือในที่แออัด เช่น ห้างสรรพสินค้าต่างๆ โรงภาพภาพพยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะแรงงานต่างด้าวต่างๆ หรือการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

วัณโรคกลับโรคเอดส์ เป็นแนวร่วมมฤตยูที่สามารถเพิ่มผลกระทบ ให้มีโอกาสป่วยเป็นวัณโรค ได้สูงกว่าผู้ไม่ติดเชื้อเอดส์ โดยผู้ติดเชื้อโรคเอดส์ จะมีผลกระทบต่อวัณโรค ทั้งในส่วนของการวินิจฉัยและการรักษา ซึ่งจะทำให้เกิดการยุ่งยากมากขึ้นในด้านการรักษา ผู้ป่วยมักขาดยา กินยาไม่สม่ำเสมอ นำไปสู่การดื้อยา ทำให้มีอัตราการรักษาหายต่ำ และจะส่งให้อัตราการตายสูง นอกจากนี้ ยังพบอัตราการกลับเป็นวัณโรคซ้ำมากขึ้น รวมทั้ง นำเชื้อวัณโรคดื้อยาแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ง่าย

ความล่าช้าและผลกระทบ ในการรักษาผู้ป่วยวัณโรค หมายถึง ระยะเวลาผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการจนถึงระยะเวลาผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถแบ่งความล่าช้าออกได้เป็น 4 ระยะดังนี้

1.  ความล่าช้าจากผู้็ป่วย (Patiens Delays) คือ ระยะเวลาเริ่มต้นตั้งแต่ผู้ป่วยมีอาการเข้าได้กับวัณโรค และสิ้นสุดในวันสุดท้ายก่อนเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์

2.  ความล่าช้าจากระบบส่งต่อ ( Referral s delays)  คือช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมีอาการเริ่มแรกเข้ามารับการรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขครั้งแรก แล้วได้รับการส่งต่อเพื่อพบแพทย์ทำการวินิจฉัยวัณโรค

3.  ความล่าช้าจากการวินิจฉัย (Diagnosis s delays) คือระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ามารับการตรวจวินิจฉัย ที่ระบบบริการสุขภาพของรัฐครั้งแรก และสิ้นสุดผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย ป่วยเป็นวัณโรค

4.  ความล่าช้าจากการรักษา (Treament s delays) คือระยะเวลาเริ่มตั้งแต่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย และสิ้นสุดเมื่อเริ่มต้นการรักษาครั้งแรก

ผลกระทบที่เกิดจากความล่าช้าในการรักษา ประกอบด้วยสองระดับ คือ

1.  ระดับตัวบุคคล คือ ผลกระทบของการเกิดโรค ต่อร่างกายของผู้ป่วยเอง เช่น อาการหอบเรื้อรัง แม้รักษาหายแล้วเป็นต้น

2.  ระดับสังคม คือ ผลกระทบที่บุคคลที่ป่วยจะนำเชื้อโรคแพร่สู่สังคม ทำให้เกิดการระบาดของโรค ยากที่จะสามารถควบคุมได้


หมายเลขบันทึก: 521208เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2013 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2013 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท