คำอธิบายรายวิชา


รายวิชาศิลปะ

ศ ๑๑๑๐๑  ศิลปะ ๑    กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ     ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๑

คำอธิบายรายวิชา    เวลา  ๘๐  ชั่วโมง

  ลักษณะรูปร่าง  รูปทรง  เส้น  สี  พื้นผิวต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา  วิธีการสร้างทัศนศิลป์  ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำกิจกรรมศิลปะ  การรับรู้งานของสิ่งแวดล้อม  ลักษณะรูปร่างของสิ่งแวดล้อม  รูปทรง  ลักษณะของงานทัศนศิลป์ในชีวิตประจำวัน  การกำเนิดเสียงธรรมชาติ  ลักษณะเสียงดัง-เบา  หลักการขับร้องและเคาะจังหวะ  การอ่านภาษาดนตรี  ความเป็นมาและวิวัฒนาการของดนตรี  ที่มาและความน่าสนใจของบทเพลงในท้องถิ่น  การเคลื่อนไหวตามจินตนาการอย่างอิสระ  การเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ  การใช้ภาษาท่า

  สร้างงานทัศนศิลป์โดยการทดลองใช้สีด้วยเทคนิคต่างๆ  ระบายสีภาพธรรมชาติ  การอ่านประกอบจังหวะ  การร้องเพลงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  การเคลื่อนไหวประกอบเพลง  การเคลื่อนไหวตามลักษณะต่างๆ การใช้ภาษาท่า  การแสดงประกอบเพลง

  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องรูปร่าง รูปทรง  และจำแนกทัศนธาตุของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดเสียง  คุณสมบัติของเสียง  บทบาทหน้าที่  ความหมาย  ความสำคัญของบทเพลงใกล้ตัวที่ได้ยิน  สามารถท่องบทกลอน  ร้องเพลง  เคาะจังหวะ  เคลื่อนไหวร่างกายให้สอดคล้องกับบทเพลง  รู้ประโยชน์ของการแสดงนาฏศิลป์ประจำวัน  เข้าร่วมกิจกรรมการแสดงที่เหมาะสมกับวัย

  รหัสตัวชี้วัด

ศ ๑.๑ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓ ป.๑/๔ ป.๑/๕  ศ ๑.๒ ป.๑/๑  ศ ๒.๑ ป.๑/๑ ป.๑/๒ ป.๑/๓ ป.๑/๔  ป.๑/๕  ศ ๒.๒  ป.๑/๑  ป.๑/๒  ศ ๓.๑  ป.๑/๑  ป.๑/๒  ป.๑/๓  ศ ๓.๒  ป.๑/๑  ป.๑/๒

รวม  ๑๘  ตัวชี้วัด 

รายวิชาศิลปะ

ศ ๑๒๑๐๑  ศิลปะ ๒      กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ   ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๒

คำอธิบายรายวิชา    เวลา  ๘๐  ชั่วโมง

  ศึกษารูปร่าง  รูปทรง  และทัศนธาตุที่พบในธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ความสำคัญของงานทัศนศิลป์ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน  ประเภทต่างๆ ของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น  จำแนกแหล่งกำเนิดเสียง  คุณลักษณะของเสียงสูง-ต่ำ, ดัง-เบา, ยาว-สั้นของดนตรี  ลักษณะของเสียงร้องและเสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้ในบทเพลงท้องถิ่น  ระบุมารยาทในการชมการแสดง  การละเล่นพื้นบ้านไทย  เชื่อมโยงสิ่งที่พบเห็นในการละเล่นพื้นบ้าน  กับการดำรงชีวิตของคนไทย  และระบุสิ่งที่ชื่นชอบและภาคภูมิใจในการละเล่นพื้นบ้าน

  สร้างงานทัศนศิลป์ต่างๆ โดยใช้ทัศนธาตุที่เน้นเส้นรูปร่าง  ใช้วัสดุ อุปกรณ์สร้างงานทัศนศิลป์  ๓  มิติ  งานโครงสร้างเคลื่อนไหว  ภาพปะติดโดยการตัดและฉีกกระดาษ  วาดภาพถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวและเพื่อนบ้าน  เลือกงานทัศนศิลป์และบรรยายถึงสิ่งที่มองเห็นรวมถึงเนื้อหาเรื่องราว  การเคลื่อนไหวประกอบเนื้อหาในบทเพลง  การเล่นเครื่องดนตรีประกอบเพลงและการขับร้อง  แสดงและเข้าร่วมกิจกรรมดนตรีท้องถิ่น  การเคลื่อนไหวอย่างมีรูปแบบ  นั่ง  ยืน  เดิน  ประดิษฐ์ท่าจากการเคลื่อนไหว  ฝึกภาษาท่า  ฝึกนาฎยศัพท์ในส่วนลำตัว  ใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบจังหวะ

  มีทักษะพื้นฐานในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างงานวาดภาพ ระบายสีโดยใช้เส้น  รูปร่าง  รูปทรง  สี  และพื้นผิว  ภาพปะติดและงานปั้น  งานโครงสร้างเคลื่อนไหวอย่างง่ายๆ สามารถอ่าน  เขียนและใช้สัญลักษณ์แทนเสียงและเคาะจังหวะ  แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับดนตรี  เสียงขับร้องของตนเอง  มีมารยาทในการชมการแสดง  รู้หน้าที่ของผู้แสดงและผู้ชมที่ดี  เข้าร่วมกิจกรรมการแสดงที่เหมาะสมกับวัย

  รหัสตัวชี้วัด

ศ ๑.๑ ป.๒/๑ ป.๒/๒ ป.๒/๓ ป.๒/๔ ป.๒/๕ ป.๒/๖ ป.๒/๗ ป.๒/๘  ศ ๑.๒ ป.๒/๑  ป.๒/๒  ศ ๒.๑ ป.๒/๑ ป.๒/๒ ป.๒/๓ ป.๒/๔ ป.๒/๕  ศ ๒.๒  ป.๑/๑  ป.๑/๒  ศ ๓.๑  ป.๒/๑ ป.๒/๒ ป.๒/๓ ป.๒/๔ ป.๒/๕  ศ ๓.๒  ป.๑/๑  ป.๑/๒  ป.๒/๓

รวม  ๒๕  ตัวชี้วัด

รายวิชาศิลปะ

ศ ๑๓๑๐๑  ศิลปะ ๓    กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ     ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๓

คำอธิบายรายวิชา    เวลา  ๘๐  ชั่วโมง

  ศึกษารูปร่าง  รูปทรง  ทัศนธาตุที่เน้นเส้น  สี  รูปร่าง  รูปทรง  พื้นผิวในธรรมชาติ  สิ่งแวดล้อมในงานทัศนศิลป์  การใช้วัสดุอุปกรณ์  สร้างสรรค์งานปั้น  งานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น  ประวัติความเป็นมาของงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น  ศึกษารูปร่าง  ลักษณะของเครื่องดนตรีและเสียง  สัญลักษณ์แทนเสียงสูง-ต่ำ  สัญลักษณ์แทนลักษณะจังหวะ  บทบาทหน้าที่ของบทเพลงสำคัญ  ระบุลักษณะเด่น  ความสำคัญและประโยชน์ของดนตรีต่อการดำเนินชีวิตของคนท้องถิ่น  เปรียบเทียบบทบาทหน้าที่ของผู้แสดงและผู้ชมมีส่วนร่วมในกิจกรรมการแสดง ที่เหมาะสมกับวัย  บอกประโยชน์ของนาฏศิลป์ในการเรียนในชีวิตประจำวัน

  สร้างสรรค์งานปั้นและวาดภาพระบายสีสิ่งของรอบตัว  เหตุการณ์ชีวิตจริง  โดยใช้เส้น  รูปร่าง  รูปทรง  สี  และพื้นผิวพร้อมบอกเหตุผลและวิธีการในการสร้างงานทัศนศิลป์  สิ่งที่ชื่นชมและสิ่งที่ควรปรับปรุงในผลงานของตนเอง  การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่  การบรรเลงเครื่องดนตรีในการฉลองวันเกิด  วันสำคัญของชาติ  การเคลื่อนไหวตามอารมณ์ของบทเพลง  เคลื่อนไหวตามบทเพลงพระราชนิพนธ์  ฝึกภาษท่า  ฝึกนาฏยศัพท์ในส่วนขา

  ถ่ายทอดความคิด  ความรู้สึกจากเรื่องราว  เหตุการณ์ชีวิตจริง  สร้างงานทัศนศิลป์ตามที่ตนชื่นชอบ  สามารถแสดงเหตุผลและวิธีการในการปรับปรุงงานของตนเอง  ตลอดจนการใช้วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการสร้างงานทัศนศิลป์ในท้องถิ่น  มีความเข้าใจเอกลักษณ์ของดนตรีในท้องถิ่น  มีความชื่นชอบ  เห็นความสำคัญและประโยชน์ของดนตรีต่อการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น  ตลอดจนความสำคัญของการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้

  รหัสตัวชี้วัด

ศ ๑.๑ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ป.๓/๓ ป.๓/๔ ป.๓/๕ ป.๓/๖ ป.๓/๗ ป.๓/๘ ป.๓/๙ ป.๓/๑๐ 

ศ ๑.๒ ป.๓/๑  ป.๓/๒  ศ ๒.๑ ป.๓/๑ ป.๓/๒  ศ ๒.๒  ป.๓/๑ ป.๓/๒  ศ ๓.๑ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ป.๓/๓ ป.๓/๔ ป.๓/๕  ศ ๓.๒ ป.๓/๑ ป.๓/๒ ป.๓/๓

รวม  ๒๔  ตัวชี้วัด


คำสำคัญ (Tags): #art
หมายเลขบันทึก: 521146เขียนเมื่อ 2 มีนาคม 2013 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มีนาคม 2013 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท