ทฤษฎีพัฒนาการเด็กปฐมวัย.....


 ทฤษฎีพัฒนาการเด็กปฐมวัย.....

.........โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทยาภรณ์ สิงหกานตพงศ์และ อาจารย์ณัฐวรดา มณีรัตน์

ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์

ซิกมันต์ ฟรอยด์ (Sigmond Freud) เป็นนักจิตวิทยาชาวออสเตรียที่มีความเชื่อว่าพัฒนาการบุคลิกภาพของคน

ขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระ หรือที่เขาเรียกว่าแรงขับโดยสัญชาติญาณ แรงขับดังกล่าวมี 3 ประเภท ได้แก่ แรงขับทางเพศหรือความต้องการตอบสนองทางเพศ (libido) แรงขับหรือความต้องการ

ที่จะมีชีวิตอยู่ (life-preserving drive) และแรงขับหรือความต้องการที่จะแสดงความก้าวร้าว (aggressive drive)

โครงสร้างหลักของบุคลิกภาพ

อิด (Id) หมายถึง พลังหรือแรงผลักที่มีมาแต่กำเนิด เป็น

สันดานดิบของมนุษย์ที่มีแต่ความต้องการสนองสนองแต่เพียงอย่าง

เดียวโดยไม่คำนึงถึงสิ่งใด ฟรอยด์เห็นว่าแรงผลักชนิดนี้มีอยู่ในทาร

อีโก้

 (Ego) เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างบุคลิกภาพที่ได้มีการ

คิดรวบรวมข้อมูลต่างๆ และมีการวางแผน การรู้จักรอคอย ร้องขอ

หรืออื่น ๆ เพื่อให้ได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ต้องการ

ซุปเปอร์อีโก้ (Superego) เป็นส่วนของบุคลิกภาพที่คอย

ควบคุมหรือปรับการแสดงออกของอิดและอีโก้ ให้สอดคล้องกับ

เหตุผล ความถูกผิด คุณธรรมหรือจริยธรรม

  • ขั้นตอนของพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ

ขั้นที่ 1 ขั้นปาก (Oral Stages) อายุแรกเกิด –1 ปี

ขั้นที่ 2 ขั้นทวารหนัก (Anal Stage) เป็นระยะพัฒนา

บุคลิกภาพของเด็กวัย 1 – 3 ปี

ขั้นที่ 3 อวัยวะเพศขั้นต้น (Phallic Stage) เป็นระยะ

พัฒนาการบุคลิกภาพของวัย 3 – 5 ปี

ขั้นที่ 4 ขั้นพัก (Latency Stage) เป็นระยะพัฒนา

บุคลิกภาพของวัย 5 – 12 ปี


ทฤษฎีพัฒนาการด้านจิตสังคมของอีริคสัน

อีริค อีริคสัน (Erik H. Erikson) เป็นนักจิตวิทยา

พัฒนาการที่มีชื่อเสียงและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก

มีแนวคิดว่าวัยเด็กเป็นวัยที่สำ คัญและพร้อมเรียนรู้

สิ่งแวดล้อมรอบตัว หากประสบการณ์และสภาพแวดล้อม

รอบตัวเด็กดี เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง

ในทางตรงกันข้ามหากประสบการณ์และสภาพแวดล้อมไม่ดี

ไม่เอื้อหรือส่งเสริมต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะกลายเป็นคน

มองโลกในแง่ร้าย ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ขาดความเชื่อมั่นใน

ตนเอง

  • ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน

ขั้นที่ 1 ความรู้สึกไว้วางใจ กับความรู้สึกไม่ไว้วางใจ

(Trust versus Mistrust) ช่วงแรกเกิด – 1 ปี

ขั้นที่ 2 ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจ

และไม่แน่ใจ (Autonomy versus Doubt or Shame) ช่วง 1 – 3 ปี

ขั้นที่ 3 การมีความคิดริเริ่มกับความรู้สึกผิด (Initiative

versus Guilt) ช่วง 3 – 6 ปี


ทฤษฎีวุฒิภาวะของกีเซล

อาร์โนลด์ กีเซล (Arnold Gesell) เป็นนักจิตวิทยาที่มี

ความเชื่อในเรื่องของความเจริญเติบโตตามวุฒิภาวะ โดย

กล่าวว่า “วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

อย่างมีระเบียบ โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอก” กีเซล

เชื่อว่าพฤติกรรมของเด็กจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทาง

สรีระวิทยา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น การฝึกฝนหรือ

การเรียนรู้ไม่ว่าลักษณะใดก็ตาม จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์

และเป็นการเสียเวลาโดยใช่เหตุ ถ้าหากร่างกายยังไม่พร้อม

หรือยังไม่มีวุฒิภาวะ

  • ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของกีเซล

1. ทิศทางของการพัฒนาการ (development direction)

- Cephalocaudal - Proximal distal

2. พัฒนาการมีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวเนื่องกัน

(reciprocal interweaving)

3. พัฒ น า ก า ร มีก า ร ใ ช้กิจ ก ร ร ม ร่ว ม กัน (functional

asymmetry)

4. การพัฒนาต่าง ๆ เป็นผลมาจากวุฒิภาวะ (individuating

maturation)


ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้คิดของเพียเจท์

ฌอง เพียเจท์ (Jean Piaget) นักจิตวิทยาชาวสวิส ได้

ทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก

และพัฒนาการทางสติปัญญา ตามแนวความคิดของเพียเจท์

ได้อธิบายถึงพัฒนาการทางความคิดและสติปัญญาใน

ความเห็นของเขาว่า บุคคลสามารถคิด ดัดแปลงความคิดและ

แสดงความคิดของตนออกมาได้ ย่อมเป็นผลมาจาก

ขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) และการจัดปรับ

ขยายโครงสร้าง (accommodation) โดยผลของการทำงาน

ดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้างขึ้น (schema)

  • แนวความคิดเกี่ยวกับขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง

    และการจัดปรับขยายโครงสร้าง

Assimilation หมายถึง การที่เด็กนำเอาสิ่งที่ตนรับรู้ใหม่

ๆ เข้าไปผสมผสานกลมกลืนกับความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งการรับรู้

นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมองเห็นสิ่งใหม่ในแง่ของสิ่งเดิมที่เคยรู้จัก

Accommodation หมายถึง การนำความรู้ใหม่ที่ได้รับไป

ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจท์

ขั้นที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว(Sensorimotor Stage) อายุแรกเกิด – 2 ปี

ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล (PreoperationalStage) อายุ 2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ- ระยะที่ 1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด (PreconceptualThought) อายุ 2 – 4 ปี- ระยะที่ 2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล (Intuitive Thought)อายุ 4 – 7 ปี



คำสำคัญ (Tags): #ทฤษฎีปฐมวัย
หมายเลขบันทึก: 521087เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2013 19:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2013 19:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท