สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการกฎหมายสัญชาติของประเทศไทย


ข้อสังเกตและบทความทางวิชาการของผู้เขียน ซึ่งเป็นคณะทำงานในทีมผู้ช่วยทางวิชาการ ภายใต้ “โครงการประชาคมวิจัยการจัดการประชากร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” อันมีต่อประเด็นที่นำเสนอในเวทีหารือเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงกำหนดเงื่อนไข การอยู่ในราชอาณาจักรไทยของผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย พ.ศ. ... จากการประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านกระบวนการยุติธรรม ในคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายกับผู้แทนจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม และนักวิชาการ ตลอดจนประเด็นอื่นๆ อันเกี่ยวข้องกับ ร่างกฎกระทรวงมาตรา 7 ทวิวรรคสามแห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551


           พัฒนาการของกฎหมายสัญชาติในประเทศไทย   

             กฎหมายสัญชาติฉบับแรกของประเทศไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษรคือ พระราชบัญญัติแปลงชาติรศ.130 ซึ่งก่อนที่กฎหมายสัญชาติที่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรประกาศใช้นั้น การได้สัญชาติไทยเป็นไปตามมูลนิติธรรมประเพณี จากนั้นเมื่อ เมษายน พ.ศ. 2456 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 ประกอบกันกับพระราชบัญญัติแปลงชาติ รศ.130

              ต่อมาเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติแปลงชาติ รศ.130และพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456    และได้มีการประกาศใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495ดังกล่าว อีก 3 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2495 พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2499 พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4 ) พ.ศ. 2503 

              จากนั้น เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2508 มีประการใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 โดยยกเลิกพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 ซึ่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 นี้เป็นพระราชบัญญัติสัญชาติที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยพระราชบัญญัติสัญชาติฉบับดังกล่าวได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีก 4 ครั้ง โดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ,พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ,พระราชบัญญัติสัญชาติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติสัญชาติฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555 รวมทั้งสิ้นประเทศไทยมีกฎหมายสัญชาติที่เป็นลายลักษณ์อักษรมาแล้วทั้งสิ้น 11 ฉบับ โดยเป็นกฎหมายสัญชาติที่ใช้ชื่อว่า”พระราชบัญญัติสัญชาติ” 10 ฉบับ


ประเด็น พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456 เป็นกฎหมายสัญชาติฉบับแรกของไทยจริงหรือไม่

         กฎหมายสัญชาติฉบับแรกของไทยที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือ มูลนิติธรรมประเพณี และกฎหมายสัญชาติของไทยที่เป็นลายลักษณ์อักษรฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติแปลงชาติ ร.ศ. 130 มิใช่ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2456

ประเด็น พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2556 ถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 จริงหรือไม่

        และพระราชบัญญัติสัญชาติที่ยกเลิกพระราชบัญญัติสัญชาติ พศ.2456 คือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 มิใช่พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508  และจากนั้นพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2495 ได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 อีกทีหนึ่ง

ประเด็นพระราชบัญญัติสัญชาติพ.ศ. 2508 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม 5 ครั้งหรือไม่

       พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม 4 ครั้ง โดย (1) พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ,(2) พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535 ,(3) พระราชบัญญัติสัญชาติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 และ(4) พระราชบัญญัติสัญชาติฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555


                                                                                                                          ปรางค์สิรินทร์ เอนกสุวรรณกุล

                                                                                                                      (แก้ไข 26 กุมภาพันธ์ 2556 8.29)


คำสำคัญ (Tags): #กฎหมายสัญชาติ
หมายเลขบันทึก: 521081เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2013 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2013 17:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท