การบำบัดบุหรี่โดยญาติมีส่วนร่วม


ปัญหาและสาเหตุ ด้วยคลินิกอดบุหรี่รพ.บ้านใหม่ไชยพจน์ ได้เปิดให้บริการคลินิกอดบุหรี่ พบว่าผลการดำเนินงาน

2554 พบว่า อัตราการเลิกสำเร็จในผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัด มีดังนี้ 187 ดังนี้


กราฟแสดงผลการดำเนินงาน

  

จากกราฟพบว่า จำนวนผู้ป่วยที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จและไม่กลับไปเสพซ้ำ มีจำนวน 41%  และจำนวนผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ลดลง จำนวน 22%

จากการวิเคราะห์หาสาเหตุ พบว่า

  ผู้ป่วยที่เข้าบำบัด จากกราฟพบว่า จำนวนผู้ป่วยที่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จและไม่กลับไปเสพซ้ำ มีจำนวน 41%  และจำนวนผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ลดลง จำนวน 22%

จากผลการดำเนินงานปี 2554 ได้นำมาทบทวน และวิเคราะห์ หาสาเหตุ ดังนี้

1. ผู้ป่วยสูงอายุ อายุมากว่า 70 ปีขึ้นไปอยู่บ้านคนเดียว ลูกหลานไปทำงาน

จากปัญหาดังกล่าว ได้นำมาหาแนวทางแก้ไขและพัฒนางานใน ปี 2555

1. การพัฒนารูปแบบการบำบัด ดังนี้

 -พัฒนาการบำบัดตามรูปแบบของ care giver  (การพัฒนาการบำบัดบุหรี่โดยญาติมีส่วนร่วม )

โดยแบ่งระดับของ care giver ดังนี้คือ

การแบ่งกลุ่ม

การจำแนกผู้ป่วย

การให้บริการ

  กลุ่มเสี่ยงต่ำ

1.ผู้ป่วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั่วไปที่ไม่มีปัญหาการรับรู้ การจำ ไม่มีปัญหา ตามัว  ไม่มีปัญหาเรื่องการได้ยิน

ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น

-ไม่จำเป็นต้องมี care  giver ในระหว่างมารับบริการ

-ให้การบำบัดตามแนวทาง  

  กลุ่มเสี่ยงปานกลาง

1.  ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ช่วยเหลือตัวเองได้แต่ตามัวเล็กน้อย  หูตึงเล็กน้อย พูดคุยสื่อสารได้

2.  ผู้ป่วยเรื้อรังที่ช่วยเหลือตัวเองได้ถ้ามี care giver ช่วยจะดีขึ้น

 -ให้การบำบัดโดยมีญาติเข้าร่วมทุกครั้ง

  กลุ่มเสี่ยงสูง

1.  กรณีผู้ป่วยพิการทางสมอง มีปัญหาการเรียนรู้  ผู้ป่วยตาบอด  หูหนวก

2.  กรณีผู้ป่วย  stroke  มีความพิการครึ่งซีก ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการทำกิจวัตรประจำวัน

3.  ผู้ป่วยสูงอายุ  60  ปีขึ้นไป อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ 

4.  ผู้ป่วยอายุ<60ปี แต่มีปัญหาการรับรู้ ความจำเสื่อม  ตาบอด หูตึงมาก 

5  ผู้ป่วยไม่สนใจตัวเอง

-ให้การบำบัดโดยมีญาติเข้าร่วมทุกครั้ง

แนวทางการบำบัดตามแบบญาติมีส่วนร่วม

1. พยาบาลคลินิกคัดกรอง ซักประวัติและประเมินผู้ที่รับการบำบัดและคำแนะนำในการบำบัด ตามระบบ care giver

2.นัดผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดโดย มีญาติเข้าร่วมบำบัดด้วยทุกครั้ง และให้การบำบัดพร้อมญาติทุกครั้ง

การบำบัด

กิจกรรม

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ครั้งที่ 1

-  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการบำบัด
-  ประเมินสภาพผู้ป่วยและประเมินระดับการสูบบุหรี่ โดยการวัดระดับการติดบุหรี่จากแบบสอบถาม สมาชิกคนรักปอด และแบบประเมินการติดสารนิโคติน

-  ตรวจสมรรถภาพปอด

-  ประเมินสัญญาณชีพ

-  ซักประวัติลงข้อมูลเวชระเบียน

-  ผลของบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย
-  ทำการตกลงและยินยอมบำบัด ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
-  ให้ข้อมูลในการบำบัดตามนัดและแจ้งวันนัดครั้งต่อไป

-  แบบประเมินการติดนิโคติน

-  เวชระเบียนผู้ติดบุหรี่

-  ภาพพลิกให้คำปรึกษา เรื่องบุหรี่

-  เครื่องตรวจวัดสมรรถภาพปอด

-  ให้ความรู้ญาติ เรื่องการประเมินนิโคติน ผลกระทบที่เกิดจากการสูบบุหรี่

-  การดูแลกำกับติดตามผู้ป่วย

ครั้งที่ 2

-  พูดคุยสร้างสัมพันธภาพ/ให้การต้อนรับ
-  ให้ข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการเลิกบุหรี่
-  พูดคุยปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างการบำบัดและร่วมหาแนวทางการแก้ไข
-  วางแผนรับมือกับตัวกระตุ้นภายในและภายนอก
-  ให้ข้อมูลในการบำบัดตามนัดและแจ้งวันนัดครั้งต่อไป

-  เวชระเบียนผู้ติดบุหรี่

-  ภาพพลิกให้คำปรึกษา เรื่องบุหรี่

-  เครื่องตรวจวัดสมรรถภาพปอด

-  ติดตามผู้ป่วยและญาติ

ครั้งที่ 3

-  พูดคุยสร้างสัมพันธภาพ/ให้การต้อนรับ
-  ทบทวนการเลิกบุหรี่/ปัญหาหลักหรือตัวกระตุ้นพร้อมแนวทางการแก้ไข
-  ให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น รวมทั้งให้กำลังใจ
 

-  เวชระเบียนผู้ติดบุหรี่

-  ภาพพลิกให้คำปรึกษา เรื่องบุหรี่

-  เครื่องตรวจวัดสมรรถภาพปอด

-  ประเมิน ญาติและผู้ป่วยและวางแผนเป็นราย case 

สรุปผลการดำเนินงาน  ปี 2555


จากผลการดำเนินงาน

 - อัตราผู้ป่วยที่มีการดูแลระบบ care giver ได้รับการให้คำปรึกษาเพื่อเลิกบุหรี่และเลิกบุหรี่ได้ คิดเป็น 74%


หมายเลขบันทึก: 520967เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท